The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
Our News
กัญชาไทย — ฟื้นฟูองค์ความรู้ดั้งเดิมเรื่องการใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย

ก่อนการออกกฎหมายนี้ในประเทศไทย ผมเริ่มสนใจกัญชาไทยมากขึ้นเมื่อผมไปเยี่ยมญาติที่รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการใช้กัญชาเป็นสิ่งถูกกฎหมาย และได้สนทนาแลกเปลี่ยนกับชายคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ในธุรกิจกัญชา เขาเล่าว่าแม้จะมีความพยายามมากมายในการ “พัฒนา” คุณภาพกัญชา แต่ส่วนตัวแล้วเขารู้สึกว่าไม่มีสายพันธุ์ใดในปัจจุบันที่จะเทียบได้กับ “ไทยสติ๊ก (Thai stick)” ที่เขาหาได้ในนิวยอร์กสมัยที่เขาเป็นหนุ่ม เขารู้สึกว่าการปรับปรุงพันธุ์ที่ทำกันอยู่ยังจำกัดอยู่ในมิติแคบๆ และคุณลักษณะบางอย่างหายไปในระหว่างกระบวนการนี้ ผมยังได้เรียนรู้อีกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ขายกันอยู่ในตลาดสากลขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสม (hybrid) และสายพันธุ์ดั้งเดิมจำนวนมากกลายเป็นของหายากไปแล้ว

เมื่อกลับมาประเทศไทย ผมได้เป็นสมาชิกของเครือข่ายวนเกษตรและการพึ่งตนเองซึ่งมีองค์ความรู้ที่เข้มแข็งด้านสมุนไพรและยาแผนไทย ผมศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการปลูกกัญชาและพันธุศาสตร์จากเพื่อนสมาชิก สมาชิกวัย 70 กว่าท่านหนึ่งเล่าประสบการณ์การปลูกกัญชาและขายให้ทหารอเมริกันที่มาพักผ่อนในประเทศไทย (ในช่วงสงครามเวียดนาม) เขามีที่เล็กๆ อยู่ห่างจากสัตหีบ 8 กิโลเมตร สัตหีบเป็นฐานทัพอากาศหลักของอเมริกาในตอนนั้นและอยู่ไม่ไกลจากพัทยาซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในปัจจุบัน เขาจัดหาช่อดอกกัญชาคุณภาพดีที่เขาปลูกเองพร้อมทั้งบ้องไม้ไผ่ ซึ่งช่อเดียวพอใช้สำหรับทหาร 5-6 คนและตัวเขาเอง ในราคา 10 ดอลล่าร์ เขากล่าวว่า [ในตอนนั้น] เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากปลูกกัญชาและเก็บเมล็ดพันธุ์ของตัวเองเพื่อขยายพันธุ์ต่อ ผมสงสัยว่าทุกวันนี้ยังมีกัญชาสายพันธุ์ท้องถิ่นที่ตกทอดกันมาหลงเหลืออยู่ในประเทศไทยหรือไม่?

เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม ผมไปพบคุณพงศ์อารยะ บุตรจันทา เพื่อนของผมที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์แผนไทย เขาชวนให้ลองร่วมคอร์สขนาดสั้นที่เขาสอนเรื่องการพึ่งพาตนเองกับกัญชาทางการแพทย์ คอร์สเริ่มด้วยการอธิบายประวัติศาสตร์อันยาวนานของการใช้กัญชาในประเทศไทย การใช้กัญชาแห้งหรือบดผงในการปรุงแกงใสและแกงเผ็ดเป็นเรื่องปกติ จนกลายเป็นยาชั้นดีช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ความดันสูง และโรคสมัยใหม่ต่างๆ เขายังได้อธิบายถึงประเพณีและความสำคัญของบ้องกัญชา “บ้อง” เป็นคำภาษาไทยที่ภาษาอังกฤษเอาไปเรียกทับศัพท์ว่า Bong แต่ในภาษาไทย บ้อง หมายถึงปล้อง/กระบอกไม้ไผ่ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ใส่น้ำ ก่อนที่ผมจะคุ้นเคยกับไม้ไผ่และเคยเห็นบ้องกัญชาที่ทำจากไม้ไผ่ ผมเข้าใจมาตลอดว่าบ้องทำจากแก้วที่หาได้ในร้านขายกัญชายาสูบทั่วไป เพียงต้องการเลียนแบบรูปทรงธรรมชาติของไม้ไผ่เท่านั้น แต่คุณพงศ์อารยะ หรือหมอพงศ์อธิบายว่า สมัยก่อนทุกคนจะมีบ้องเป็นของตัวเองโดยมีขนาด (ซึ่งปริมาณหรือโดส) ที่เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคน เขายังอธิบายว่าสารที่เป็นตัวยาสำคัญในพืชกัญชาจำนวนหนึ่ง จะเปลี่ยนไปมีคุณสมบัติทางยา เมื่อผ่านกระบวนการออกซิเดชั่น ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการให้ความร้อนและนำควันและไอระเหยที่เกิดขึ้นผ่านน้ำ ดังนั้น บ้อง จึงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่างน่าอัศจรรย์ เพราะสามารถหาได้โดยตรงจากธรรมชาติ และเมื่อมาใช้เป็นบ้องสูบกัญชา ก็จะช่วยกรองควัน ลดความร้อน และทำให้เกิดกระบวนการออกซิเดชั่น ทำให้ควันที่ได้มีคุณสมบัติทางยามากขึ้น

ผมได้พบผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรไทยอีกท่านหนึ่ง ภญ. ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร จากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์2 เธออธิบายประวัติศาสตร์การใช้กัญชาในประเทศไทย และการใช้กัญชาเพื่อการรักษาในแพทย์แผนไทย ที่มักใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ อันเป็นปกติของตำหรับยาแผนไทยเดิมส่วนใหญ่3 การใช้สมุนไพรต่างๆ ร่วมกัน สามารถช่วยเพิ่มคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ ลดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ และเพิ่มความมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดประโยชน์ในทางรักษาตรงเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หมอพงศ์เสริมว่า ปัจจุบันในบรรดายาซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนไทยแล้ว มี 16 ตำหรับที่มีกัญชาเป็นองค์ประกอบ หมอยังอธิบายมุมมองที่ต่างกันระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนโบราณซึ่งรวมถึงแพทย์แผนไทย และชี้ว่าเราจะเห็นความแตกต่างนี้ได้ในงานวิจัยด้านกัญชาทางการแพทย์ส่วนใหญ่ ที่การแพทย์แผนปัจจุบันจะให้ความสำคัญกับการแยกทั้งตัวยาสำคัญ และตัวโรค ดังนั้น เราจึงมักเห็นสาร CBD สกัดแยกขายเพื่อการใช้ทางการแพทย์ แต่การแพทย์แผนไทยจะมองกัญชาจากมุมว่ามันเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์โดยองค์รวมจากตัวยาสำคัญหลากหลายที่ออกฤทธิ์ร่วมกัน นอกจากนี้ แพทย์แผนไทยยังมองอาการเจ็บป่วยต่างๆ เป็นเพียงตัวชี้วัดถึงการขาดสมดุล ดังนั้นการรักษาจึงไม่ใช่แค่การแก้อาการ แต่เป็นการทำงานเพื่อจัดการกับภาวะขาดสมดุลย์ที่มีอยู่ และเมื่อแก้ภาวะขาดสมดุลย์ได้แล้ว ศักยภาพอันน่าอัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์จะเยียวยาที่เหลืออยู่เอง

ด้วยแนวทางนี้เอง หมอพงศ์และแพทย์แผนไทยอื่นๆ ได้เห็นผลที่น่าประทับใจจากการใช้เพียงสารสกัดจากกัญชาเท่านั้น หมอพงศ์อธิบายว่าการนอนมีความสำคัญอย่างไรตามศาสตร์แพทย์แผนไทย และที่จริงแล้วเราต้องการการนอนหลับ 3 ประเภท ประเภทแรกเรียกว่า การนอนหลับพักผ่อน ซึ่งช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อน นี่คือการนอนหลับทั่วไป ประเภทต่อมาคือ การหลับฝัน ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อสุขภาพจิตและสภาวะอารมณ์ ช่วยจัดการความเครียดของจิตใจและอารมณ์ได้ ประเภทสุดท้ายคือ การหลับลึก ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลของร่างกายและส่งเสริมการเยียวยา แต่น่าเสียดายที่พวกเราส่วนใหญ่มีการหลับลึกน้อยมากหรือไม่มีเลย กิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายและจิตใจของเราสงบมากขึ้น เช่น โยคะ หรือการเจริญสติ สามารถช่วยให้เราหลับลึกได้ แต่วิถีชีวิตที่เร่งรีบกับเทคโนโลยีที่คอยเตือนหรือเรียกร้องความสนใจจากเราตลอดเวลา ทำให้ร่างกายและจิตใจยากที่จะสงบได้ หมอพงศ์บอกว่า กัญชา มีสารประกอบบางอย่างที่เหมือนกับสารที่สมองผลิตขึ้นเพื่อเสริมสร้างการนอนหลับลึก คนไข้ของหมอหลายคนพบว่าการใช้สารสกัดจากกัญชาในปริมาณที่เหมาะสมก่อนนอน ช่วยส่งเสริมการหลับลึกที่ทำให้ร่างกายปรับสมดุลย์และเยียวยาตัวเอง คนไข้จำนวนมากของเขามีอาการดีขึ้นจากการเจ็บป่วยหลากหลายรูปแบบ ด้วยการใช้กัญชาทางการแพทย์ในลักษณะนี้

ในปัจจุบันสารสกัดน้ำมันกัญชาส่วนใหญ่มาจากสายพันธุ์ท้องถิ่นที่รู้จักกันในชื่อ “หางกระรอก” ซึ่งโตได้ดีในสภาพธรรมชาติส่วนใหญ่ของประเทศไทยและสามารถให้ผลผลิตสารสกัดที่มีความเข้มข้นของ CBD สูงถึง 1% และ THC 35%4 หลายคนที่ขับเคลื่อนกัญชาทางการแพทย์ เช่น หมอพงศ์และดร.สุภาภรณ์ ก็พยายามหาและพัฒนาพันธุ์กัญชาที่มีคุณสมบัติทางยาเหมาะสมที่สุด หมอพงศ์บอกว่า การเพาะพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์กัญชาส่วนใหญ่ มุ่งเป้าไปที่การปรับปรุงพันธุกรรมสำหรับกัญชาที่ใช้เพื่อสันทนาการ แต่เรามีความจำเป็นและมีโอกาสที่จะทำได้มากกว่านั้น ด้วยต้นทุนทางประวัติศาสตร์กว่าพันปีในเอเชีย ทำให้มีความหลากหลายของสายพันธุ์ท้องถิ่นจำนวนมาก ทั้งพันธุ์ที่ขึ้นในธรรมชาติ (wild) และพันธุ์ที่คัดมาปลูก (selected) ซึ่งเพื่อนที่เป็นหมอสมุนไพรหลายคนของผมบอกว่า นี่คือความหลากหลายของตัวยาสำคัญและคุณสมบัติทางยาของกัญชาไทย

แม้สถานะถูกกฎหมายของกัญชาในประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่ แต่ประวัติศาสตร์ยาวนานของพันธุกรรมท้องถิ่นและวิธีการใช้กัญชาในแพทย์แผนไทยโบราณ ทำให้เห็นว่าการใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย มีความเป็นไปได้อย่างมาก ทั้งสำหรับคนไทยเอง และประโยชน์ที่อาจแบ่งปันไปทั่วโลกได้
* คำเตือนสำหรับนักเดินทาง: การใช้กัญชาเพื่อสันทนาการในประเทศไทยยังคงเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และมีโทษทางกฎหมายอย่างหนัก การใช้กัญชาทางการแพทย์ยังถูกควบคุมภายใต้กฎหมาย และไม่มีทางที่ นักท่องเที่ยวต่างชาติจะหาใบสั่งยาถูกกฎหมายได้โดยง่าย
ขอแนะนำสำหรับผู้ป่วย: ควรปรึกษาแพทย์ผู้มีประสบการณ์กับการใช้กัญชาในทางการแพทย์ เพื่อเรียนรู้วิธีการใช้และปริมาณที่ถูกต้องก่อนใช้จริง เนื่องจากยานี้มีฤทธิ์แรง และหากใช้ไม่ถูกต้องจะก่อให้เกิดอันตรายได้
Michael B. Commons, เครือข่ายวนเกษตร ประเทศไทย
หากสนใจศึกษาเกี่ยวกับการพึ่งพาตนเองด้วยกัญชาทางการแพทย์ จากหมอพงศ์ Pong จะมีการจัดคอร์สสั้นเดือนละหนึ่งครั้งที่บ้านและสวนของหมอพงศ์ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา และเนื่องจากเขาพูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง กรุณาติดต่อผู้เขียนหากต้องการความช่วยเหลือ michael@greennet.or.th
อ้างอิงข้อมูล
1. https://thediplomat.com/2019/02/thailands-green-rush/
2. “Cannabis clinic immediately reaches limit after opening” 26 June 2019 http://www.nationmultimedia.com/detail/national/30371813
3. สัมภาษณ์ส่วนตัวกับ ภญ. ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร พฤษภาคม 2019
4. จากผลการทดสอบในห้องทดลองสากล