The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
WWF Thailand ร่วมประชุมหารือกับเครือข่ายพันธมิตรเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมระบบนิเวศและอาชีพเกษตรกร
12 September 2022
ศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565 ณ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ
องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF Thailand) โดยโครงการเสริมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำผ่านการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน (SCP) ร่วมประชุมหารือกับเครือข่ายพันธมิตรความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน-ประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมระบบนิเวศและอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 และ 2 ซึ่งมีประมาณ 2.3 ล้านไร่ทั่วประเทศ
โดยมีตัวแทนจากองค์กรภาคีพันธมิตร ประกอบด้วย คุณศักดา มณีวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการป่าชุมชน คุณรัฐภัทร์ ศรีจันทร์กลัด มูลนิธิเกษตรอินทรีไทย โดยโครงการกองทุนฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าและอาหารอย่างยั่งยืน (FLR349) คุณ พลาย ภิรมย์ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF Thailand) โดยโครงการเสริมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำผ่านการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน (SCP) คุณปรัชญ์ลือ พิณกาญจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล และคุณกรรธิมา สาริกา ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)

ซึ่งได้ตกลงที่จะจัดทำความร่วมมือกันผ่าน “บันทึกความเข้าใจ” โดยวัตถุประสงค์ของความร่วมมือดังนี้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยการสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนร่วมส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจด้านค้าปลีกและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการขับเคลื่อนการพัฒนา อย่างยั่งยืนตามแนวทางโมเดล BCG โดยมุ่งเน้นฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว สนับสนุนอาชีพทางเลือก ‘เกษตรกรรมแบบสมดุลธรรมชาติ’ พร้อมการสร้างเศรษฐกิจรากฐานให้เข้มแข็งผ่านการสร้างระบบอาหารเพื่อท้องถิ่นและการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเชื่อมต่อผู้บริโภคในท้องถิ่นและในประเทศตามหลักการของกองทุนฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าและอาหารยั่งยืน (FLR349)
3. เกิดการบริหารจัดการที่ดิน ให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำ 1,2 ได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำกินอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยภาคีความร่วมมือจะบูรณาการทำงานร่วมกันภายใต้กรอบความร่วมมือ เพื่อเชื่อมการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า ให้เป็นโมเดลจูงใจแก่เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรสู่เกษตรสร้างป่า ที่จะเป็นการสร้างอาชีพยั่งยืน พลิกฟื้นผืนดิน ระบบนิเวศและความมั่นคงทางอาหาร ให้กลับมา อุดมสมบูรณ์ ตาม เป้าหมายในการฟื้นผืนป่าสร้างพื้นที่ สีเขียวในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1,2 ที่ถูกแผ้วถางทำเกษตรเชิงเดี่ยวปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
- กรมป่าไม้ ดำเนินแผนจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่ และอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินงานขององค์กรที่ร่วมลงนาม และสนับสนุนและ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ภายใต้กรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและที่ทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
- องค์กรที่ร่วมลงนามทั้ง 5 องค์กรจะ ดำเนินการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ให้เกษตรกร พัฒนาความเข้มแข็งให้ชุมชนอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม รวมทั้งนำนวัตกรรมด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลระยะไกลมาประยุกต์ใช้เพื่อเชื่อมโยงด้านที่ดิน ทรัพยากรดิน ป่าไม้ การเกษตร และประเมินการกักเก็บคาร์บอนจากการปลูกป่าเพื่อ สามารถติดตามตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่คุณค่าและ ห่วงโซ่อุปทานในการทำเกษตรกรรมแบบ สมดุลตามธรรมชาติ

ข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำผ่าการบริโภคและผลิตอย่างยั่งยืน (ระยะที่ 2) โดยได้ใช้โมเดล FLR349 ในการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ หรือ นิเวศเกษตร (agroecology) ฟื้นฟูดิน (soil restoration) สร้างแหล่งน้ำชุมชน กักเก็บคาร์บอน (carbon storage) ฟื้นฟูระบบอาหารพื้นถิ่นและปลอดภัย (Local and safe food) และสร้างอาชีพยั่งยืนให้เกษตรกร และการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่า (Forest landscape restoration)

