The WWF is run at a local level by the following offices...
เป้าหมายของประเทศไทยในด้านสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมไม่ดีพอ
09 November 2021
“เราทุกคนไม่มีแผน 2 ในเรื่องการรักษาเยียวยาสภาพภูมิอากาศ เพราะเราจะไม่มีโลกที่ 2 ที่เป็นบ้านของพวกเราเหมือนโลกนี้อีกแล้ว”
นี่คือคำพูดที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวที่งาน COP26 ที่ได้จัดขึ้นในประเทศสก็อตแลนด์ในต้นเดือน พ.ย. ที่ผ่านมาคำกล่าวนี้แม้จะฟังดูดี แต่เป็นการนำคำพูดของผู้นำอื่นมากล่าวซ้ำ... และก็ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงเป้าหมายสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยได้ตั้งไว้ที่ไม่มีความเร่งด่วนที่จำเป็นในการเผชิญกับภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
ตาม the Global Climate Risk Index ของปี 2564 ประเทศไทยจะถูกกระทบอย่างมากทเพราะการเสื่อมสภาพของชั้นบรรยากาศ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับกระทบเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นกัน นอกจากนี้รายงานล่าสุดโดย คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) แสดงให้เห็นว่าเมืองใหญ่ๆ หลายเมืองทั่วภูมิภาคจะถูกกระทบเมื่อระดับน้ำทะเลสูงขึ้นรวมถึงกรุงเทพฯ ด้วย
แม้ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอย่างหนักในอนาคตอันใกล้ เป้าหมายต่างๆ ที่ประเทศตั้งไว้ไม่แสดงให้เห็นถึงความความทะเยอทะยานหรือความเร่งด่วนที่จำเป็น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ตั้งเป้าหมายว่าประเทศไทยจะบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ (net zero emissions) ภายในปี 2608 ซึ่งช้ากว่าเป้าหมายปี 2593 ที่หลายประเทศอื่นๆ รวมถึงหลายประเทศใน ASEAN ที่มี GDP ต่ำกว่าประเทศไทยได้ตั้งไว้ ทำไมเราถึงตั้งเป้าหมายช้ากว่าคนอื่นถึง 15 ปี?
ถ้าประเทศไทยไม่เร่งการกระทำที่จะลดการปลดปล่อยของก๊าซเรือนกระจก เราจะไม่สามารถสะท้อนผลกระทบด้านสภาพอากาศกลับได้ เป้าหมายของประเทศไทยในด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจนถึงขณะนี้ เป็นเพียงแค่คำพูดมากกว่าการกระทำ อาทิ การให้คำมั่นสัญญาที่จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ไม่ยอมลงนามตั้งเป้าหมายเพื่อหยุดการตัดไม้ทำลายป่า ภายในปี 2573
การตัดไม้ทำลายป่าในสาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อม และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเกษตรเชิงเดี่ยว และภาคผลิตอาหาร การไม่ยอมตั้งเป้าหมายหยุดการตัดไม้ทำลายป่า แสดงให้เห็นว่า เรากำลังละเลยต้นเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งจะทำให้การบรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยากขึ้น
อีกเป้าหมายที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้นำเสนอที่ COP26 คือโมเดล BCG ซึ่งจะพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยและนำเสนอโมเดลนี่ครั้งแรกที่งาน UN Food Systems Summit (UNFSS) ที่ได้จัดขึ้นในเดือน ก.ย. 2564 ที่ผ่านมา
เหมือนเป้าหมายที่ประเทศไทยตั้งไว้ในงาน COP26 เป้าหมาย BGC และ 3-S จากงาน UNFSS ก็ไม่เร่งด่วนพอ และละเลยต้นเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นกัน อาทิการควบคุมของระบบอาหารโดยบริษัทขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและห่วงโซ่อุปทานที่ไม่ยั่งยืน เพราะสาเหตุนี้เป้าหมายเหล่าที่ตั้งไว้จึงอาจไม่เร่งด่วนและเพียงพอที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่จะตามมา
เราต้องการการดำเนินการด้านสภาพอากาศที่จะสร้างผลกระทบจริงและมีส่วนร่วมจากทุกภาคอย่างเร่งด่วน นี่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตร ตามที่คุณ เรวดี ประเสริฐเจริญสุข จากมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้กล่าวไว้ “เกษตรกรรายย่อยและชุมชนท้องถิ่นสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ เพราะกลุ่มพวกนี้มีความรู้ด้านพืชท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมาก”
เป้าหมายที่ประเทศไทยตั้งไว้สำหรับสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในทั้ง UNFSS และ COP26 ไม่เพียงพอ สำหรับหลายคนงาน COP26 คือ โอกาสสุดท้ายที่โลกจะมีในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายสำหรับอนาคตและสิ่งแวดล้อม ถ้าเราอยากแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง การดำเนินการแก้ไขด้านสภาพภูมิอากาศของเราต้องด่วนกว่านี้