The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
WWF พาชมเทศกาลข้าวใหม่ 2566 @มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย)
07 February 2023

เมื่อถึงช่วงฤดูหนาว หรือ ธันวาคม - มกราคม ของทุกปี จะมีงานใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับข้าวประจำปี นั้นคือ “งานข้าวใหม่” หรือ “เทศกาลข้าวใหม่” เนื่องจากเป็นช่วงที่ข้าวของทุกภาคทั่วประเทศก็จะเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยว ยกเว้นข้าวภาคใต้ที่ฤดูเก็บเกี่ยวจะอยู่ในช่วงมีนาคม ซึ่งในปี 2566 เทศกาลข้าวใหม่ได้ถูกจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2566 ณ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ไทรม้า นนทบุรี
เมื่อเดินเข้างานเทศกาล ก็จะพบคุณสุภา ใยเมือง ผู้อำนวยการมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) กล่าวเปิดงานและความเป็นมาของงานข้าวใหม่ โดยงานข้าวใหม่เป็นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เมื่อมีการเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ ชาวนาก็เฉลิมฉลองข้าวใหม่ ทำบุญข้าวใหม่ นำข้าวใหม่ไปถวายพระก่อนที่นำข้าวไปบริโภคหรือนำไปขาย เพราะ “ข้าว คือ ความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจของเกษตรกร” ในอดีตงานข้าวใหม่ก็จะจัดอย่างเงียบๆ ภายในชุมชน แต่ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีการรับรู้และบริโภคสายพันธุ์ข้าวเพียงไม่กี่ชนิด ทำให้ชาวนาต้องปลูกพันธุ์ข้าวตามความต้องการของตลาด ส่งผลให้พันธุ์ข้าวท้องถิ่นหายไปจากพื้นที่นาข้าว และ ความหลาลหลายของพันธุ์กรรมข้าวลดลง

คุณอุบล อยู่หว้า จากเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกอีสาน ได้พูดถึงประเด็นที่คนในพื้นที่ละทิ้งอาชีพชาวนาไปทำงานนอกพื้นที่บ้านเกิด อันเนื่องมาจากต้นทุนการผลิตข้าวในระบบเคมีที่สูงขึ้นจนมีรายได้จากการขายข้าวที่ต่ำ อีกทั้ง ขาดมาตรการส่งเสริมความเข้มแข็งแก่ชุมชนเกษตรกรให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง ทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพานโยบายรัฐและขาดการปรับตัว ส่งผลให้เกษตรกรมีความอ่อนแอต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มาในรูปของภัยธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การจัดเทศกาลข้าวใหม่จึงเป็นการสื่อสารถึงผู้บริโภคให้รับรู้ถึงพันธุ์ข้าวท้องถิ่นที่หลากหลาย และ เชิญชวนให้หันมาบริโภคพันธุ์ข้าวให้หลากหลายกันมากขึ้น ยิ่งปัจจุบัน ความหลากหลายของพันธุ์ข้าวมีความสำคัญอย่างมากในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้สามารถออกผลผลิตได้ในภาวะความไม่แน่นอนของภูมิอากาศ ผู้บริโภคจึงส่วนช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับตัวให้ผลิตข้าวในภาวะโลกร้อนได้อย่างมาก โดยการส่งเสริมให้บริโภคข้าวหลากหลายสายพันธุ์
การส่งเสริมการกินอาหารให้หลากหลายจึงต้องสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคให้การสนทนากัน ณ เทศกาลข้าวใหม่ 2566 ทาง WWF จึงมาทำความรู้จักผู้ผลิตในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนทั้งหมด 3 ท่านมาให้พวกเรารู้จักกัน



พ่อภาคภูมิ อินทร์แป้น (Parkphum Inpan) จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถึทมอ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.สุรินทร์ มานำเสนอเรื่องราวของข้าวท้องถิ่น “ปกาอำปึล” ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวดอกมะขาม) เป็นสายพันธุ์ข้าวไร่ที่เกษตรกรนิยมนำมาปลูกในพื้นที่หลังบุกเบิกพื้นที่ป่า ข้าวปกาอำปึลเป็นข้าวที่ใช้น้ำน้อย มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น มีระบบรากที่แข็งแรงมากจนต้องใช้วิธีหยอดเมล็ดข้าวแทนการใช้วิธีดำนา

การส่งเสริมระบบเกษตรอุตสาหกรรม ทำให้ข้าวสายพันธุ์นี้เกือบสูญหายไปจากพื้นที่ชุมชนกว่า 30 ปี จนภายหลัง กลุ่มวิสาหกิจก็ได้นำสายพันธุ์ข้าวชนิดนี้มาส่งเสริมเพาะปลูกอีกครั้งหนึ่งเพื่อรักษาสายพันธุ์ข้าวท้องถิ่นและสื่อสารกับผู้บริโภค ปัจจุบัน ข้าวปกาอำปึลชนิดขัดกล้อง ได้รับเสียงตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี แม้ว่าจะมีความหอมน้อยกว่าข้าวหอมมะลิ แต่ก็มีความนุ้มใกล้เคียงกันจนสำหรับคนที่พึ่งเริ่มทานข้าวกล้อง

พ่อบุญส่ง มาตขาว (Boonsong Matkhow) วิสาหกิจชุมชนโนนยาง เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ยโสธร เครือข่ายที่เก็บและรวบรวมสายพันธุ์ข้าวจำนวนมาก ทางกลุ่มที่ความตั้งใจที่อยากให้ผู้บริโภคทานข้าวให้หลากหลาย จึงนำข้าวหลายสายพันธุ์มาขายและสื่อสารกับผู้บริโภคที่เทศกาลข้าวใหม่ โดยหนึ่งในสินค้าขายดี คือ ข้าวผสม 5 สายพันธุ์

ข้าวผสม 5 สายพันธุ์ เป็นการผสมข้าวหอมมะลิแดง ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมนิล ข้าวจ้าวแดง และข้าวจ้าวเหลือง โดยได้กลิ่นหอมจากข้าวหอมมะลิและหอมมะลิแดง มีโฟเลตสูงจากข้าวจ้าวเหลือง ให้พลังงานเร็วจากข้าวจ้าวแดง ให้ความหอมนุ้มจากข้าวหอมนิล มีน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยฟื้นตัว เบาหวาน โรคหัวใจหรือโรคไต รวมถึงคนรักสุขภาพ

ณฐา ใจเพชร (Natha Chaiphet) เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.สงขลา ที่อาจไม่มีข้าวเล็บนกและข้าวสังข์หยดมาขายในเทศกาลข้าวใหม่ เนื่องจากฤดูเก็บเกี่ยวอยู่ช่วงเดือนมีนาคม ก็ได้นำพืชกินได้ของภาคใต้มานำเสนอให้คนเมืองได้รู้จักหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชหัว พืชสมุนไพร ไม้ผลรวมกันไม่ต่ำกว่า 30 ชนิด

โดยพืชกินได้ภาคใต้ 3 ชนิด ที่ถูกเลือกมานำเสนอให้ผู้อ่านได้รู้จัก ชนิดแรก คือ ตะไคร้นิ่ม เป็นตะไคร้พื้นบ้านภาคใต้ ที่มีความนิ่มและมีความเผ็ดร้อนมากกว่าตะไคร้ทั่วไป สามารถบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ ชนิดถัดมา คือ ดาหลา ที่ดอกนำมากินกับข้าวยำ ส่วนหัวมีรสเปรี้ยว สามารถนำมาแกงส้มเพราะให้รสเปรี้ยว ชนิดสุท้าย คือ แส้ มีลักษณะคล้ายแส้ม้า คล้ายต้นหอม แต่มีกลิ่นเฉพาะตัว นิยมใส่รวมกับแกงฟักทอง

ยังมีข้าวและพืชกินได้อีกหลายชนิดที่ต้องนำมาสื่อสารให้เกิดการรับรู้ในหมู่ผู้บริโภคอีกเป็นจำนวนมาก ตลาดสีเขียว จึงเป็นหัวใจสำคัญในสื่อสารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค พัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืนและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพระดับท้องถิ่น