The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
- France
เรื่องเล่าจากชาวเกษตร : จากพืชเชิงเดี่ยวเต็มไปด้วยสารเคมี สู่การทำเกษตรอินทรีย์ และการฟื้นฟูป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืน
24 August 2021
❝เรามองว่าเราได้กินของดี ลูกหลานตัวเล็ก ๆ ของเราก็ได้กินของดี แล้วเรายังแบ่งขายให้เพื่อน ๆ เราได้อีกด้วยนะ❞
คำพูดสั้น ๆ นี้ เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่ “แม่กำนัน” หรือ ฑิฆัมพร กองสอขน หัวหน้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บัวใหญ่ในจังหวัดน่าน ใช้ผลักดันให้เกิดการทําเกษตรกรอินทรีย์ในชุมชนของเธอ ในตำบลบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

เมื่อย้อนความไปในอดีต สมาชิกชุมชนของแม่กำนันตรวจพบสารตกค้างของเคมีในกระแสเลือด และมีอัตราการเจ็บป่วยล้มตายจากโรคมะเร็งสูง สุขภาพของคนในพื้นที่ย่ำแย่ เพราะการทำพืชเชิงเดี่ยวที่มีการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก แม้แต่ในการปลูกพืชอาหาร
แม่กำนันเล็งเห็นว่า ปัญหาเรื่องสุขภาพ และปัญหาอื่น ๆ มากมายในชุมชนของเธอเกิดขึ้น เพราะการทำพืชเชิงเดี่ยว เธอจึงลุกขึ้นมาเป็นผู้นำชุมชน สนับสนุนให้สมาชิกชุมชนหันมาทำเกษตรอินทรีย์แทน
ในปี พ.ศ.2560 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บัวใหญ่ภายใต้การนำของแม่กำนันจึงเข้าร่วมโครงการ FLR349 ซึ่งขับเคลื่อนชุมชนในการฟื้นฟูป่า ควบคู่ไปกับการผลิตและบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ‘ปลูกป่าสามอย่าง ประโยชน์สี่อย่าง’ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนอย่างธนาคาร HSBC ที่ร่วมกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) และภาคีเครือข่าย
โครงการ FLR349 ได้เข้าไปช่วยพัฒนาการทำเกษตรกรในพื้นที่ ผ่านการช่วยฝึกอบรมการทำเกษตรอินทรีย์ ช่วยจัดหากล้าไม้ และช่วยจัดหางบสร้างถังเก็บน้ำ เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว สู่การเกษตรอินทรีย์อย่างผสมผสาน
ในปัจจุบัน ด้วยความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากโครงการ FLR349 พื้นที่การเกษตรกว่า 48 ไร่ในจังหวัดน่าน ผ่านการรับรองมาตรฐานการเกษตรอินทรีย์ SDGxPGS ซึ่งเป็นพื้นที่ทำกินของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บัวใหญ่ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมมากกว่า 30 ราย
หลังเปลี่ยนไปทำเกษตรอินทรีย์ และมีอาหารปลอดสารเคมีกินเป็นประจำ ครอบครัวของแม่กำนันและอีกหลายชีวิตก็พบว่า ไม่มีสารเคมีสะสมอยู่ในเลือดอีกต่อไป
ชุมชนของแม่กำนันปลูกเศรษฐกิจอย่าง 'โกโก้' ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ผสมผสานไปกับพืชอื่น ๆ อาทิ ฟักทอง, ส้ม, เผือก และเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เพื่อลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และการใช้สารเคมี ซึ่งส่งผลดีทั้งต่อสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภค โดยผลผลิตส่วนใหญ่ถูกนำไปวางจำหน่ายในตลาดอินทรีย์และซูเปอร์มาเก็ตหลายแห่ง สร้างอาชีพยั่งยืน เพิ่มรายได้รายได้ให้แก่เกษตรกร และครอบครัวตลอดทั้งปี
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการได้ที่: https://www.wwf.or.th/en/scp/reforestation_activity/flr_349/