The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
คืนชีวิตผึ้ง...ด้วยชุมชนและวิถีเกษตรธรรมชาติ
28 September 2022
กิจกรรมเสวนาที่จัดขึ้น ณ สวนชีววิถี (BIOTHAI) ที่ล้อมรอบด้วยสวนทุเรียน นนทบุรี ในวันที่ 24 กันยายน 2565 เพื่อชวนเรามาทำความรู้จักระบบเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อผึ้งและแมลงผสมเกสรที่อาศัยอยู่ทั้งในเมืองและพื้นที่ชนบท รวมถึงการปลูกดอกไม้แทรกตามแปลงผัก ทางเดินเท้า สวนหย่อม จนไปถึงพื้นที่สุดคับแคบอย่างระเบียงห้องแถวหรือคอนโด นั้น เกื้อหนุนแมลงผสมเกสร การให้น้ำผึ้ง-น้ำหวาน และการเพิ่มผลผลิตของพืชได้อย่างไร
เมื่อพูดถึงผึ้ง เรามักมองเป็นแค่ “ผู้ให้น้ำผึ้ง” ซึ่งตีมูลค่าได้กว่า 43,000 ล้านบาทในแง่ของการผลิตน้ำผึ้งป้อนคนทั้งโลก เทียบกับคุณค่าการผสมเกสรโดยผึ้งที่คนส่วนใหญ่ละเลย กลับมีมูลค่าสูงถึง 6,579,000 ล้านบาทเลยทีเดียว เพราะพืชอาหารหลายชนิดล้วนต้องใช้ผึ้งหรือแมลงชนิดอื่นช่วยผสมเกสร พืชถึงจะติดผล โดยพืชที่ต้องใช้ผึ้งช่วยผสมเกสรมีหลายชนิด อาทิ สตรอเบอร์รี่ เงาะ มะเขือเทศ ฝรั่ง ฟักทองและพืชกลุ่มแตง สาปเสือ กะเพรา ลิ้นจี่ ลำไย มะพร้าวหรือปาล์ม เป็นต้น
นอกจากคุณค่าทางนิเวศบริการที่ผึ้งและแมลงผสมเกสรที่มอบให้แก่เราจะถูกละเลยแล้ว ตัวน้ำหวานหรือน้ำผึ้งเอง หลายคนก็มองว่าเป็นเพียงอาหารที่ให้รสชาติที่หอมหวานแก่เราเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วน้ำผึ้งกลับมีคุณค่าทางสมุนไพร ดังคำกล่าวที่ รศ.ดร.อรวรรณ ดวงภักดี หัวหน้าศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร (Native Honeybee and Pollinator Center: NHBEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ที่ว่า "น้ำผึ้งไม่ได้เป็นแค่อาหาร แต่เป็นยาอายุวัฒนะ" นั้นก็เพราะสารชีวผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในน้ำผึ้งก็มาจากเกสรและน้ำหวานจากดอกไม้แต่ละชนิดที่ผึ้งนำมาเป็นอาหารนั้นเอง
เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ดอกไม้มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อรสชาติ รสสัมผัส และคุณภาพของน้ำผึ้ง จากคำแนะนำของคุณวีรวิชญ์ อินทร์ประยงค์ (เบนซ์) เกษตรกร จ.นครสวรรค์ นักสะสมน้ำผึ้งกว่า 120 ชนิด ว่าแท้จริงแล้วตัวน้ำผึ้งนั้นมีกลิ่น ความใส และความหนืดที่เฉพาะในแต่ละพื้นที่ป่า เพราะป่าแต่ละแห่งมีพรรณไม้ที่ให้น้ำหวานแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ รสน้ำผึ้ง 4 รสสัมผัส: เปรี้ยว ขม หวาน หอม จึงมีรสนำที่ต่างกันออกไป บางชนิดเปรี้ยวนำ บางชนิดก็นำด้วยรสหวาน อีกทั้งน้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีวันหมดอายุ ตลาดน้ำผึ้งจึงขยายตัวสูงขึ้นทุกปี
ด้วยที่น้ำผึ้งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีศักยภาพทางการตลาด หลายภาคส่วนก็เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงผึ้งเป็นรายได้เสริมควบคู่กับการอนุรักษ์ผึ้งสายพันธุ์ท้องถิ่นกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยด้านชีววิทยา ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การเพาะเลี้ยงและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผึ้งในเขตร้อนมีอย่างจำกัดมาก ส่วนใหญ่มักมาจากสหรัฐอเมริกาและประเทศกลุ่มตะวันตก ทำให้งานส่งเสริมการเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์แมลงผสมเกสรในเมืองไทยจึงมีความท้าทายอย่างมาก ด้วยองค์ความรู้ด้านพันธุกรรมและอนุกรมวิธานผึ้งหรือชันโรงที่มีอย่างจำกัด ทำให้นักวิจัยระบุชนิดพันธุ์ของผึ้งหรือชันโรงเป็นไปได้ยาก การออกแบบระบบการเพาะเลี้ยงจึงทำได้อย่างลำบาก ปัญหาใหญ่ที่ตามมา คือ การผสมข้ามสายพันธุ์หรือการผสมกันภายในเครือญาติ เป็นเหตุให้แมลงรุ่นลูกหรือตัวอ่อนนั้นอ่อนแอและตายลงเกือบทั้งรัง สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งการศึกษาระบบการผลิตที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายของแมลงผสมเกสรก็ยังใหม่มากในเมืองไทย
เป็นที่ทราบกันว่าระบบเกษตรไม่ว่าจะเป็นระบบเคมีหรืออินทรีย์ก็ล้วนส่งผลต่อความหลากหลายของแมลงผสมเกสรได้หลายเฉด ยกตัวอย่างงานการศึกษาของ ผศ.ดร.อลิสา สจ๊วต อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเปรียบเทียบความหลากหลายของแมลงผสมเกสรในสวนฝรั่งที่ปลูกด้วยระบบเคมีและอินทรีย์ พบว่า สวนฝรั่งทั้ง 2 ระบบ มักจะพบชันโรง (stingless honey bees) และผึ้งน้ำหวาน (honeybees) เป็นหลัก โดยผึ้งน้ำหวานที่พบได้แก่ ผึ้งมิ้ม ผึ้งโพรง และผึ้งหลวงตามลำดับ อาจพบผึ้งสีฟ้า แมลงภู่ ผึ้งรู กลุ่มแมลงวัน และกลุ่มด้วงในบางครั้ง
แม้ว่าจำนวนการเข้าเยี่ยมดอกต้นฝรั่งของแมลงผสมเกสรจะไม่แตกต่างทั้งสวนฝรั่งเคมีและอินทรีย์ แต่สวนฝรั่งอินทรีย์มีความหลากหลายและจำนวนตัวที่พบสูงกว่าสวนฝรั่งที่ใช้สารเคมี โดยสวนฝรั่งทั่วไปพบเพียง 5 ชนิด ในขณะที่สวนฝรั่งอินทรีย์พบแมลงผสมเกสรกว่า 8 ชนิด ซึ่งผึ้งสีฟ้า แมลงภู่ ผึ้งหลวง และผึ้งโพรงมักพบในสวนฝรั่งอินทรีย์มากกว่า ส่วนผึ้งมิ้ม ชันโรง กลุ่มแมลงวันและผึ้งรูสามารถพบได้ในสวนฝรั่งที่ปลูกทั้ง 2 ระบบ
นอกจากรูปแบบของระบบการผลิตแล้ว อาจารย์อรวรรณ ยังได้กล่าวถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากรผึ้งและชันโรงไว้อย่างน่าสนใจหลายประเด็น โดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนพื้นที่ป่าธรรมชาติไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย แม้ในความเป็นจริงการตัดป่าและเปลี่ยนเป็นบ้านเรือนหรือพื้นที่เกษตร ความร้อนอาจเพิ่มขึ้นเพียง 0.5 ถึง 2.0 องศาเซลเซียส แต่ก็ส่งผลให้ผึ้งและชันโรงลดจำนวนลงมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า อัตราการตายของผึ้งจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส และผึ้งจะตายทั้งหมดที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ซึ่งในเขตเมืองผึ้งและชันโรงจะได้รับผลกระทบจากเกาะความร้อน (heat island effect) มากกว่าพื้นที่ชนบท
อย่างไรก็ตาม แม้ในเมืองจะเผชิญความร้อนที่สูงกว่าชนบท ก็มิได้หมายความว่าการเลี้ยงผึ้งในเมืองจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คุณภาวิดา กฤตศรันย์ (กัล) คนเมืองผู้เลี้ยงผึ้งบนคอนโดมิเนียม ชั้น 23 ได้เปิดเผยว่า แม้ปัจจุบัน การเลี้ยงผึ้งน้ำหวานในพื้นที่เมืองจะยังมีข้อจำกัดอยู่ แต่ชันโรงกลับตอบโจทย์ข้อจำกัดเหล่านี้ เพราะมีขนาดเล็กมาก ไม่ก่อเสียงรบกวน แถมเข้าหาดอกไม้ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟ้าทะลายโจร ว่านสี่ทิศ กะเพรา รักแรกพบซึ่งปลูกได้ง่ายตามระเบียงห้อง ควบคู่กับพืชดอกนอกคอนโด เช่น มะม่วง หูกระจง กล้วย ไม้ดอกเหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งอาหารอย่างดีให้แก่ชันโรง การเลี้ยงชันโรงบนอาคารจึงมีส่วนช่วยในการผสมเกสรและให้น้ำผึ้งแก่ผู้เลี้ยงแล้ว บรรเทาความเครียดและผ่อนคลายจากการทำงาน และมีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
จากการเปิดเผยโดยผู้ใหญ่แจ๊ค แมนรัตน์ ฐิติธนากุล ผู้ใหญ่บ้านและเกษตรกรเลี้ยงผึ้งจาก หมู่ 11 ต.บ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี คือรูปธรรมที่สะท้อนให้เห็นว่าการเลี้ยงผึ้งมีส่วนช่วยให้ชุมชนมีการพัฒนาไปในทางที่ยั่งยืนมากขึ้น แม้ว่าสวนฝรั่งอินทรีย์ยังขาดแหล่งจำหน่ายสินค้าอินทรีย์และรัฐยังไม่สนับสนุนเท่าที่ควร ทำให้เกษตรกรต้องนำผลผลิตอินทรีย์ไปขายในราคาท้องตลาดตามปกติ หากผลผลิตเสียหายจากรอยเจาะของแมลงก็จะถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาจนขายผลผลิตไม่คุ้มกับต้นทุน บีบให้เกษตรกรในพื้นที่ต้องหันกลับไปใช้สารเคมีตามเดิมทั้งที่ตระหนักถึงผลเสียต่อสุขภาพ แต่การเลี้ยงชันโรงกลับช่วยส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์โดยทางอ้อมโดยอาศัยดอกฝรั่งเป็นแหล่งอาหารแก่ชันโรง และมีรายได้จากขายน้ำผึ้งชดเชยผลผลิตฝรั่งที่เสียหายไปจากการรุกรานของแมลงศัตรูพืช อีกทั้งการเลี้ยงชันโรงมีส่วนช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่รอบข้างใช้สารเคมีลดลงในทางอ้อม เพราะต้องฉีดพ้นสารเคมีเพื่อไม่ให้กระทบต่อการออกหากินของชันโรงในพื้นที่ข้างเคียงของตนเอง กรณีศึกษาเหล่านี้จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการอนุรักษ์ผึ้งในอนาคต
ด้วยเหตุนี้กลุ่ม APIA (Asian Pollinator Initiatives Alliance) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือกันระหว่างองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) จึงเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาและแผยแพร่องค์ความรู้ที่สำคัญต่อการเลี้ยงแมลงผสมเกสรควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สายพันธุ์ท้องถิ่นในอนาคต โดยกิจกรรมเสวนา APIA ครั้งที่ 11 “คืนชีวิตผึ้ง...ด้วยชุมชนและวิถีเกษตรธรรมชาติ” เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2565 ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) มูลนิธิสายใยแผ่นดิน (Earth Net Foundation) มูลนิธิ Heinrich-Böll-Stiftung Southeast Asia กลุ่ม GO Organics กลุ่ม Thai-PAN และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเชิญชวนให้คนเมืองเห็นความสำคัญของผึ้งและแมลงผสมเกสรกันมากขึ้น
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเราอยากจะเลี้ยงผึ้งเพื่อเป็นอาชีพเสริมหรืออนุรักษ์สายพันธุ์ผึ้งหรือชันโรงท้องถิ่น สิ่งแรกที่ต้องทำคือ “ปลูกดอกไม้”
เมื่อพูดถึงผึ้ง เรามักมองเป็นแค่ “ผู้ให้น้ำผึ้ง” ซึ่งตีมูลค่าได้กว่า 43,000 ล้านบาทในแง่ของการผลิตน้ำผึ้งป้อนคนทั้งโลก เทียบกับคุณค่าการผสมเกสรโดยผึ้งที่คนส่วนใหญ่ละเลย กลับมีมูลค่าสูงถึง 6,579,000 ล้านบาทเลยทีเดียว เพราะพืชอาหารหลายชนิดล้วนต้องใช้ผึ้งหรือแมลงชนิดอื่นช่วยผสมเกสร พืชถึงจะติดผล โดยพืชที่ต้องใช้ผึ้งช่วยผสมเกสรมีหลายชนิด อาทิ สตรอเบอร์รี่ เงาะ มะเขือเทศ ฝรั่ง ฟักทองและพืชกลุ่มแตง สาปเสือ กะเพรา ลิ้นจี่ ลำไย มะพร้าวหรือปาล์ม เป็นต้น
นอกจากคุณค่าทางนิเวศบริการที่ผึ้งและแมลงผสมเกสรที่มอบให้แก่เราจะถูกละเลยแล้ว ตัวน้ำหวานหรือน้ำผึ้งเอง หลายคนก็มองว่าเป็นเพียงอาหารที่ให้รสชาติที่หอมหวานแก่เราเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วน้ำผึ้งกลับมีคุณค่าทางสมุนไพร ดังคำกล่าวที่ รศ.ดร.อรวรรณ ดวงภักดี หัวหน้าศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร (Native Honeybee and Pollinator Center: NHBEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ที่ว่า "น้ำผึ้งไม่ได้เป็นแค่อาหาร แต่เป็นยาอายุวัฒนะ" นั้นก็เพราะสารชีวผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในน้ำผึ้งก็มาจากเกสรและน้ำหวานจากดอกไม้แต่ละชนิดที่ผึ้งนำมาเป็นอาหารนั้นเอง
เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า ดอกไม้มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อรสชาติ รสสัมผัส และคุณภาพของน้ำผึ้ง จากคำแนะนำของคุณวีรวิชญ์ อินทร์ประยงค์ (เบนซ์) เกษตรกร จ.นครสวรรค์ นักสะสมน้ำผึ้งกว่า 120 ชนิด ว่าแท้จริงแล้วตัวน้ำผึ้งนั้นมีกลิ่น ความใส และความหนืดที่เฉพาะในแต่ละพื้นที่ป่า เพราะป่าแต่ละแห่งมีพรรณไม้ที่ให้น้ำหวานแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ รสน้ำผึ้ง 4 รสสัมผัส: เปรี้ยว ขม หวาน หอม จึงมีรสนำที่ต่างกันออกไป บางชนิดเปรี้ยวนำ บางชนิดก็นำด้วยรสหวาน อีกทั้งน้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีวันหมดอายุ ตลาดน้ำผึ้งจึงขยายตัวสูงขึ้นทุกปี
ด้วยที่น้ำผึ้งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีศักยภาพทางการตลาด หลายภาคส่วนก็เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงผึ้งเป็นรายได้เสริมควบคู่กับการอนุรักษ์ผึ้งสายพันธุ์ท้องถิ่นกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม งานวิจัยด้านชีววิทยา ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การเพาะเลี้ยงและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผึ้งในเขตร้อนมีอย่างจำกัดมาก ส่วนใหญ่มักมาจากสหรัฐอเมริกาและประเทศกลุ่มตะวันตก ทำให้งานส่งเสริมการเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์แมลงผสมเกสรในเมืองไทยจึงมีความท้าทายอย่างมาก ด้วยองค์ความรู้ด้านพันธุกรรมและอนุกรมวิธานผึ้งหรือชันโรงที่มีอย่างจำกัด ทำให้นักวิจัยระบุชนิดพันธุ์ของผึ้งหรือชันโรงเป็นไปได้ยาก การออกแบบระบบการเพาะเลี้ยงจึงทำได้อย่างลำบาก ปัญหาใหญ่ที่ตามมา คือ การผสมข้ามสายพันธุ์หรือการผสมกันภายในเครือญาติ เป็นเหตุให้แมลงรุ่นลูกหรือตัวอ่อนนั้นอ่อนแอและตายลงเกือบทั้งรัง สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งการศึกษาระบบการผลิตที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายของแมลงผสมเกสรก็ยังใหม่มากในเมืองไทย
เป็นที่ทราบกันว่าระบบเกษตรไม่ว่าจะเป็นระบบเคมีหรืออินทรีย์ก็ล้วนส่งผลต่อความหลากหลายของแมลงผสมเกสรได้หลายเฉด ยกตัวอย่างงานการศึกษาของ ผศ.ดร.อลิสา สจ๊วต อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเปรียบเทียบความหลากหลายของแมลงผสมเกสรในสวนฝรั่งที่ปลูกด้วยระบบเคมีและอินทรีย์ พบว่า สวนฝรั่งทั้ง 2 ระบบ มักจะพบชันโรง (stingless honey bees) และผึ้งน้ำหวาน (honeybees) เป็นหลัก โดยผึ้งน้ำหวานที่พบได้แก่ ผึ้งมิ้ม ผึ้งโพรง และผึ้งหลวงตามลำดับ อาจพบผึ้งสีฟ้า แมลงภู่ ผึ้งรู กลุ่มแมลงวัน และกลุ่มด้วงในบางครั้ง
แม้ว่าจำนวนการเข้าเยี่ยมดอกต้นฝรั่งของแมลงผสมเกสรจะไม่แตกต่างทั้งสวนฝรั่งเคมีและอินทรีย์ แต่สวนฝรั่งอินทรีย์มีความหลากหลายและจำนวนตัวที่พบสูงกว่าสวนฝรั่งที่ใช้สารเคมี โดยสวนฝรั่งทั่วไปพบเพียง 5 ชนิด ในขณะที่สวนฝรั่งอินทรีย์พบแมลงผสมเกสรกว่า 8 ชนิด ซึ่งผึ้งสีฟ้า แมลงภู่ ผึ้งหลวง และผึ้งโพรงมักพบในสวนฝรั่งอินทรีย์มากกว่า ส่วนผึ้งมิ้ม ชันโรง กลุ่มแมลงวันและผึ้งรูสามารถพบได้ในสวนฝรั่งที่ปลูกทั้ง 2 ระบบ
นอกจากรูปแบบของระบบการผลิตแล้ว อาจารย์อรวรรณ ยังได้กล่าวถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดประชากรผึ้งและชันโรงไว้อย่างน่าสนใจหลายประเด็น โดยเฉพาะอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนพื้นที่ป่าธรรมชาติไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย แม้ในความเป็นจริงการตัดป่าและเปลี่ยนเป็นบ้านเรือนหรือพื้นที่เกษตร ความร้อนอาจเพิ่มขึ้นเพียง 0.5 ถึง 2.0 องศาเซลเซียส แต่ก็ส่งผลให้ผึ้งและชันโรงลดจำนวนลงมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า อัตราการตายของผึ้งจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส และผึ้งจะตายทั้งหมดที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ซึ่งในเขตเมืองผึ้งและชันโรงจะได้รับผลกระทบจากเกาะความร้อน (heat island effect) มากกว่าพื้นที่ชนบท
อย่างไรก็ตาม แม้ในเมืองจะเผชิญความร้อนที่สูงกว่าชนบท ก็มิได้หมายความว่าการเลี้ยงผึ้งในเมืองจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คุณภาวิดา กฤตศรันย์ (กัล) คนเมืองผู้เลี้ยงผึ้งบนคอนโดมิเนียม ชั้น 23 ได้เปิดเผยว่า แม้ปัจจุบัน การเลี้ยงผึ้งน้ำหวานในพื้นที่เมืองจะยังมีข้อจำกัดอยู่ แต่ชันโรงกลับตอบโจทย์ข้อจำกัดเหล่านี้ เพราะมีขนาดเล็กมาก ไม่ก่อเสียงรบกวน แถมเข้าหาดอกไม้ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟ้าทะลายโจร ว่านสี่ทิศ กะเพรา รักแรกพบซึ่งปลูกได้ง่ายตามระเบียงห้อง ควบคู่กับพืชดอกนอกคอนโด เช่น มะม่วง หูกระจง กล้วย ไม้ดอกเหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งอาหารอย่างดีให้แก่ชันโรง การเลี้ยงชันโรงบนอาคารจึงมีส่วนช่วยในการผสมเกสรและให้น้ำผึ้งแก่ผู้เลี้ยงแล้ว บรรเทาความเครียดและผ่อนคลายจากการทำงาน และมีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
จากการเปิดเผยโดยผู้ใหญ่แจ๊ค แมนรัตน์ ฐิติธนากุล ผู้ใหญ่บ้านและเกษตรกรเลี้ยงผึ้งจาก หมู่ 11 ต.บ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี คือรูปธรรมที่สะท้อนให้เห็นว่าการเลี้ยงผึ้งมีส่วนช่วยให้ชุมชนมีการพัฒนาไปในทางที่ยั่งยืนมากขึ้น แม้ว่าสวนฝรั่งอินทรีย์ยังขาดแหล่งจำหน่ายสินค้าอินทรีย์และรัฐยังไม่สนับสนุนเท่าที่ควร ทำให้เกษตรกรต้องนำผลผลิตอินทรีย์ไปขายในราคาท้องตลาดตามปกติ หากผลผลิตเสียหายจากรอยเจาะของแมลงก็จะถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาจนขายผลผลิตไม่คุ้มกับต้นทุน บีบให้เกษตรกรในพื้นที่ต้องหันกลับไปใช้สารเคมีตามเดิมทั้งที่ตระหนักถึงผลเสียต่อสุขภาพ แต่การเลี้ยงชันโรงกลับช่วยส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์โดยทางอ้อมโดยอาศัยดอกฝรั่งเป็นแหล่งอาหารแก่ชันโรง และมีรายได้จากขายน้ำผึ้งชดเชยผลผลิตฝรั่งที่เสียหายไปจากการรุกรานของแมลงศัตรูพืช อีกทั้งการเลี้ยงชันโรงมีส่วนช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่รอบข้างใช้สารเคมีลดลงในทางอ้อม เพราะต้องฉีดพ้นสารเคมีเพื่อไม่ให้กระทบต่อการออกหากินของชันโรงในพื้นที่ข้างเคียงของตนเอง กรณีศึกษาเหล่านี้จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการอนุรักษ์ผึ้งในอนาคต
ด้วยเหตุนี้กลุ่ม APIA (Asian Pollinator Initiatives Alliance) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือกันระหว่างองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) จึงเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาและแผยแพร่องค์ความรู้ที่สำคัญต่อการเลี้ยงแมลงผสมเกสรควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สายพันธุ์ท้องถิ่นในอนาคต โดยกิจกรรมเสวนา APIA ครั้งที่ 11 “คืนชีวิตผึ้ง...ด้วยชุมชนและวิถีเกษตรธรรมชาติ” เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2565 ร่วมกับมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) มูลนิธิสายใยแผ่นดิน (Earth Net Foundation) มูลนิธิ Heinrich-Böll-Stiftung Southeast Asia กลุ่ม GO Organics กลุ่ม Thai-PAN และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเชิญชวนให้คนเมืองเห็นความสำคัญของผึ้งและแมลงผสมเกสรกันมากขึ้น
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเราอยากจะเลี้ยงผึ้งเพื่อเป็นอาชีพเสริมหรืออนุรักษ์สายพันธุ์ผึ้งหรือชันโรงท้องถิ่น สิ่งแรกที่ต้องทำคือ “ปลูกดอกไม้”