ทศวรรษที่ 60 (2503-2512)

WWF ให้ทุนสนับสนุนแก่ มูลนิธิชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin Foundation) ในการดำเนินการวิจัยในหมู่เกาะกาลาปาโกส ประเทศเอควาดอร์ รวมถึงสนับสนุนรัฐบาลเอควาดอร์ ในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติกาลาปาโกส เพื่ออนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามและหายากที่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้ ปัจจุบันกาลาปกโกสเป็นต้นแบบของพื้นที่ที่สามารถผสมผสานระหว่างการท่องเที่ยว การศึกษาวิจัย การพัฒนาและการอนุรักษ์ได้อย่างลงตัว

WWF ให้ความช่วยเหลือแก่ Mweka College of Wildlife Management ในประเทศแทนซาเนียเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทั่วทวีปแอฟริกา

WWF อนุรักษ์แรดชวา 25 ตัวสุดท้ายใน Ujung Kulon ชวาตะวันออก ปัจจุบันแรดชวาได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 60 ตัวในพื้นที่อนุรักษ์นี้

ทศวรรษที่ 70 (2513-2522)

อินทิรา คานธี ประธานาธิบดีของอินเดีย ให้การสนับสนุนในการจัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์เสือโคร่ง ... rel= © WWF

• พ.ศ. 2514 - WWF มีส่วนร่วมในการร่างอนุสัญญาแรมซาร์ เพื่อปกป้องพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก

• พ.ศ 2516 - WWF ให้การสนับสนุนรัฐบาลอินเดียดำเนินโครงการอนุรักษ์เสือ ภายใต้ชื่อ "Operation Tigers" เพื่อหาทุนอนุรักษ์เสือเบงกอลจำนวน 1,800 ตัว ที่เหลืออยู่ในป่า และได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์เสือโครง มีการประกาศเขตอนุรักษ์เสือโคร่ง 9 แห่ง หลังจากนั้นไม่นานมีการประกาศพื้นที่อีก 6 แห่ง รวมทั้งสิ้น 15 แห่ง และได้มีการขยายแนวคิดเขตอนุรักษ์เสือโคร่งไปยังเนปาล 3 แห่ง และบังคลาเทศอีก 1 แห่ง

• พ.ศ. 2518 - WWF จัดโครงการรณรงค์อนุรักษ์ป่าฝนเขตร้อนขึ้นทั่วโลก ในทวีปอัฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และลาตินอเมริกา และสนับสนุนการจัดตั้งพื้นที่อนุรักษ์ในประเทศเหล่านั้นด้วย

• พ.ศ. 2519 - WWF จัดโครงการรณรงค์อนุรักษ์ทะเล (The Seas Must Live) และยังสนับสนุนให้มีการจัดตั้งเขตอนุรักษ์ทางทะเลขึ้นด้วย เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ วาฬ โลมา แมวน้ำ รวมถึงเพื่อคุ้มครองแหล่งวางไข่ของเต่าทะเล ในปีเดียวกันนี้เอง WWF ช่วยสนับสนุน TRAFFIC (Trade Records Analysis of Fauna and Flora in Commerce) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลในเรื่องของการค้าสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ในการช่วยสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่า โดยการจัดตั้งสำนักงานทั่วโลก 17 แห่ง ใน 5 ทวีป
ทศวรรษที่ 80 (2523-2532)

งานเปิดตัวครั้งแรกของแผนกลยุทธ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตของโลก โดยมีผู้แทนจาก WWF IUCN และ UNEP ... rel= © WWF

ในทศวรรษนี้ WWF ยกประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ขึ้นสู่ระดับนโยบายและการพิจารณาร่วมกันในเวทีสากลโลก ปี พ.ศ. 2524 WWF ร่วมกับ IUCN และ UNEP (United Nations Environment Programme) จัดพิมพ์แผนกลยุทธ์ในงานอนุรักษ์ (World Conservation Strategy) และได้แผยแพร่ไปตามเมืองใหญ่ทั่วโลกถึง 34 เมือง และได้มีการนำแนวคิดจากแผนกลยุทธ์ดังกล่าวเป็นต้นแบบในการจัดทำแผนกลยุทธ์แห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์ของอีก 50 ประเทศทั่วโลก

• พ.ศ. 2526 - จัดทำแสตมป์ที่ระลึกชุด สัตว์ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์จากทั่วทุกมุมโลก เพื่อระดมทุนในการดำเนินโครงการอนุรักษ์ ได้เงินรวมทั้งสิ้น 455 ล้านบาท

• พ.ศ. 2529 - เปลี่ยนชื่อจาก World Wildlife Fund เป็น World Wide Fund For Nature เพื่อให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับภารกิจของ WWF โดยมีเพียง 2 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา และ สหรัฐอเมริกา เท่านั้นที่ยังใช้ชื่อเดิม
ทศวรรษที่ 90 (2533-2542)

บรรยากาศการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา เมื่อปี 3535 และ WWF ... rel= © WWF

• พ.ศ. 2535 - WWF มีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นรากฐานในการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพของโลกในระยะยาว รวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา

หลังจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา WWF สานความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับภาคธุรกิจ เพื่อช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หลายประเทศกำลังเผชิญอยู่ เพราะ WWF ตระหนักดีว่า ภาคธุรกิจ คืออีกหนึ่งกลไกที่สำคัญในการช่วยเหลือโลกใบนี้ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2536 WWF บุกเบิก โครงการ Forest Stewardship Council (FSC) ซึ่งเป็นโครงการที่จะมอบตรารับรองให้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ซึ่งมาจากป่าที่ได้รับการจัดการที่ดี

โครงการสำรวจในประเทศเวียดนามที่ได้รับการสนับสนุนจาก WWF ค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ของโลก ถึง 3 ชนิด ได้แก่ Troung Son munjiac, Giant Muntjac และ Sao La

สู่สหัสวรรษ (2543-ปัจจุบัน)

ภาพการเฉลิมฉลองกิจกรรมมอบของขวัญแก่โลกที่ประเทศมาดากาสกา rel= © WWF

WWF จัดพิมพ์รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลก ภายใต้ชื่อ "Living Planet Report"  เพื่อแสดงให้เห็นว่าภายในระยะเวลาเพียง 30 ปี โลกได้สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าไปมากถึง 1 ใน 3 ของที่มีอยู่

WWF นำเสนอพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติ 200 แห่งทั่วโลก ภายใต้ชื่อ "Global 200"  ให้เป็นพื้นที่เป้าหมาย ที่ความสำคัญเร่งด่วนในการดำเนินการอนุรักษ์ และได้ริเริ่มโครงการต่างๆ ในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 200 แห่งไปพร้อมๆ กันทั่วโลก

WWF รณรงค์ โครงการ "ของขวัญเพื่อโลก" (Gift to the Earth) ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างพันธกิจในการพิทักษ์พื้นที่ที่โดดเด่นของโลก และภายในปีพ.ศ. 2545 ได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่ 56 แห่งให้เป็นของขวัญแก่โลก นับตั้งแต่กฏหมายด้านการอนุรักษ์ของประเทศเอกวาดอร์ เพื่อพิทักษ์ชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าในหมู่เกาะกาลาปาโกส ไปจนถึงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งใหม่ในประเทศแคนาดา กาบอง มองโกเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และอัฟริกาใต้

• พ.ศ. 2551 - WWF ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ตั้งมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO)

• พ.ศ. 2552 - เดือนพฤษภาคม ผู้นำจาก 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์ตะวันออก ให้คำมั่นว่าจะดำเนินแผนงานอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรชายฝั่งและใต้น้ำอย่างยั่งยืน ในเขตสามเหลี่ยมปะการัง (Coral Triangle) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของปะการังกว่าร้อยละ 76 ของปะการังที่มีอยู่บนโลก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งทำประมงทูน่าของโลกอีกด้วย

• พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน จากความมุ่งมั่นสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม งานรณรงค์ Earth Hour ปิดไฟให้โลกพัก ของ WWF มีผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากและได้เป็นต้นแบบในการรณรงค์สร้างจิตสำนึกประหยัดพลังงาน กิจกรรม Earth Hour ที่จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2550 ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มีบ้านเรือนและอาคารสำนักงานทั่วโลกถึง 2.2 ล้านหลัง ในปี 2553 มีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลกกว่าหลายร้อยล้านคน ในการผลักดันให้นักการเมือง รัฐบาลและผู้นำโลกปฏิบัติตามสนธิสัญญาเกียวโต (Kyoto Protocol) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศของตน
สนับสนุน
สนับสนุน