The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์) - พี่เป้ รัฐพล พิทักษ์เทพสมบัติ
22 December 2023
WWF Thailand ภูมิใจที่จะ ชวนทุกคนมาอ่านบทสัมภาษณ์ พี่เป้ รัฐพล พิทักษ์เทพสมบัติ รองผู้อำนวยการฝ่ายงานอนุรักษ์ องค์การกองทุน สัตว์ป่าโลกสากล (WWF ประเทศไทย)
หลังจากทีมงานเทศกาลข้าวใหม่ 2567 : ‘ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์) มีโอกาสได้พูดคุย ตั้งคำถามแบบล้วงลึกกับชาวนา นักแปรรูป และผู้บริโภคถึงมุมมองความรัก(ษ์)ที่มีต่อข้าวมาแล้ว แต่ยังมีกลุ่มคนอีกกลุ่มที่เราคิดว่ามีความสำคัญ มีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนงานเรื่องข้าวพื้นบ้าน ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเข้มแข็งของเกษตรรายย่อย สร้างสังคมการบริโภคแบบยั่งยืน เป็นพลังทางสังคมแบบเกื้อกูลระบบอาหารที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้น นั่นคือ “กลุ่มคนทำงานสนับสนุน” “กลุ่มคนทำงานส่งเสริม” องค์กรชาวนา และเกษตรกรรายย่อย นั่นเอง
เทศกาลข้าวใหม่ปีนี้ เรามีโอกาสได้จับมือทำงานกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF ประเทศไทย) ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองข้าวใหม่ เพื่อชวนคนเมืองมาทำความรู้จักข้าวแบบลึกซึ้ง ผ่านมุมมองความรักและการอนุรักษ์ของคนปลูกข้าว สู่คนกินข้าวแบบชิดใกล้ มาถึงตรงนี้ผู้อ่านอาจจะเริ่มสงสัยว่า องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล เกี่ยวข้องอย่างไรกับชาวนา? หรือการอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้าน? อย่าเก็บความสงสัยเอาไว้ ชวนร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับเรา
.
>>ช่วยอธิบายประเด็นงาน หรือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับชาวนา ทำอะไรบ้าง มีพื้นที่การทำงานอยู่ที่ไหนบ้าง
"จริง ๆ WWF โดยภาพรวมเราไม่ได้ทำงานโดยตรงกับชาวนา หรือทำงานกับชาวนาเป็นหลัก แต่ว่าเราพยายามจะทำเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีความสอดคล้องหรือไปเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน เพราะเราเชื่อว่า ทั้งสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และความเป็นอยู่ของคนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน”
ดังนั้น เราก็มีการดำเนินงานอยู่ 2 โครงการ ที่พูดได้ว่าเข้าไปมีส่วนสนับสนุนและผลักดันในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หันมาให้ความสนใจ และสนับสนุนเรื่องการจัดการพื้นที่ทำการเกษตร โดยเน้นระบบวนเกษตร ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน รวมถึงการปรับปรุงระบบการผลิตให้สอดคล้อง กับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
โครงการแรก คือ โครงการเสริมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำผ่านการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน โครงการนี้ มุ่งเน้นการทำงานเพื่อปรับปรุงระบบการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำในพื้นที่ที่มีการทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยว มาเป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงของระบบนิเวศ การฟื้นฟูสมรรถภาพของดิน และการเพาะปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าว รวมถึงไม้ยืนต้น โดยทำงานร่วมกับเกษตรกรในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดน่าน และเครือข่ายอีกหลายพื้นที่ รวมถึงทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมป่าไม้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มธุรกิจที่ทำเรื่องการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน แล้วก็ทำงานร่วมกับมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย)ด้วย เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น
“เรามองว่า การที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจและเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ิ อาจจะต้องเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหา ต้องสื่อสารให้ตรงกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจะได้ตอบสนองได้อย่างตรงจุด ตรงกับปัญหาและสาเหตุ ตรงความต้องการสำหรับกลุ่มที่สนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
.
โครงการที่สอง เราทำเกี่ยวกับการปรับปรุงและฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติให้เอื้อต่อระบบการผลิตแบบยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครพนม ซึ่งสองพื้นที่นี้มีความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วมและภัยแล้ง ซึ่งเป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ แต่พอช่วงหลัง ๆ มันมีความเปลี่ยนแปลงหลายเรื่อง ทั้งเรื่องสภาพภูมิอากาศที่ เปลี่ยนแปลงจากภาวะโลกร้อน และจากโครงสร้างพื้นฐานที่อาจจะไม่ได้มีการบริหารจัดการที่ดี หรือมีการควบคุมที่ดี ทำให้การเปลี่ยนแปลงของระบบน้ำแบบฉับพลัน ซึ่งทาง WWF ได้ทำงานร่วม กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ กรมชลประทาน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และชุมชน ให้การสนับสนุนทั้งเครื่องมือ เทคโนโลยี ส่งเสริมการแปรรูป และวางรากฐานเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร ลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ พร้อมกับการจัดการอย่างเป็นระบบในระบบอุทกศาสตร์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
.
ในขณะเดียวกันก็มีการทำงานร่วมกับอีกหลายภาคส่วน ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่าง ๆ เช่น เทศกาลข้าวใหม่ที่จัดขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงการด้วย
>>ถ้าพูดถึงข้าวกับความรัก รักษา หรืออนุรักษ์ ประสบการณ์จากการทำงาน มีความรักเกิดขึ้นตรงไหนบ้าง กับใครหรือสิ่งใดบ้าง อย่างไร
"ข้าวมันเป็นมากกว่าการค้าขาย มันเป็นเรื่องของวัฒนธรรม มันเป็นเรื่องของ ความมั่นคงทางอาหาร ข้าวกับปลา สมัยก่อนเขาใช้เพื่อการแลกเปลี่ยน เป็นความมั่งคั่งและมั่นคง”
แม้ปัจจุบันเกษตรกรหลายคนที่้เป็นหนี้ แต่ก็ยังมีข้าว เขาก็ยังมีความพอใจและภูมิใจ เพราะว่ายังมี ความมั่นคงทางอาหาร การทำนา การปลูกข้าวมันเป็นความพอใจ เป็นจารีต เป็นวัฒนธรรมที่เขาทำแล้วเขามีความสุข โดยเฉพาะที่ในส่วนที่เขาทำเพื่อบริโภค จะเห็นได้ว่าเขาใส่ใจในการทำนา ทำด้วยความประณีต เป็นวิถีวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนแรงงาน ในอดีตการทำนามันช่วยให้ สังคมมีความเป็นสังคม มีความเป็นพี่เป็นน้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ว่าในปัจจุบันที่ชาวนาเปลี่ยนเป็นผู้จัดการนาและผู้รับจ้าง แต่ถึงกระนั้นเองมันก็ยังมีมิติความสัมพันธ์ตรงนี้ให้เห็น
ถ้าพูดถึงเรื่องความรัก นาก็เปรียบเสมือนซูเปอร์มาร์เก็ตของหมู่บ้าน เป็นตู้กับข้าวของหมู่บ้าน มันสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่าถึงไม่มีเงิน ก็สามารถเกิดความมั่นคงในชีวิต สามารถยืนอยู่ได้ ผมไม่ค่อยเห็นคนในชนบทหรือคนที่อยู่นอกเมืองในประเทศไทยอดอาหารแล้วเสียชีวิต ซึ่งต่างจากในต่างประเทศ ที่ไม่มีอาหารกินแล้วอดอาหารถึงขั้นเสียชีวิต
ส่วนใหญ่ถ้าเราพูดถึงการแบ่งปัน เราก็จะคิดถึงข้าวเป็นอันดับแรก ทักทายกันว่า กินข้าวมารึยัง? หรือใส่บาตรก็ต้องใส่ข้าวหรือข้าวเหนียว เพราะฉะนั้น ข้าวมันบูรณาการเข้าไปในวิถีชีวิต ในความรัก ความห่วงใยของผู้คนในสังคมอยู่แล้ว นั่นคือหัวใจสำคัญที่ทำให้ ทำไมข้าว ยังเป็นสิ่งที่ยังจำเป็น และยังต้องผลิต โดยเฉพาะข้าวที่มีกระบวนการทำแบบประณีต ทำแบบอินทรีย์ แบบปลอดสาร นั่นคือความรักที่คนอยากจะหันกลับมาทำให้กับตนเอง ให้กับชุมชน ให้กับสังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย"
>>มุมมองของคนทำงาน เมื่อพูดถึงสถานการณ์ความท้าทายเรื่องข้าวและชาวนามีอะไรบ้าง รุนแรงขนาดไหน หากไม่ได้รับการแก้ไข จะเกิดอะไรขึ้นกับชาวนา
"วิกฤติเรื่องการลดหายลงของสายพันธุ์ข้าวนี่เป็นเรื่องที่น่าห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่เป็นรายย่อย เพราะเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นมันมีความเสี่ยงต่อการเสียหายจากภัยธรรมชาติ แม้มันจะปรับตัวได้ดี มีความเหมาะสมกับพื้นที่ แต่การเข้ามาของการเปิดนโยบายต่าง ๆ เรื่องการจดทะเบียนต่าง ๆ มันมีความเปราะบาง ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ด้วย
สิ่งที่สำคัญก็คือ ความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่เราจะได้บริโภคจะมีอยู่แค่ไม่กี่พันธุ์ และเกษตรกรรายย่อยที่มีข้อจำกัดในเรื่องการปรับปรุง หรืออยู่ในภูมินิเวศที่อาจจะไม่ได้ปรับตัวได้ง่าย เหมือนอยู่ในที่ลุ่มจะมีปัญหา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยซ้ำไป"
>>ใครบ้างที่ควรเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ และควรมีบทบาทอย่างไร
อันที่หนึ่ง ต้องเข้าใจว่ามันเป็นนโยบายที่ทุกส่วนต้องให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงก็คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องสิทธิที่ทำกิน ให้เขารู้สึกว่าเขามีความมั่นคงในพื้นที่ทำกิน
อันที่สอง เรื่องการสนับสนุนองค์ความรู้และเทคนิคการจัดการให้แก่เกษตรกรที่อยากปรับเปลี่ยน จากเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีเยอะ มาเป็นการทำนาข้าวอินทรีย์ รวมถึงส่งเสริมเรื่องการตลาด ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเชิงปริมาณอย่างเดียว แต่เน้นการสร้าง value added ผสมผสานกับเรื่องสังคมวัฒนธรรม ซึ่งผมคิดว่ารัฐบาลยุคนี้เขาพูดเยอะมาก คือเรื่อง soft power
อันที่สาม ภาคเอกชนควรให้การสนับสนุนความหลากหลายของสายพันธุ์เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ผ่านการส่งเสริมการตลาด รวมถึงสื่อให้เห็นถึงคุณค่าของการทำนาข้าวอินทรีย์ มันช่วยเอื้อต่อการ ลดภาวะโลกร้อน การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนรวม รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและปรับเปลี่ยน พฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิต และมีผู้บริโภคที่มีความน่าสนใจอย่างมีนัยยะสำคัญ
ทั้งหมดเป็นการเชื่อมโยงเรื่องการทำระบบอินทรีย์กับความมั่นคงของระบบนิเวศ ที่เอื้อต่อประโยชน์ของสรรพสิ่งในสิ่งแวดล้อม ทั้งสัตว์และคน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้การผลิตนั้นมีความยั่งยืน ตอบสนองความเป็นอยู่ที่ดีของคน"
>>ฝากเชิญชวนผู้บริโภคให้มาสนับสนุนข้าวพื้นบ้าน มากินข้าวด้วยความรัก(ษ์)
"ผมเชื่อว่าทุกคน ถ้าเป็นไปได้ ถ้ามีทางเลือก ถ้ามีโอกาส เขาก็อยากจะสนับสนุนและก็อยากบริโภคสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่มันดีต่อชีวิตตัวเอง ทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม”
ถึงแม้ท่านจะไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง แต่ท่านสามารถสนับสนุน หรือส่งเสริมทางอ้อมให้กับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มเครือข่ายที่ทำงานเรื่องนี้ิ ให้สามารถขับเคลื่อนงาน และมีความมั่นคงในการทำ เกษตรอินทรีย์ การทำข้าวอินทรีย์ ให้มีความทัดเทียม มีมาตรฐาน สร้างการยอมรับได้มากขึ้นในวงกว้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ความสำคัญว่า คุณก็ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาโลก รักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ชีวิตโดยภาพรวมดีขึ้น โลกเราก็น่าอยู่ขึ้น มีความรักที่ยั่งยืนตอบสนองซึ่งกันและกัน"
.
มาส่งมอบความรัก เพื่อปกป้องความยั่งยืนไปด้วยกัน
เทศกาลข้าวใหม่ 2567: ‘ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์)
วันที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลา 9.00 – 16.30 น.
ณ สวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ไทรม้า นนทบุรี
หลังจากทีมงานเทศกาลข้าวใหม่ 2567 : ‘ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์) มีโอกาสได้พูดคุย ตั้งคำถามแบบล้วงลึกกับชาวนา นักแปรรูป และผู้บริโภคถึงมุมมองความรัก(ษ์)ที่มีต่อข้าวมาแล้ว แต่ยังมีกลุ่มคนอีกกลุ่มที่เราคิดว่ามีความสำคัญ มีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนงานเรื่องข้าวพื้นบ้าน ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเข้มแข็งของเกษตรรายย่อย สร้างสังคมการบริโภคแบบยั่งยืน เป็นพลังทางสังคมแบบเกื้อกูลระบบอาหารที่ยั่งยืนให้เกิดขึ้น นั่นคือ “กลุ่มคนทำงานสนับสนุน” “กลุ่มคนทำงานส่งเสริม” องค์กรชาวนา และเกษตรกรรายย่อย นั่นเอง
เทศกาลข้าวใหม่ปีนี้ เรามีโอกาสได้จับมือทำงานกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF ประเทศไทย) ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองข้าวใหม่ เพื่อชวนคนเมืองมาทำความรู้จักข้าวแบบลึกซึ้ง ผ่านมุมมองความรักและการอนุรักษ์ของคนปลูกข้าว สู่คนกินข้าวแบบชิดใกล้ มาถึงตรงนี้ผู้อ่านอาจจะเริ่มสงสัยว่า องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล เกี่ยวข้องอย่างไรกับชาวนา? หรือการอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้าน? อย่าเก็บความสงสัยเอาไว้ ชวนร่วมหาคำตอบไปพร้อมกับเรา
.
>>ช่วยอธิบายประเด็นงาน หรือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับชาวนา ทำอะไรบ้าง มีพื้นที่การทำงานอยู่ที่ไหนบ้าง
"จริง ๆ WWF โดยภาพรวมเราไม่ได้ทำงานโดยตรงกับชาวนา หรือทำงานกับชาวนาเป็นหลัก แต่ว่าเราพยายามจะทำเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีความสอดคล้องหรือไปเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน เพราะเราเชื่อว่า ทั้งสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และความเป็นอยู่ของคนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน”
ดังนั้น เราก็มีการดำเนินงานอยู่ 2 โครงการ ที่พูดได้ว่าเข้าไปมีส่วนสนับสนุนและผลักดันในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หันมาให้ความสนใจ และสนับสนุนเรื่องการจัดการพื้นที่ทำการเกษตร โดยเน้นระบบวนเกษตร ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน รวมถึงการปรับปรุงระบบการผลิตให้สอดคล้อง กับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
โครงการแรก คือ โครงการเสริมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำผ่านการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน โครงการนี้ มุ่งเน้นการทำงานเพื่อปรับปรุงระบบการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำในพื้นที่ที่มีการทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยว มาเป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงของระบบนิเวศ การฟื้นฟูสมรรถภาพของดิน และการเพาะปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกข้าว รวมถึงไม้ยืนต้น โดยทำงานร่วมกับเกษตรกรในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดน่าน และเครือข่ายอีกหลายพื้นที่ รวมถึงทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมป่าไม้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มธุรกิจที่ทำเรื่องการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน แล้วก็ทำงานร่วมกับมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย)ด้วย เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น
“เรามองว่า การที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจและเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ิ อาจจะต้องเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหา ต้องสื่อสารให้ตรงกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจะได้ตอบสนองได้อย่างตรงจุด ตรงกับปัญหาและสาเหตุ ตรงความต้องการสำหรับกลุ่มที่สนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
.
โครงการที่สอง เราทำเกี่ยวกับการปรับปรุงและฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติให้เอื้อต่อระบบการผลิตแบบยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครพนม ซึ่งสองพื้นที่นี้มีความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วมและภัยแล้ง ซึ่งเป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ แต่พอช่วงหลัง ๆ มันมีความเปลี่ยนแปลงหลายเรื่อง ทั้งเรื่องสภาพภูมิอากาศที่ เปลี่ยนแปลงจากภาวะโลกร้อน และจากโครงสร้างพื้นฐานที่อาจจะไม่ได้มีการบริหารจัดการที่ดี หรือมีการควบคุมที่ดี ทำให้การเปลี่ยนแปลงของระบบน้ำแบบฉับพลัน ซึ่งทาง WWF ได้ทำงานร่วม กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ กรมชลประทาน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และชุมชน ให้การสนับสนุนทั้งเครื่องมือ เทคโนโลยี ส่งเสริมการแปรรูป และวางรากฐานเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร ลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ พร้อมกับการจัดการอย่างเป็นระบบในระบบอุทกศาสตร์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
.
ในขณะเดียวกันก็มีการทำงานร่วมกับอีกหลายภาคส่วน ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ต่าง ๆ เช่น เทศกาลข้าวใหม่ที่จัดขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของโครงการด้วย
>>ถ้าพูดถึงข้าวกับความรัก รักษา หรืออนุรักษ์ ประสบการณ์จากการทำงาน มีความรักเกิดขึ้นตรงไหนบ้าง กับใครหรือสิ่งใดบ้าง อย่างไร
"ข้าวมันเป็นมากกว่าการค้าขาย มันเป็นเรื่องของวัฒนธรรม มันเป็นเรื่องของ ความมั่นคงทางอาหาร ข้าวกับปลา สมัยก่อนเขาใช้เพื่อการแลกเปลี่ยน เป็นความมั่งคั่งและมั่นคง”
แม้ปัจจุบันเกษตรกรหลายคนที่้เป็นหนี้ แต่ก็ยังมีข้าว เขาก็ยังมีความพอใจและภูมิใจ เพราะว่ายังมี ความมั่นคงทางอาหาร การทำนา การปลูกข้าวมันเป็นความพอใจ เป็นจารีต เป็นวัฒนธรรมที่เขาทำแล้วเขามีความสุข โดยเฉพาะที่ในส่วนที่เขาทำเพื่อบริโภค จะเห็นได้ว่าเขาใส่ใจในการทำนา ทำด้วยความประณีต เป็นวิถีวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนแรงงาน ในอดีตการทำนามันช่วยให้ สังคมมีความเป็นสังคม มีความเป็นพี่เป็นน้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ว่าในปัจจุบันที่ชาวนาเปลี่ยนเป็นผู้จัดการนาและผู้รับจ้าง แต่ถึงกระนั้นเองมันก็ยังมีมิติความสัมพันธ์ตรงนี้ให้เห็น
ถ้าพูดถึงเรื่องความรัก นาก็เปรียบเสมือนซูเปอร์มาร์เก็ตของหมู่บ้าน เป็นตู้กับข้าวของหมู่บ้าน มันสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่าถึงไม่มีเงิน ก็สามารถเกิดความมั่นคงในชีวิต สามารถยืนอยู่ได้ ผมไม่ค่อยเห็นคนในชนบทหรือคนที่อยู่นอกเมืองในประเทศไทยอดอาหารแล้วเสียชีวิต ซึ่งต่างจากในต่างประเทศ ที่ไม่มีอาหารกินแล้วอดอาหารถึงขั้นเสียชีวิต
ส่วนใหญ่ถ้าเราพูดถึงการแบ่งปัน เราก็จะคิดถึงข้าวเป็นอันดับแรก ทักทายกันว่า กินข้าวมารึยัง? หรือใส่บาตรก็ต้องใส่ข้าวหรือข้าวเหนียว เพราะฉะนั้น ข้าวมันบูรณาการเข้าไปในวิถีชีวิต ในความรัก ความห่วงใยของผู้คนในสังคมอยู่แล้ว นั่นคือหัวใจสำคัญที่ทำให้ ทำไมข้าว ยังเป็นสิ่งที่ยังจำเป็น และยังต้องผลิต โดยเฉพาะข้าวที่มีกระบวนการทำแบบประณีต ทำแบบอินทรีย์ แบบปลอดสาร นั่นคือความรักที่คนอยากจะหันกลับมาทำให้กับตนเอง ให้กับชุมชน ให้กับสังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย"
>>มุมมองของคนทำงาน เมื่อพูดถึงสถานการณ์ความท้าทายเรื่องข้าวและชาวนามีอะไรบ้าง รุนแรงขนาดไหน หากไม่ได้รับการแก้ไข จะเกิดอะไรขึ้นกับชาวนา
"วิกฤติเรื่องการลดหายลงของสายพันธุ์ข้าวนี่เป็นเรื่องที่น่าห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่เป็นรายย่อย เพราะเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นมันมีความเสี่ยงต่อการเสียหายจากภัยธรรมชาติ แม้มันจะปรับตัวได้ดี มีความเหมาะสมกับพื้นที่ แต่การเข้ามาของการเปิดนโยบายต่าง ๆ เรื่องการจดทะเบียนต่าง ๆ มันมีความเปราะบาง ซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ด้วย
สิ่งที่สำคัญก็คือ ความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่เราจะได้บริโภคจะมีอยู่แค่ไม่กี่พันธุ์ และเกษตรกรรายย่อยที่มีข้อจำกัดในเรื่องการปรับปรุง หรืออยู่ในภูมินิเวศที่อาจจะไม่ได้ปรับตัวได้ง่าย เหมือนอยู่ในที่ลุ่มจะมีปัญหา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยซ้ำไป"
>>ใครบ้างที่ควรเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ และควรมีบทบาทอย่างไร
อันที่หนึ่ง ต้องเข้าใจว่ามันเป็นนโยบายที่ทุกส่วนต้องให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงก็คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องสิทธิที่ทำกิน ให้เขารู้สึกว่าเขามีความมั่นคงในพื้นที่ทำกิน
อันที่สอง เรื่องการสนับสนุนองค์ความรู้และเทคนิคการจัดการให้แก่เกษตรกรที่อยากปรับเปลี่ยน จากเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีเยอะ มาเป็นการทำนาข้าวอินทรีย์ รวมถึงส่งเสริมเรื่องการตลาด ที่ไม่ได้มุ่งเน้นเชิงปริมาณอย่างเดียว แต่เน้นการสร้าง value added ผสมผสานกับเรื่องสังคมวัฒนธรรม ซึ่งผมคิดว่ารัฐบาลยุคนี้เขาพูดเยอะมาก คือเรื่อง soft power
อันที่สาม ภาคเอกชนควรให้การสนับสนุนความหลากหลายของสายพันธุ์เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ผ่านการส่งเสริมการตลาด รวมถึงสื่อให้เห็นถึงคุณค่าของการทำนาข้าวอินทรีย์ มันช่วยเอื้อต่อการ ลดภาวะโลกร้อน การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนรวม รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและปรับเปลี่ยน พฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิต และมีผู้บริโภคที่มีความน่าสนใจอย่างมีนัยยะสำคัญ
ทั้งหมดเป็นการเชื่อมโยงเรื่องการทำระบบอินทรีย์กับความมั่นคงของระบบนิเวศ ที่เอื้อต่อประโยชน์ของสรรพสิ่งในสิ่งแวดล้อม ทั้งสัตว์และคน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้การผลิตนั้นมีความยั่งยืน ตอบสนองความเป็นอยู่ที่ดีของคน"
>>ฝากเชิญชวนผู้บริโภคให้มาสนับสนุนข้าวพื้นบ้าน มากินข้าวด้วยความรัก(ษ์)
"ผมเชื่อว่าทุกคน ถ้าเป็นไปได้ ถ้ามีทางเลือก ถ้ามีโอกาส เขาก็อยากจะสนับสนุนและก็อยากบริโภคสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่มันดีต่อชีวิตตัวเอง ทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม”
ถึงแม้ท่านจะไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง แต่ท่านสามารถสนับสนุน หรือส่งเสริมทางอ้อมให้กับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มเครือข่ายที่ทำงานเรื่องนี้ิ ให้สามารถขับเคลื่อนงาน และมีความมั่นคงในการทำ เกษตรอินทรีย์ การทำข้าวอินทรีย์ ให้มีความทัดเทียม มีมาตรฐาน สร้างการยอมรับได้มากขึ้นในวงกว้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ความสำคัญว่า คุณก็ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาโลก รักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ชีวิตโดยภาพรวมดีขึ้น โลกเราก็น่าอยู่ขึ้น มีความรักที่ยั่งยืนตอบสนองซึ่งกันและกัน"
.
มาส่งมอบความรัก เพื่อปกป้องความยั่งยืนไปด้วยกัน
เทศกาลข้าวใหม่ 2567: ‘ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์)
วันที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลา 9.00 – 16.30 น.
ณ สวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ไทรม้า นนทบุรี