The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
แม้ว่าการขายงาจากช้างแอฟริกันจะเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย แต่สำหรับงาช้างในประเทศแล้วสามารถขายได้อย่าง ถูกต้องซึ่งเป็นช่องโหว่ทางกฏหมายของไทยที่เอื้อประโยชน์ต่อเครือข่ายอาชญากรรมในการลอบขนงาช้างเลือดจากแอฟริกา มาขายในไทย
เราทำอะไร?
ถือได้ว่าปีพ.ศ. 2561 เป็นปีที่ดีสำหรับการทำงานด้านการต่อต้านการ ค้า สัตว์ป่าผิดกฎหมาย จากการปฏิบัติงานอย่างจริงจังของรัฐบาลไทยในการ แก้ปัญหาการค้างาช้างผิดกฎหมาย ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับการประเมิน จากคณะกรรมการบริหารอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิด สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ - CITES ครั้งที่ 70 (SC70) ให้เป็นประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการงาช้างแห่งชาติ (National Ivory Action Plan: NIAP) ทั้งนี้ รัฐบาลไทยยังคงมุ่งมั่นในการป้องกันปราบปรามไม่ให้มีการค้างาช้าง ผิดกฎหมายเกิดขึ้น และได้ขยายการปฏิบัติการให้ครอบคลุมถึงการค้า สัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ ด้วย WWF - ประเทศไทย ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน คณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์ตามแผนปฏิบัติการงาช้างแห่งประเทศไทย จึงขอร่วมแสดงความยินดีในความสำเร็จครั้งนี้ WWF ยังคงยืนหยัดใน การทำงานเพื่อปิดตลาดการค้างาช้างในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทย เป็นประเทศทางผ่านรวมทั้งเป็นปลายทางการลักลอบการค้างาช้างแอฟริกัน ที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งยังคงมีตลาดการค้างาช้าง ประเทศไทยจึงเป็น จุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวในการซื้องาช้าง
WWF มีวิธีดำเนินการอย่างไร ?
WWF - ประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการพิจารณา ความเหมาะสม ในการปิดตลาดการค้างาช้างในประเทศ ได้ร่วมกับคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาทางเลือกในการปิดตลาดการค้างาช้าง โดยผลการศึกษาอยู่ระหว่างการพิจารณาของ คณะอนุกรรมการฯ ในการนี้ เรายังได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมถึงภาคเอกชนในธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อร่วมกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์ไม่ซื้อ ขายงาช้างผิดกฎหมาย นอกจากนี้ WWF - ประเทศไทย, WWF - Myanmar และ. WWF - Laos ได้ดำเนินโครงการ ต่อต้านการลักลอบค้าสัตว์ป่าในเขตพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการ ลดการลักลอบการค้าสัตว์ป่าในบริเวณพื้นที่เป้าหมายของแต่ละประเทศ เน้นการส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในระดับจังหวัดและระดับระหว่างประเทศ เสริมสร้าง ความแข็งแกร่งด้านการบังคับใช้กฎหมายระหว่างหน่วยงาน พร้อมทั้งพัฒนาความสามารถ ในการดำเนินคดี สืบสวนสอบสวน การดำเนินการป้องกันการลักลอบค้าสัตว์ป่าในเขตสาม เหลี่ยมทองคำ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเมื่อ วันที่ 30 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ แขวงอุดมไซ ประเทศลาว และคาดว ่าการประชุม ครั้งต่อไปจะจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร