The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์) - พี่ภา สุภา ใยเมือง
22 December 2023
ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ พี่ภา สุภา ใยเมือง ผู้อำนวยการมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ในโอกาสการจัดงานเทศกาลข้าวใหม่ 2567: ‘ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์) เทศกาลแห่งปีเพื่อการเฉลิมฉลองข้าวใหม่ร่วมกันของชาวนาและผู้บริโภคในพื้นที่เมือง ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ณ สวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ปะเทศไทย) ในวันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น.
คงเป็นเรื่องน่าแปลกมาก ถ้างานเทศกาลข้าวใหม่ปีนี้เราจะไม่ได้พูดคุยกับพี่สุภา พี่ใหญ่แห่งวงการเกษตรกรรมยั่งยืน และยังเป็นกำลังสำคัญในการร่วมฟื้นเทศกาลข้าวใหม่ ชูความหลากหลายพันธุ์ข้าวไทย ชูศักยภาพของข้าวพันธุ์ท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่เมือง นับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งในทุก ๆ ปี เมื่อเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวของชาวนาไล่เรียงจากพื้นที่เหนือสุดสู่ใต้สุดของประเทศ พี่สุภาก็จะเริ่มชวนเราเตรียมจัดงานเทศกาลข้าวใหม่ ซึ่งพี่สุภาพูดเสมอว่า “อยากให้มีการจัดเทศกาลข้าวใหม่ต่อเนื่องทุกปี เพราะเปรียบเสมือนการต้อนรับสิ่งใหม่ ที่นำมาซึ่งความปีติยินดี ความปรารถนาดีต่อกันของผู้คนในสังคม เทศกาลข้าวใหม่ นับเป็นกิจกรรมเล็กๆ ที่มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่”
ภาพชินตาที่เกิดขึ้นในทุกครั้งของเทศกาลข้าวใหม่ที่จัดขึ้น คือ ภาพพี่สุภาเดินหอบหิ้วข้าวใหม่จำนวนมากจากบูธของพี่น้องชาวนาที่มาร่วมงานในหลากหลายพื้นที่ และช่วงท้ายก่อนจบงานพี่สุภาก็จะเดินไปสอบถามพี่น้องทุกคนว่า ขายข้าวได้ไหม? เหลือเยอะไหม? และหากว่าเครือข่ายไหนขายข้าวไม่หมด หรือเหลือเยอะ พี่สุภาก็มักจะเดินมาชวนเราให้ช่วยหาวิธีช่วยอุดหนุนข้าวของพี่น้องเพิ่มขึ้น ไม่อยากให้พี่น้องต้องขนข้าวกลับ ทั้งซื้อข้าวไว้หุงกินกันที่สำนักงาน ทั้งรับซื้อข้าวที่เหลือไว้ช่วยขายในงานอื่น ๆ ที่จะจัดช่วงใกล้ ๆ นี้ ซึ่งเมื่อก่อนเราก็จะไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมต้องช่วยซื้อข้าวที่ขายไม่หมดไว้ด้วย แต่ถึงตอนนี้พอเราได้มานั่งทบทวนภาพชินตาที่เกิดขึ้นนั้น เราก็พบว่า สิ่งที่พี่สุภาทำนั้นคือ การให้กำลังใจพี่น้องชาวนา สิ่งเล็ก ๆ ที่คนกินข้าวจะช่วยส่งกำลังใจให้ชาวนามีความภูมิใจ หลังจากเหน็ดเหนื่อยตลอดฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา
ชวนไปสัมผัสมุมมองความรักที่มีต่อข้าวและชาวนาของพี่สุภา คนที่เราเชื่อว่าเกือบทั้งชีวิตของพี่สุภานั้นเป็นการทำงานเพื่อข้าวและชาวนาอย่างแท้จริง
.
>>ช่วยอธิบายประเด็นงาน หรือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับชาวนา ทำอะไรบ้าง มีพื้นที่การทำงานอยู่ที่ไหนบ้าง
"มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน จริง ๆ เราทำงานกับเกษตรกรรายย่อยอยู่แล้ว ทั้งชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน แต่ว่าเบื้องต้นต้องมีชาวนา และก็ทำงานเรื่องข้าวมายาวนานในทุกภูมิภาค แต่อาจจะไม่ได้ทุกจังหวัด เพราะว่าทำร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก โดยส่วนใหญ่ของเกษตรกรในประเทศไทยก็คือปลูกข้าว เมื่อไปถึงพื้นที่หรือว่าไปถึงชุมชน เราก็เรียนรู้เรื่องปัญหาของชาวนา ปัญหาของเกษตรกรรายย่อย และข้าวเป็นเศรษฐกิจของเขาด้วย แต่มันไม่ได้เป็นเศรษฐกิจอย่างเดียว มันเป็นเรื่องวิถีของชาวนาด้วย
เพราะว่ามูลนิธิฯ ทำเรื่องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระบบเกษตร จากการใช้สารเคมีไปสู่การไม่ใช้สารเคมี แล้วตอนนี้ก็ทำเรื่องเกษตรนิเวศ เราคิดว่า ข้าวมันมีบทบาทสำคัญ เรื่องพันธุ์ข้าวก็มีบทบาทสำคัญ ด้วย เพราะฉะนั้นเราก็เลยทำงานกับชาวนา ทั้งเรื่องการสนับสนุนที่จะให้ชาวนามีสายพันธุ์ข้าวของตัวเอง รวมทั้งเรื่องการพัฒนาระบบการปลูกข้าวไปสู่ข้าวอินทรีย์ หรือข้าวในระบบ เกษตรนิเวศในปัจจุบัน ทำเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าว เพื่อลดความเสี่ยง ทั้งหลาย และเราก็สนับสนุนให้เกิดห่วงโซ่ตั้งแต่การผลิต แปรรูป และตลาด"
.
>>ถ้าพูดถึงข้าวกับความรัก รักษา หรืออนุรักษ์ ประสบการณ์จากการทำงาน มีความรักเกิดขึ้น ตรงไหนบ้าง กับใครหรือสิ่งใดบ้าง อย่างไร
"พี่คิดว่าเวลาเราเจอข้าวที่ชาวนาทำโดยไม่ใช้สารเคมี แล้วก็มีความหลากหลายของสายพันธุ์ มันก็เป็น เสน่ห์อย่างหนึ่งนะ แล้วมันก็เปลี่ยนวิถีการกินของพี่ไปด้วย คือ จากเดิมที่กินข้าวโดยไม่สนใจว่ามัน จะเป็นข้าวสายพันธุ์ไหน ก็เปลี่ยนมาดูข้อมูลมากขึ้นว่า สายพันธุ์นี้มันข้าวอะไร เราชอบไม่ชอบ อันไหนดี อันไหนถูกกับตัวเราเอง เพราะว่าที่บ้านก็จะมีข้าวหลากหลายสายพันธุ์มาก สิบสายพันธุ์ได้ที่ทานอยู่ ตั้งแต่ข้าวบนที่สูง ข้าวไร่ ข้าวนา ข้าวในภูมิภาคต่างๆ แล้วเราก็สามารถมาผสมพันธุ์ข้าวในหม้อหุงข้าว เราได้ มันทำให้เรามีความสุขที่เราเรามีข้าวหลากหลายไว้กิน
แต่ว่าสิ่งที่เห็นว่าเกิดขึ้นกับชาวนาก็คือว่า ชาวนาเขาพยายามพัฒนาตัวเองในด้านศักยภาพ เรื่องการ ปรับปรุงพันธุ์ก็ดี หรือการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต ทำให้ข้าวมันเป็นข้าวอินทรีย์มากขึ้น เห็นความพยายามของชาวนาที่จะผลิตข้าวที่มีคุณภาพทั้งให้ตัวเขาเองและให้กับผู้บริโภค หรือบางทีเขา ก็ค่อนข้างใส่ใจกับผู้บริโภคที่สนับสนุนเขา พี่ว่ามันเหมือนกับเห็นความสัมพันธ์ แล้วก็เห็นว่าเขาไม่ใช่ จะค้าข้าวอย่างเดียว แต่สามารถจะอธิบายและก็ให้ความรู้กับผู้บริโภคได้ด้วย
แต่ที่รู้สึกมากก็คือปีที่แล้ว ที่พื้นที่ราษีไศลน้ำท่วม มีชาวนาบอกว่า จวนจะเกี่ยวข้าวแล้ว เห็นรวงข้าวชูสวยงามมาก และกะว่าอีกไม่กี่วันจะเกี่ยวอยู่แล้ว แต่พอน้ำท่วมมา ชาวนารู้สึก ว่ามันไม่มีศักดิ์ศรีมาก ๆ เหมือนกับว่าเป็นชาวนาแท้ ๆ แต่ไม่มีข้าวกินเลยในช่วงนั้น พอฟังแล้วเรารู้สึกว่า โอ้โห ความผูกพันของชาวนากับข้าวมันลึกซึ้งกว่าที่เราคิด
เพราะว่าชาวนาคนนั้นก็ไม่ได้คิดเรื่องว่าจะเอาไปขายนะ คิดเรื่องกินก่อนเลย แต่พอไม่มีข้าวกินแล้ว จะทำยังไง ชุมชนเองก็ไม่มีสำหรับข้าวกินกันเลยช่วงนั้น แต่เขาก็ลุกขึ้นมาเรียนรู้ กำหนดแนวทางร่วมกันใหม่ว่า เขาจะสร้างกองทุนเมล็ดพันธุ์ เขาจะช่วยเหลือกันเองยังไง ถ้าปีนี้เขาได้รับบริจาคมาแล้ว ครั้งหน้าเขาจะไม่รับอีก เขาต้องสร้างตัวเองให้ได้ พึ่งตัวเองให้ได้ด้านเมล็ดพันธุ์
อันนี้ทำให้พี่รู้สึกว่า สิ่งที่หลายคนอาจจะมองชาวนาเป็นปัญหามากกว่าจะรู้สึกว่าชาวนาผลิต อาหารให้กิน แต่สิ่งที่เจอ เหมือนเราเห็นความพยายามของชาวนาที่จะลุกขึ้นมา แม้มันจะไม่ใช่ ทุกคนนะ แต่เราเห็นว่ามันมี และมันไม่ได้มีที่เดียว หลายกลุ่มเขาพยายามที่จะช่วยตัวเองมากขึ้น ในขณะที่เขาไม่ได้ร่ำรวย และเขาต้องดิ้นรน
พี่คิดว่า เวลาเราพูดเรื่องข้าว มันมีชีวิตคนอยู่เบื้องหลังของคำว่าข้าวเต็มไปหมด มันก็เลย เหมือนกับว่ามีความผูกพันอยู่กับชาวนา และชาวไร่ ชาวสวนที่เราทำงานด้วย เพราะแต่ละ กลุ่มก็จะมีภูมิปัญญา มีความคิดความอ่าน ความรู้สึกที่คล้ายคลึงกันในแง่ของการรักใน สิ่งที่ตัวเองทำ"
>>มุมมองของคนทำงาน เมื่อพูดถึงสถานการณ์ความท้าทายเรื่องข้าวและชาวนามีอะไรบ้าง รุนแรงขนาดไหน หากไม่ได้รับการแก้ไข จะเกิดอะไรขึ้นกับชาวนา
"อาจจะมีหลายเรื่อง ทั้งโครงสร้างเศรษฐกิจที่มันไม่เอื้อ อาจจะต้องแก้ปัญหาเร่งด่วน เพราะถ้ายังเป็น อย่างนี้อยู่ต่อไป แรงจูงใจในการปลูกข้าวมันอาจจะลดลง ในขณะที่ต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย อีกเรื่องหนึ่งก็คือ พฤติกรรมการบริโภคก็เปลี่ยนแปลงไป ชาวนาเองก็ต้อง มาคิดว่าตัวเองจะปรับตัวยังไง ชาวนาต้องเผชิญภาวะหลายด้านที่มันเปลี่ยนแปลงไป มันพูดด้านใด ด้านหนึ่งไม่ได้ มันเปลี่ยนทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านนิเวศ ภูมิอากาศ ทั้งเรื่องสังคม ความนิยมชมชอบ พฤติกรรม ทัศนคติ เพราะฉะนั้นเวลาแก้ปัญหา ก็แก้เพียงด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ อาจจะต้องแก้ปัญหา หลายเรื่องหลายด้านพร้อม ๆ กัน
อย่างเช่น ช่วงที่ราคาข้าวมันตกต่ำมาก พี่เห็นชาวนาหลายพื้นที่เขาปรับตัวกันหลากหลายมากขึ้น นอกจากปลูกข้าว ก็ปลูกผักด้วย ปลูกไม้ผลด้วย หรือว่าเอาที่ดินไปเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น คือเราจะเห็นอาการ แบบนี้เมื่อข้าวมันราคาไม่ดี
พอมาเจอการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ถ้ายังเป็นอย่างนี้อยู่ต่อไป แล้วไม่แก้ มันก็จะยิ่งไปซ้ำเติมชาวนา บวกกับการที่คนกินข้าวลดลง ชาวนาก็อาจจะพูดถึงว่า จริงๆ แล้วโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ชาวนา เขาอยู่ภายใต้โครงสร้างแบบเดียว คือ ถูกกำหนดโดยตลาดโลกก็ดีหรือตลาดหลักก็ดี ถ้าหากว่ามันมี การช่วยกันในกลุ่มผู้บริโภค หมายถึงว่า เข้าใจว่าสิ่งที่ชาวนาทำอยู่ ว่าเป็นการผลิตข้าวที่มีคุณภาพ ราคาข้าวอินทรีย์มันอาจจะสูงกว่าราคาข้าวในตลาด ถ้าเราไม่ถึงขั้นมีปัญหาด้านการเงิน ก็อาจจะสนับสนุนเพื่อให้ชาวนาอยู่ได้ เพราะการผลิตอาหารที่ดี ไม่ใช่แค่เรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพหรืออาหารปลอดภัยอย่างเดียวนะ มันรวมไปถึงการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม และมันก็ช่วยเรื่องการลดภาวะที่จะส่งผล ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปด้วย"
>>ใครบ้างที่ควรเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ และควรมีบทบาทอย่างไร
"จริงๆ คนที่ต้องมีบทบาทหลักเลยก็คือรัฐบาล ทีนี้เวลาแก้ปัญหามันไม่ได้แก้ปัญหาแบบเรื่องเดียว มันต้องดูปัญหาที่ล้อมรอบตัวชาวนาอยู่ รัฐในฐานะที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย อาจจะต้องมีนโยบาย มีการพัฒนาโครงสร้างที่ช่วยสนับสนุนชาวนาให้เขามีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งในด้านการผลิตและด้านตลาด
สถาบันวิชาการอาจจะช่วยพัฒนาความรู้ ซึ่งมันมีความต้องการมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะว่าพอมีเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบนี้ ชาวนาก็ต้องการความรู้ใหม่บวกกับภูมิปัญญาเดิม ตอนนี้มูลนิธิฯเอง ก็ประสานนักวิชาการหลายคนที่มีความเชี่ยวชาญหลายด้านเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเชี่ยวชาญเรื่องข้าวนา ข้าวไร่ หรือระบบนิเวศเกษตร เข้ามาช่วยให้การพัฒนาหรือการปรับตัวของชาวนาให้เป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
แล้วทั้งหมดนี้มันจำเป็นต้องให้ชาวนามีส่วนร่วม ให้เขาเป็นตัวตั้งโจทย์ และให้เขามีส่วนร่วมในการหา คำตอบ หรือว่าคิดนโยบายร่วมกัน รวมทั้งอาจจะต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและชุมชนมีสิทธิ์มากขึ้น
ส่วนผู้บริโภคอาจจะต้องทำความเข้าใจชาวนามากกว่าเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร อาจจะ ต้องเข้าใจมากขึ้นว่า การผลิตของชาวนาตอนนี้มีปัญหาอะไรบ้าง แล้วในฐานะคนเล็กคนน้อย ด้วยกันจะมีส่วนร่วมกับชาวนาได้ยังไง ถ้าคนเล็กคนน้อยเอาใจใส่ต่อกัน อย่างน้อยก็เป็นกำลังใจ แล้วก็สนับสนุนให้เขาอยู่ได้ หรือช่วยอธิบายคนอื่นที่ยังไม่เข้าใจ ให้เข้าใจมากขึ้น เป็นปากเป็นเสียงให้กับชาวนาด้วยก็เป็นเรื่องที่ยิ่งดีใหญ่"
>>ฝากเชิญชวนผู้บริโภคให้มาสนับสนุนข้าวพื้นบ้าน มากินข้าวด้วยความรัก(ษ์)
"จริงๆ งานเทศกาลข้าวใหม่เป็นงานที่ตั้งใจจะเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคกับการสนับสนุนชาวนา อยากจะเชื่อมโยงความรู้ อยากจะเชื่อมโยงความเข้าใจระหว่างกัน ความรู้ก็คือ ให้รู้ว่ามันมีข้าว อีกหลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่มีคุณภาพและอาจจะถูกปาก คือการกิน ข้าวของแต่ละคน อาจจะมีความชอบไม่เหมือนกัน มันก็มีหลากหลายให้สามารถเลือกได้
งานนี้ก็เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้เข้ามาชิมดูว่า มันยังมีข้าวอีกหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้าที่ยังมีอยู่ในประเทศไทย และอันนี้ก็เป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของทุกคนด้วย ก็อยากให้มาเรียนรู้ร่วมกัน แล้วก็มาเรียนรู้จากชาวนาด้วยกัน
นอกจากจะมาเรียนรู้เรื่องข้าวว่า ข้าวสายพันธุ์ไหนมีรสชาติยังไง เหมาะกับการแปรรูปหรือเหมาะกับ การไปทำอะไรบ้าง ก็อาจจะมาช่วยชาวนาสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยก็ได้ เพราะว่าผู้บริโภคหลายคนก็มีความรู้ เมื่อมารับรู้เพิ่มเติมมากขึ้น ก็อาจจะได้แลกเปลี่ยนแบ่งปันกับชาวนาได้ด้วย"
.
ชวนมาเป็นครอบครัวเดียวกัน ชวนมากินข้าวหลากหลายสายพันธุ์ สนับสนุนชาวนาอย่างเข้าใจ เพราะเขาคือผู้สร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของเราทุกคน
.
ในงานเทศกาลข้าวใหม่ 2567: ‘ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์)
วันที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลา 9.00 – 16.30 น.
ณ สวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ไทรม้า นนทบุรี
.
ขอบคุณผู้สัมภาษณ์ ใหม่ นันทนิตย์ อนุศาสนะนันทน์ เจ้าของเพจ ว่าง space & anything
คงเป็นเรื่องน่าแปลกมาก ถ้างานเทศกาลข้าวใหม่ปีนี้เราจะไม่ได้พูดคุยกับพี่สุภา พี่ใหญ่แห่งวงการเกษตรกรรมยั่งยืน และยังเป็นกำลังสำคัญในการร่วมฟื้นเทศกาลข้าวใหม่ ชูความหลากหลายพันธุ์ข้าวไทย ชูศักยภาพของข้าวพันธุ์ท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่เมือง นับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งในทุก ๆ ปี เมื่อเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวของชาวนาไล่เรียงจากพื้นที่เหนือสุดสู่ใต้สุดของประเทศ พี่สุภาก็จะเริ่มชวนเราเตรียมจัดงานเทศกาลข้าวใหม่ ซึ่งพี่สุภาพูดเสมอว่า “อยากให้มีการจัดเทศกาลข้าวใหม่ต่อเนื่องทุกปี เพราะเปรียบเสมือนการต้อนรับสิ่งใหม่ ที่นำมาซึ่งความปีติยินดี ความปรารถนาดีต่อกันของผู้คนในสังคม เทศกาลข้าวใหม่ นับเป็นกิจกรรมเล็กๆ ที่มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่”
ภาพชินตาที่เกิดขึ้นในทุกครั้งของเทศกาลข้าวใหม่ที่จัดขึ้น คือ ภาพพี่สุภาเดินหอบหิ้วข้าวใหม่จำนวนมากจากบูธของพี่น้องชาวนาที่มาร่วมงานในหลากหลายพื้นที่ และช่วงท้ายก่อนจบงานพี่สุภาก็จะเดินไปสอบถามพี่น้องทุกคนว่า ขายข้าวได้ไหม? เหลือเยอะไหม? และหากว่าเครือข่ายไหนขายข้าวไม่หมด หรือเหลือเยอะ พี่สุภาก็มักจะเดินมาชวนเราให้ช่วยหาวิธีช่วยอุดหนุนข้าวของพี่น้องเพิ่มขึ้น ไม่อยากให้พี่น้องต้องขนข้าวกลับ ทั้งซื้อข้าวไว้หุงกินกันที่สำนักงาน ทั้งรับซื้อข้าวที่เหลือไว้ช่วยขายในงานอื่น ๆ ที่จะจัดช่วงใกล้ ๆ นี้ ซึ่งเมื่อก่อนเราก็จะไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมต้องช่วยซื้อข้าวที่ขายไม่หมดไว้ด้วย แต่ถึงตอนนี้พอเราได้มานั่งทบทวนภาพชินตาที่เกิดขึ้นนั้น เราก็พบว่า สิ่งที่พี่สุภาทำนั้นคือ การให้กำลังใจพี่น้องชาวนา สิ่งเล็ก ๆ ที่คนกินข้าวจะช่วยส่งกำลังใจให้ชาวนามีความภูมิใจ หลังจากเหน็ดเหนื่อยตลอดฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา
ชวนไปสัมผัสมุมมองความรักที่มีต่อข้าวและชาวนาของพี่สุภา คนที่เราเชื่อว่าเกือบทั้งชีวิตของพี่สุภานั้นเป็นการทำงานเพื่อข้าวและชาวนาอย่างแท้จริง
.
>>ช่วยอธิบายประเด็นงาน หรือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับชาวนา ทำอะไรบ้าง มีพื้นที่การทำงานอยู่ที่ไหนบ้าง
"มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน จริง ๆ เราทำงานกับเกษตรกรรายย่อยอยู่แล้ว ทั้งชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน แต่ว่าเบื้องต้นต้องมีชาวนา และก็ทำงานเรื่องข้าวมายาวนานในทุกภูมิภาค แต่อาจจะไม่ได้ทุกจังหวัด เพราะว่าทำร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก โดยส่วนใหญ่ของเกษตรกรในประเทศไทยก็คือปลูกข้าว เมื่อไปถึงพื้นที่หรือว่าไปถึงชุมชน เราก็เรียนรู้เรื่องปัญหาของชาวนา ปัญหาของเกษตรกรรายย่อย และข้าวเป็นเศรษฐกิจของเขาด้วย แต่มันไม่ได้เป็นเศรษฐกิจอย่างเดียว มันเป็นเรื่องวิถีของชาวนาด้วย
เพราะว่ามูลนิธิฯ ทำเรื่องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระบบเกษตร จากการใช้สารเคมีไปสู่การไม่ใช้สารเคมี แล้วตอนนี้ก็ทำเรื่องเกษตรนิเวศ เราคิดว่า ข้าวมันมีบทบาทสำคัญ เรื่องพันธุ์ข้าวก็มีบทบาทสำคัญ ด้วย เพราะฉะนั้นเราก็เลยทำงานกับชาวนา ทั้งเรื่องการสนับสนุนที่จะให้ชาวนามีสายพันธุ์ข้าวของตัวเอง รวมทั้งเรื่องการพัฒนาระบบการปลูกข้าวไปสู่ข้าวอินทรีย์ หรือข้าวในระบบ เกษตรนิเวศในปัจจุบัน ทำเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าว เพื่อลดความเสี่ยง ทั้งหลาย และเราก็สนับสนุนให้เกิดห่วงโซ่ตั้งแต่การผลิต แปรรูป และตลาด"
.
>>ถ้าพูดถึงข้าวกับความรัก รักษา หรืออนุรักษ์ ประสบการณ์จากการทำงาน มีความรักเกิดขึ้น ตรงไหนบ้าง กับใครหรือสิ่งใดบ้าง อย่างไร
"พี่คิดว่าเวลาเราเจอข้าวที่ชาวนาทำโดยไม่ใช้สารเคมี แล้วก็มีความหลากหลายของสายพันธุ์ มันก็เป็น เสน่ห์อย่างหนึ่งนะ แล้วมันก็เปลี่ยนวิถีการกินของพี่ไปด้วย คือ จากเดิมที่กินข้าวโดยไม่สนใจว่ามัน จะเป็นข้าวสายพันธุ์ไหน ก็เปลี่ยนมาดูข้อมูลมากขึ้นว่า สายพันธุ์นี้มันข้าวอะไร เราชอบไม่ชอบ อันไหนดี อันไหนถูกกับตัวเราเอง เพราะว่าที่บ้านก็จะมีข้าวหลากหลายสายพันธุ์มาก สิบสายพันธุ์ได้ที่ทานอยู่ ตั้งแต่ข้าวบนที่สูง ข้าวไร่ ข้าวนา ข้าวในภูมิภาคต่างๆ แล้วเราก็สามารถมาผสมพันธุ์ข้าวในหม้อหุงข้าว เราได้ มันทำให้เรามีความสุขที่เราเรามีข้าวหลากหลายไว้กิน
แต่ว่าสิ่งที่เห็นว่าเกิดขึ้นกับชาวนาก็คือว่า ชาวนาเขาพยายามพัฒนาตัวเองในด้านศักยภาพ เรื่องการ ปรับปรุงพันธุ์ก็ดี หรือการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต ทำให้ข้าวมันเป็นข้าวอินทรีย์มากขึ้น เห็นความพยายามของชาวนาที่จะผลิตข้าวที่มีคุณภาพทั้งให้ตัวเขาเองและให้กับผู้บริโภค หรือบางทีเขา ก็ค่อนข้างใส่ใจกับผู้บริโภคที่สนับสนุนเขา พี่ว่ามันเหมือนกับเห็นความสัมพันธ์ แล้วก็เห็นว่าเขาไม่ใช่ จะค้าข้าวอย่างเดียว แต่สามารถจะอธิบายและก็ให้ความรู้กับผู้บริโภคได้ด้วย
แต่ที่รู้สึกมากก็คือปีที่แล้ว ที่พื้นที่ราษีไศลน้ำท่วม มีชาวนาบอกว่า จวนจะเกี่ยวข้าวแล้ว เห็นรวงข้าวชูสวยงามมาก และกะว่าอีกไม่กี่วันจะเกี่ยวอยู่แล้ว แต่พอน้ำท่วมมา ชาวนารู้สึก ว่ามันไม่มีศักดิ์ศรีมาก ๆ เหมือนกับว่าเป็นชาวนาแท้ ๆ แต่ไม่มีข้าวกินเลยในช่วงนั้น พอฟังแล้วเรารู้สึกว่า โอ้โห ความผูกพันของชาวนากับข้าวมันลึกซึ้งกว่าที่เราคิด
เพราะว่าชาวนาคนนั้นก็ไม่ได้คิดเรื่องว่าจะเอาไปขายนะ คิดเรื่องกินก่อนเลย แต่พอไม่มีข้าวกินแล้ว จะทำยังไง ชุมชนเองก็ไม่มีสำหรับข้าวกินกันเลยช่วงนั้น แต่เขาก็ลุกขึ้นมาเรียนรู้ กำหนดแนวทางร่วมกันใหม่ว่า เขาจะสร้างกองทุนเมล็ดพันธุ์ เขาจะช่วยเหลือกันเองยังไง ถ้าปีนี้เขาได้รับบริจาคมาแล้ว ครั้งหน้าเขาจะไม่รับอีก เขาต้องสร้างตัวเองให้ได้ พึ่งตัวเองให้ได้ด้านเมล็ดพันธุ์
อันนี้ทำให้พี่รู้สึกว่า สิ่งที่หลายคนอาจจะมองชาวนาเป็นปัญหามากกว่าจะรู้สึกว่าชาวนาผลิต อาหารให้กิน แต่สิ่งที่เจอ เหมือนเราเห็นความพยายามของชาวนาที่จะลุกขึ้นมา แม้มันจะไม่ใช่ ทุกคนนะ แต่เราเห็นว่ามันมี และมันไม่ได้มีที่เดียว หลายกลุ่มเขาพยายามที่จะช่วยตัวเองมากขึ้น ในขณะที่เขาไม่ได้ร่ำรวย และเขาต้องดิ้นรน
พี่คิดว่า เวลาเราพูดเรื่องข้าว มันมีชีวิตคนอยู่เบื้องหลังของคำว่าข้าวเต็มไปหมด มันก็เลย เหมือนกับว่ามีความผูกพันอยู่กับชาวนา และชาวไร่ ชาวสวนที่เราทำงานด้วย เพราะแต่ละ กลุ่มก็จะมีภูมิปัญญา มีความคิดความอ่าน ความรู้สึกที่คล้ายคลึงกันในแง่ของการรักใน สิ่งที่ตัวเองทำ"
>>มุมมองของคนทำงาน เมื่อพูดถึงสถานการณ์ความท้าทายเรื่องข้าวและชาวนามีอะไรบ้าง รุนแรงขนาดไหน หากไม่ได้รับการแก้ไข จะเกิดอะไรขึ้นกับชาวนา
"อาจจะมีหลายเรื่อง ทั้งโครงสร้างเศรษฐกิจที่มันไม่เอื้อ อาจจะต้องแก้ปัญหาเร่งด่วน เพราะถ้ายังเป็น อย่างนี้อยู่ต่อไป แรงจูงใจในการปลูกข้าวมันอาจจะลดลง ในขณะที่ต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย อีกเรื่องหนึ่งก็คือ พฤติกรรมการบริโภคก็เปลี่ยนแปลงไป ชาวนาเองก็ต้อง มาคิดว่าตัวเองจะปรับตัวยังไง ชาวนาต้องเผชิญภาวะหลายด้านที่มันเปลี่ยนแปลงไป มันพูดด้านใด ด้านหนึ่งไม่ได้ มันเปลี่ยนทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านนิเวศ ภูมิอากาศ ทั้งเรื่องสังคม ความนิยมชมชอบ พฤติกรรม ทัศนคติ เพราะฉะนั้นเวลาแก้ปัญหา ก็แก้เพียงด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ อาจจะต้องแก้ปัญหา หลายเรื่องหลายด้านพร้อม ๆ กัน
อย่างเช่น ช่วงที่ราคาข้าวมันตกต่ำมาก พี่เห็นชาวนาหลายพื้นที่เขาปรับตัวกันหลากหลายมากขึ้น นอกจากปลูกข้าว ก็ปลูกผักด้วย ปลูกไม้ผลด้วย หรือว่าเอาที่ดินไปเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น คือเราจะเห็นอาการ แบบนี้เมื่อข้าวมันราคาไม่ดี
พอมาเจอการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ถ้ายังเป็นอย่างนี้อยู่ต่อไป แล้วไม่แก้ มันก็จะยิ่งไปซ้ำเติมชาวนา บวกกับการที่คนกินข้าวลดลง ชาวนาก็อาจจะพูดถึงว่า จริงๆ แล้วโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ชาวนา เขาอยู่ภายใต้โครงสร้างแบบเดียว คือ ถูกกำหนดโดยตลาดโลกก็ดีหรือตลาดหลักก็ดี ถ้าหากว่ามันมี การช่วยกันในกลุ่มผู้บริโภค หมายถึงว่า เข้าใจว่าสิ่งที่ชาวนาทำอยู่ ว่าเป็นการผลิตข้าวที่มีคุณภาพ ราคาข้าวอินทรีย์มันอาจจะสูงกว่าราคาข้าวในตลาด ถ้าเราไม่ถึงขั้นมีปัญหาด้านการเงิน ก็อาจจะสนับสนุนเพื่อให้ชาวนาอยู่ได้ เพราะการผลิตอาหารที่ดี ไม่ใช่แค่เรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพหรืออาหารปลอดภัยอย่างเดียวนะ มันรวมไปถึงการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม และมันก็ช่วยเรื่องการลดภาวะที่จะส่งผล ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปด้วย"
>>ใครบ้างที่ควรเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหานี้ และควรมีบทบาทอย่างไร
"จริงๆ คนที่ต้องมีบทบาทหลักเลยก็คือรัฐบาล ทีนี้เวลาแก้ปัญหามันไม่ได้แก้ปัญหาแบบเรื่องเดียว มันต้องดูปัญหาที่ล้อมรอบตัวชาวนาอยู่ รัฐในฐานะที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย อาจจะต้องมีนโยบาย มีการพัฒนาโครงสร้างที่ช่วยสนับสนุนชาวนาให้เขามีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งในด้านการผลิตและด้านตลาด
สถาบันวิชาการอาจจะช่วยพัฒนาความรู้ ซึ่งมันมีความต้องการมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะว่าพอมีเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบนี้ ชาวนาก็ต้องการความรู้ใหม่บวกกับภูมิปัญญาเดิม ตอนนี้มูลนิธิฯเอง ก็ประสานนักวิชาการหลายคนที่มีความเชี่ยวชาญหลายด้านเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเชี่ยวชาญเรื่องข้าวนา ข้าวไร่ หรือระบบนิเวศเกษตร เข้ามาช่วยให้การพัฒนาหรือการปรับตัวของชาวนาให้เป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
แล้วทั้งหมดนี้มันจำเป็นต้องให้ชาวนามีส่วนร่วม ให้เขาเป็นตัวตั้งโจทย์ และให้เขามีส่วนร่วมในการหา คำตอบ หรือว่าคิดนโยบายร่วมกัน รวมทั้งอาจจะต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและชุมชนมีสิทธิ์มากขึ้น
ส่วนผู้บริโภคอาจจะต้องทำความเข้าใจชาวนามากกว่าเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร อาจจะ ต้องเข้าใจมากขึ้นว่า การผลิตของชาวนาตอนนี้มีปัญหาอะไรบ้าง แล้วในฐานะคนเล็กคนน้อย ด้วยกันจะมีส่วนร่วมกับชาวนาได้ยังไง ถ้าคนเล็กคนน้อยเอาใจใส่ต่อกัน อย่างน้อยก็เป็นกำลังใจ แล้วก็สนับสนุนให้เขาอยู่ได้ หรือช่วยอธิบายคนอื่นที่ยังไม่เข้าใจ ให้เข้าใจมากขึ้น เป็นปากเป็นเสียงให้กับชาวนาด้วยก็เป็นเรื่องที่ยิ่งดีใหญ่"
>>ฝากเชิญชวนผู้บริโภคให้มาสนับสนุนข้าวพื้นบ้าน มากินข้าวด้วยความรัก(ษ์)
"จริงๆ งานเทศกาลข้าวใหม่เป็นงานที่ตั้งใจจะเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคกับการสนับสนุนชาวนา อยากจะเชื่อมโยงความรู้ อยากจะเชื่อมโยงความเข้าใจระหว่างกัน ความรู้ก็คือ ให้รู้ว่ามันมีข้าว อีกหลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่มีคุณภาพและอาจจะถูกปาก คือการกิน ข้าวของแต่ละคน อาจจะมีความชอบไม่เหมือนกัน มันก็มีหลากหลายให้สามารถเลือกได้
งานนี้ก็เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้เข้ามาชิมดูว่า มันยังมีข้าวอีกหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้าที่ยังมีอยู่ในประเทศไทย และอันนี้ก็เป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของทุกคนด้วย ก็อยากให้มาเรียนรู้ร่วมกัน แล้วก็มาเรียนรู้จากชาวนาด้วยกัน
นอกจากจะมาเรียนรู้เรื่องข้าวว่า ข้าวสายพันธุ์ไหนมีรสชาติยังไง เหมาะกับการแปรรูปหรือเหมาะกับ การไปทำอะไรบ้าง ก็อาจจะมาช่วยชาวนาสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยก็ได้ เพราะว่าผู้บริโภคหลายคนก็มีความรู้ เมื่อมารับรู้เพิ่มเติมมากขึ้น ก็อาจจะได้แลกเปลี่ยนแบ่งปันกับชาวนาได้ด้วย"
.
ชวนมาเป็นครอบครัวเดียวกัน ชวนมากินข้าวหลากหลายสายพันธุ์ สนับสนุนชาวนาอย่างเข้าใจ เพราะเขาคือผู้สร้างหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของเราทุกคน
.
ในงานเทศกาลข้าวใหม่ 2567: ‘ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์)
วันที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลา 9.00 – 16.30 น.
ณ สวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ไทรม้า นนทบุรี
.
ขอบคุณผู้สัมภาษณ์ ใหม่ นันทนิตย์ อนุศาสนะนันทน์ เจ้าของเพจ ว่าง space & anything