The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ นับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของงานของ WWF มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และศักยภาพของคนและชุมชนในพื้นที่โครงการ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ และเพื่อการดูแลแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ
ปัญหาในพื้นที่
ในระหว่างช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการเติบโตทางประชากร ฯลฯ ได้ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยเสื่อมโทรมลง คนท้องถิ่นและชุมชน ซึ่งมีวิถีชีวิตผูกพันกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากความยากจนในพื้นที่ WWF ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในแง่ของความยากจนที่เกี่ยวข้องกับงานอนุรักษ์ โดยโครงการนี้ มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และศักยภาพของคนและชุมชนในพื้นที่โครงการได้แสดงสิทธิ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนต่อระบบนิเวศ และถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
เราทำอะไร
โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ เป็นโครงการระดับโลก ได้รับการสนับสนุนจาก Swedish International Development Cooperation Agency (SIDA) ผ่าน WWF - Sweden โดยรวมแล้วโครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ จัดการและอนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่ลุ่มน้ำจืด และการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ด้วยการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง รวมถึงการเชื่อมโยงชุมชนในพื้นทีป่าไม้ และจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ด้วยการสร้างเสริมศักยภาพของภาคประชาสังคม โครงการในประเทศไทยนั้นได้ดำเนินในพื้นที่ 5 แห่ง เพื่อ สนับสนุนการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ในอำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์, สร้างส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติระหว่างชุมชนและ หน่วยงานรัฐบาล ในอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี, สนับสนุนการ รื้อฟื้นวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี, สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เพื่อลดข้อขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง และเพิ่มการมีส่วนร่วมด้านงานอนุรักษ์, สนับสนุนการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน ที่อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร บึงหนองหาร เพื่อส่งเสริมศักยภาพชุมชนใน การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
การทำงานของ WWF
การดำเนินโครงการนั้น ดำเนินผ่านสามหลักการ คือ 1. สร้างเสริมประสิทธิภาพของกลุ่มภาคประชาสังคม ด้วยการเสริมความแข็งแกร่งของการร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์ 2. เพื่อสาธิตให้เห็นวิธีที่เหมาะสม ในการแบ่งใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 3. สนับสนุนในระดับเชิงนโยบาย เพื่อการจัดการแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อการอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่า และเพื่อการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน การดำเนินการเสริมสร้างประสิทธิภาพนั้น ดำเนินทั้งในระดับบุคคล และระดับชุมชน/เครือข่าย เพื่อสร้างเสริมการสร้างข้อผูกพันร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในด้านการอนุรักษ์ โดย WWF-ประเทศไทยนั้นมีความประสงค์ที่จะสาธิตวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการแบ่งสรรผลประโยชน์มี่แหมาะสม ตามหลักการจัดการแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ ท้ายที่สุดแล้ว โครงการนี้จะทำการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาแผนการจัดการแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของแต่ละชุมชนเอง โดยทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกัน รวมไปถึงรัฐบาลท้องถิ่น สถานศึกษา องค์กร NGO อื่น และหน่วยทางธุรกิจ การดำเนินงานสนับสนุนนโยบายเพื่อการจัดการแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาตินั้น นับได้ว่าเป็นส่วนหลักของโครงการนี้ของ WWF-ประเทศไทย เพื่อการอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่า และการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน กลยุทธ์นี้จะช่วยทำให้ภาคประชาสังคม สามารถสื่อสารออกไปได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ทั้งเพื่อให้ผู้รับข้อมูล และผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ
พันธมิตรของเรา
โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อการอนุรักษ์นั้นได้ร่วมงานกับองค์กรเครือข่าย ได้แก่ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร สถาบันศรัทธาภัฏมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี สมาคมส่งเสริมการพัฒนาลุ่มน้ำอย่างยั่งยืน และชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี