What would you like to search for?

FLR349: ฟื้นฟูระบบนิเวศด้วยการพัฒนาระบบอาหารเพื่อท้องถิ่น การดำรงชีพอย่างยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร

01 December 2022

กองทุน FLR349 ผนึกกำลังร่วมกับกรมป่าไม้ กลุ่มเซ็นทรัล และไทยคม เพื่อผลักดันการฟื้นฟูพื้นที่ระบบเกษตรเชิงเดี่ยวสู่พื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน ด้วยแนวคิดการพัฒนาระบบอาหารเพื่อท้องถิ่น การดำรงชีพอย่างยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร ด้วยแนวคิด “ปลูก 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง”

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF-Thailand) กรมป่าไม้ (RFD) บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล (Central Group) และไทยคม ลงนามข้อตกลงผนึกกำลัง เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโมเดล “FLR349” ป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง น้อมนำศาสตร์พระราชาเป็นโมเดลแก้ปัญหาความยากจนของผู้อาศัยในพื้นที่ป่าสงวนและปัญหาระบบนิเวศของป่าต้นน้ำที่ถูกทำลายจากการทำระบบเกษตรเชิงเดี่ยว

พื้นที่แม่แจ่มเป็นอีกหนึ่งแห่งที่พบปัญหาพื้นที่ทำกินในป่าสงวนแห่งชาติ เช่นเดียวกับตำบลกองแขกที่ได้เปลี่ยนพื้นที่ป่าธรรมชาติไปเป็นเกษตรเชิงเดี่ยวในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 เป็นเวลาหลายปี ซึ่งสร้างผลกระทบต่อสุขภาพ มีการใช้ปุ๋ยและยาเคมีในปริมาณสูง ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงที่เกษตรกรต้องแบกรับและเผชิญกับปัญหาความยากจนอยู่ ทำให้การทำเกษตรเชิงเดียว แก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ด้วย FLR349 เป็นโมเดลต้นแบบในการจัดการพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมจากการปลูกไร่ข้าวโพดเลี้ยวสัตว์สู่พื้นที่เกษตรผสมผสาน ด้วยการปลูกไม้ยืนต้น ไม้กินผล กล้วย ไผ่ สมุนไพร รวมถึงการเลี้ยงไก่ไข่และหมู เพื่อป้อนผลผลิตจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ FLR349 จึงเป็นโมเดลที่สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจสีเขียว (green economy) ที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และมีศักยภาพที่พัฒนาต่อยอดสู่การดำเนินงานในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติพื้นที่อื่นต่อไป
 
นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้ได้เร่งรัดดำเนินงานตามแนวนโยบายรัฐบาลและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ต้องการให้ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติได้ “อยู่อาศัยและทำกินถูกต้องตามกฎหมายอย่างยั่งยืน ฟื้นฟูคุณภาพชีวิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” โดยมีการมอบ “แผนการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ระดับพื้นที่” ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตำบลกองแขก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่นำร่อง ซึ่งผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานจะช่วยให้สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ FLR349 มั่นใจและมั่นคงในการดำรงชีวิต สามารถประกอบอาชีพในพื้นที่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2


 อย่างไรก็ตาม การหาตลาดรับซื้อผลผลิตก็มีความสำคัญและสร้างความมั่นใจแก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ FLR349 ที่สร้างรายได้ที่มั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยคุณรัฐภัทร์ ศรีจันทร์กลัด ประธานมูลนิธินวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย (TOF) กล่าวว่า “เราหาทางจัดการห่วงโซ่อุปทานครบเลย ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจากแปลง การบรรจุภัณฑ์ การกระจายสินค้า จนถึงมือผู้ซื้อทุกคน ส่วนภาคประชาชนที่เคยรับผลกระทบจาก PM 2.5 และสารเคมีตกค้างในอาหาร ก็ได้รับอาหารที่ดีขึ้น”

นอกจากการส่งเสริมและจัดการแหล่งจัดจำหน่ายสินค้าจะมีความสำคัญแล้ว การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพก็มีส่วนสำคัญ คุณพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ได้ให้ความเห็นว่า “โดยปกติเรามีผลผลิตที่ดี แต่มันไปต่อไม่ได้ เราก็ต้องมาดูว่า ปลูกตรงตามความต้องการของลูกค้าไหม ซึ่งเราก็จะรู้ อะไรที่ต้องนำเข้า ก็ให้เค้าปลูกและไม่ต้องนำเข้า พอเก่งแล้ว ก็นำไปแปรรูป ว่าจะได้ราคามากขึ้น ทำเป็นสินค้าท้องถิ่นที่มีคุณภาพและดังไปในระดับประเทศไปในระดับสากล”



 ปัจจุบัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดาวเทียมยังช่วยประเมินผลการดำเนินโครงการทำได้ง่ายขึ้นและสร้างแหล่งรายได้เสริมจากคาร์บอนเครดิตได้อีกช่องทางหนึ่ง คุณเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานกลยุทธ์และกิจการองค์กร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เทคโนโลยีดาวเทียมในปัจจุบันมันสามารถที่จะบินผ่านโลกแล้วก็ถ่ายรูป ภาพเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์พื้นที่เป้าหมายที่แม่แจ่มว่าภายใน 3 ปี มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นกี่ไร่ ในเป้าหมายระยายาว เมื่อเราสร้างป่าได้เป็นจำนวนมากแล้ว ขั้นต่อไปคือ คาร์บอนเครดิต เราสามารใช้ภาพที่เราได้มาไปวิเคราะห์ว่ากักเก็บคาร์บอนได้เท่าไร ก็จะให้ชาวบ้านได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากการขายสินค้าด้วย”

 
โมเดล FLR349 จึงเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในพื้นที่ป่าสงวนแห่งอื่น ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล เนื่องจาก เป็นระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คุณพลาย ภิรมย์ ผู้จัดการโครงการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (สำนักงานประเทศไทย) “การแก้ปัญหาในโมเดลนี้ เราได้สื่อสารให้เป็นตัวอย่างของโลก ไม่ใช่เฉพาะภายในประเทศ คำว่าเศรษฐกิจสีเขียวมันก็คือ การแก้ปัญหาด้วยแนวทางธรรมชาติ สิ่งสำคัญคือ เราแก้ปัญหาทรัพยากรเสื่อมโทรมจากผลิตอาหารมาสู่การผลิตอาหารที่ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติได้ด้วย”

 
สิ่งเหล่านี้คือ เสียงสะท้อนจากเกษตรกรและผู้ผลิตที่เป็นส่วนหนึ่งการขับเคลื่อนโมเดล FLR349
“คิดว่าจะเบางานลง ใช้เคมีมามากแล้ว อายุก็ 60 กว่าแล้ว ก็เลยตัดสินใจมาปลูกป่าดีกว่า ให้มีนร่มเย็น ปลูกป่า เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เราก็ได้แล้ว 50 บาท 10 เครือ ก็ได้แล้ว 500 บาท” สุขสันต์ ศรีวิพัฒน์ เกษตรกรสมาชิกโครงการ FLR349 บ้านอมเม็ง ต.กองแขก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
 
“ตอนเราเจอไม้เศรษฐกิจที่จะมาส่งเสริม เราก็พยายามทำให้เกษตรกรเข้าใจคำว่าอินทรีย์ คำว่าธรรมชาติ ไม่ต้องไปเร่ง ไปปรุงแต่งมัน ไม่ต้องไปใช้ยาเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง เพราะเราปลูกในป่า ในมันเติบโตอยู่ในป่า เกิดมีอากาศที่แปรปรวน กาแฟป่าจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเค้ามีภูมิต้านทาน” สิริญา ปูเหล็ก Cocoa Doi เชียงใหม่
 
“เราต้องทำเป็นแบบอย่างให้เค้าเห็น เราจะไปบอกให้เค้าเพิ่มพื้นที่ป่า ไม่ต้องไปปลูกข้าวโพดแล้ว เค้ามองไม่เห็นภาพ แต่ด้วยเราเป็นคนรุ่นใหม่เรามองเห็นว่า การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง มันไม่ใช้ทางเลือก แต่เป็นทางรอดในอนาคตแน่นอน” วันเพ็ญ เพชรไพรพนาวัลย์ เกษตรกรสมาชิกโครงการ FLR349 บ้านแม่คงคา ต.กองแขก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

Media Contact
Abhinand Aryapratheep
+662-618-4303-05
Donate
Donate