What would you like to search for?

FRESHWATER

เพราะ "น้ำ" ครอบคลุมพื้นผิวของโลกมากกว่า 3 ใน 4 ส่วน และยังเป็นระบบนิเวศที่สำคัญต่อการดำรงอยู่สิ่งมีชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคน

© WWF-US

ในปัจจุบัน พื้นที่ชุ่มน้ำครอบคลุมกว่า 36,616.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 7.5% ของพื้นที่ในประเทศไทย และจากการพัฒนาของสังคมเมือง รวมถึงการที่ "น้ำ" เป็นทรัพยากรหลักที่ถูกใช้งานมาอย่างยาวนาน ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมและเป็นงานด่วนที่นักอนุรักษ์ รวมถึงคนไทยทุกคนต้องเร่งฟื้นฟู และคืนกลับผืนน้ำอันอุดมสมบูรณ์ให้แก่ธรรมชาติ

น้ำจืดสำคัญอย่างไร ?

พระราชดำรัส "น้ำคือชีวิต" ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ พระราชทานไว้ว่า "..หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้..."

น้ำจืดจึงเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของทุกสรรพชีวิต ทั้งในด้านการอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม การคมนาคม การเกษตร การท่องเที่ยว และนันทนาการ 

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือ Ramsar Sites 14 แห่ง โดยครอบคลุมพื้นที่กว่า 399,714 เฮกเตอร์

© Camila Diaz/WWF

โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ

ฝ่ายทรัพยากรน้ำจืด WWF ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการทำงานในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่บางส่วนของภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน คือ ภายในปี พ.ศ. 2563 พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่างจะยังคงความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ตอบสนองความต้องการในการดำรงชีพได้เหมาะสม รวมทั้งได้รับการบริหารจัดการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการจัดการทรัพยากรน้ำจืดอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจืด

ร่วมสนับสนุนการทำงานของเรา

ทุกท่านสามารถช่วยสนับสนุนการทำงานด้านการอนุรักษ์ของ WWF-ประเทศไทย และติดตามการทำงานเกี่ยวกับการพิทักษ์ และอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำจืดในแต่ละโครงการได้ที่นี่

ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ มีบทบาทสำคัญต่อความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นได้ทั้งแหล่งน้ำ แหล่งสำรองน้ำ เป็นขอบเขตกั้นการไหลเข้าของน้ำเค็ม ป้องกันการกัดเซาะของชายฝั่ง และช่วยในการป้องกันการตกตะกอน รวมถึงกรองแร่ธาตุและสารพิษอื่นๆ

© © Nicolas Axelrod / Ruom / WWF-Greater Mekong