The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
การทำฟาร์มชุมชน “ชไปเซอกุท” ผสานผู้บริโภคในเมืองเข้ากับการเกษตรแบบยั่งยืน
09 November 2023
“สวนผักกาทัวร์” (Gatower Gemüsegarten) คือหนึ่งในสถานที่ที่ชไปเซอกุทเพาะปลูกอยู่ ซึ่งทั้งชาวเมือง เกษตรกร และธรรมชาติต่างเข้ามามีส่วนร่วมในการรังสรรค์ระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน และยังช่วยสร้างชุมชนที่ผูกพันลึกซึ้งเข้ากับหลักการการทำฟาร์มออร์แกนิกแบบยั่งยืนด้วยเช่นกัน
ต้นแบบในการกระจายความเสี่ยงและผลตอบแทน
สวนผักกาทัวร์ดำเนินงานในรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร ลูกค้าที่เป็นชาวเมืองจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีซึ่งจะอยู่ที่ 60 - 120 ยูโร (2,300 – 4,600 บาท) ต่อเดือน สิ่งที่พวกเขาจะได้รับคือผลผลิตออร์แกนิกที่จะจัดส่งถึงมือทุกสัปดาห์ระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง และทุกสองสัปดาห์ในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนมกราถึงกุมภา รูปแบบการดำเนินงานนี้ก้าวข้ามวิธีการที่มีแค่การแลกเปลี่ยนทางการเงินเพียงอย่างเดียว มันช่วยสร้างระบบที่มีการกระจายความเสี่ยงและผลตอบแทน ขณะที่ผู้บริโภคได้รับผลผลิตที่สดใหม่ พวกเขายังร่วมกันแบกรับความเสี่ยงจากการเพาะปลูก ซึ่งจะช่วยพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจอันลึกซึ้งต่อความท้าทายทั้งหลายที่เกษตรกรต้องเผชิญ รูปแบบการดำเนินงานเช่นนี้ยังเป็นการรับประกันว่าจะมีลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ช่วยเสริมความมั่นคงทางการเงินให้กับเกษตรกรซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถทำการเกษตรแบบยั่งยืนได้อย่างต่อเนื่อง
เปิดใจรับผลผลิตออร์แกนิกที่หลากหลายและเป็นไปตามฤดูกาล
สวนผักกาทัวร์มุ่งเน้นไปที่การผลิตอาหารตามฤดูกาลเพื่อรับประกันว่า ผลผลิตทั้งหลายจะไม่เพียงแค่มีความสดใหม่เท่านั้น แต่จะสอดคล้องไปกับรอบการเพาะปลูกตามธรรมชาติตลอดปี การเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นจะมีทั้งผักและผลไม้มากมายถึง 30-40 ชนิด มีทั้งแอปเปิ้ล ลูกแพร์ และลูกเคปกูสเบอร์รี สิ่งนี้ไม่เพียงเพิ่มความหลากหลายให้กับอาหารของผู้บริโภค แต่ยังนับเป็นการส่งเสริมความมั่นคงทางนิเวศของระบบการทำฟาร์มอีกด้วย
การสื่อสารที่โปร่งใสและการมีส่วนร่วมของชุมชน
ชไปเซอกุทมีการสื่อสารกับสมาชิกอย่างโปร่งใสอยู่เสมอผ่านทางจดหมายข่าว เพื่อให้สมาชิกทั้งหลายได้รับทราบถึงสถานการณ์และการดำเนินงานของฟาร์ม การดำเนินงานเช่นนี้ไม่เพียงช่วยให้ชุมชนรู้สึกมีส่วนร่วมอยู่เสมอ แต่ยังบ่มเพาะความรู้สึกเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมของสมาชิกทั้งหลายด้วยเช่นกัน
เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและความยั่งยืน
การมีส่วนร่วมกับการทำการเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชนมีส่วนในการเปลี่ยนมุมมองของผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและความยั่งยืน ผ่านประสบการณ์การมีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการทำฟาร์ม สิ่งนี้ยังช่วยไขความกระจ่างของการเดินทางของอาหารจากเมล็ดพันธุ์เล็กๆ มาถึงจานอาหาร โดยเน้นไปที่การลงแรง ความท้าทายต่างๆ และความรู้ความสามารถเฉพาะทางที่จำเป็นในการเก็บเกี่ยวผลผลิต การได้มีส่วนร่วมโดยตรงเช่นนี้ช่วยส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกขอบคุณอย่างลึกซึ้งต่อผลผลิต และยังมีแนวโน้มที่จะสร้างเสริมให้เกิดการบิรโภคอย่างมีสติมากขึ้น รวมไปถึงการลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งด้วย นอกจากนี้แล้ว การเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินการอย่างยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและผลิตผล ยังอาจส่งเสริมให้ผู้มีส่วนร่วมเข้ามาสนับสนุนและเปิดรับวิถีชีวิตที่มีความยั่งยืนมากขึ้น
ส่งเสริมการทำฟาร์มอย่างยั่งยืนและการสร้างชุมชน
สวนผักในเมือไม่เพียงแค่จะช่วยส่งเสริมการทำฟาร์มอย่างยั่งยืนเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างชุมชนของผู้อยู่อาศัยในเมืองให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น มันคือพื้นที่กลางสหรับทุกๆ คนที่เชื่อมร้อยด้วยความสนใจในการทำฟาร์แบบออร์แกนิกและความยั่งยืนเหมือนๆ กัน จะได้มีโอกาสในการทำความรู้จัก แบ่งปันประสบการณ์ และเรียนรู้จากกันและกัน ความเป็นชุมชนนั้นเกิดจากการแบ่งปันทั้งความสุขและความท้าทายในการทำฟาร์ม เฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการแลกเปลี่ยนความรู้และเคล็ดลับต่างๆ สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของและความรับผิดชอบร่วมกันให้เกิดขึ้นในหมู่ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม
การลงมือทำฟาร์มออร์แกนิกอย่างนั่งยืน
ฟาร์มจะต้องยึดมั่นในวิธีการแบบออร์แกนิกและยั่งยืน นำเทคนิคการจัดการศัตรูพืชใหม่ๆ มาใช้ ตัวอย่างเช่นการนำน้ำมันจากเมล็ดพืชและการปลูกพืชสมุนไพรที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนยาปราบศัตรูพืชชีวภาพ นอกจากนี้แล้ว ยังมีการขึงตาข่ายเพื่อสร้างสิ่งกีดขวางทางกายภาพสำหรับการปกป้องพืชผลโดยไม่ต้องใช้สารเคมี ที่ดินผืนนี้ถูกใช้เพื่อการเกษตรมาหลายทศวรรษ ก่อนที่จะเริ่มทำการเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชนนั้น พื้นที่นี้เคยถูกใช้เป็นเรือนกระจกเพื่อทำการเกษตรเชิงธุรกิจมาก่อน ชไปเซอกุทนำมูลวัวและม้ามาใช้ ไม่เพียงแค่ใช้เพื่อเป็นปุ๋ยเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการบำรุงโครงสร้างดินอีกด้วย การเพิ่มสารอาหารพื้นฐานให้ดินด้วยโปแตสเซียมจากธรรมชาติและปูนขาวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดในการรักษาความอุดมสมบูรณ์และสุขภาพของดิน
สวนผักกาทัวร์นำเอายุทธศาสตร์การทำการตลาดโดยตรงในตลาดภูมิภาคมาปรับใช้ ซึ่งครอบคลุมร้านค้าปลีก โรงพยาบาลต่างๆ และโรงเรียน นี่คือวิธีการที่พวกเขากระจายความเสี่ยงทางการตลาดออกไป การดำเนินงานเช่นนี้ไม่เพียงรับประกันตลาดรับซื้อผลผลิตของพวกเขาที่มั่นคง แต่ยังเปิดโอกาสให้พวกเขามีส่วนร่วมกับเศรษฐกิจท้องถิ่นและจัดหาผลผลิตออร์แกนิกที่สดใหม่ให้กับชุมชนในวงกว้างยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบการดำเนินงานที่สามารถนไปปรับใช้ได้ทั่วโลก
รูปแบบการดำเนินงานของชไปเซอกุทสามารถนำไปปรับใช้หรือขยายการดำเนินงานให้กว้างขึ้นกับชุมชนเมืองได้ทั่วโลกโดยการ:
- การสรรหาพื้นที่ที่เหมาะสม: ค้นหาพื้นที่ว่างในชุมชนเมือง เช่น พื้นที่รกร้างหรือสวนชุมชน ที่สามารถนำมาปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูกได้
- การมีส่วนร่วมของชุมชน: เข้าหาชุมชนท้องถิ่นทั้งหลายเพื่อทำความเข้าใจความสนใจของพวกเขา และนำพวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในขั้นตอนการวางแผนและการลงมือปฏิบัติ
- ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ: ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น องค์กรไม่แสวงผลกำไร และภาคธุรกิจเพื่อขอความช่วยเหลือในด้านทรัพยากร ความรู้ความชำนาญ ไปจนถึงงบประมาณ
- นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้: ยกระดับเทคโนโลยีเพื่อการจัดการน้ำและทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างพื้นที่ในการแบ่งปันความรู้ในหมู่ผู้ที่มีความคิดริเริ่มทางการเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชนต่างๆ ทั่วโลก
อย่างที่เราได้เห็นจากสวนผักกาทัวร์ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการเกษตรที่สนับสนุนโดยชุมชน สวนแห่งนี้ยืนหยัดอย่างโดดเด่นจนเปรียบประหนึ่งประภาคารของความยั่งยืน การมีส่วนร่วมของชุมชน และการปกป้องสิ่งแวดล้อม มันไม่เป็นเพียงแค่แหล่งผลิตผลออร์แกนิกที่สดใหม่เท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ การสร้างชุมชน และการส่งเสริมวิถีชีวิตแบบยั่งยืนให้กับผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองอีกด้วย ขณะที่เมืองต่างๆ ยังคงเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง รูปแบบการดำเนินงานเช่นนี้ก็เปรียบเสมือนการหว่านเมล็ดพันธุ์สำหรับอนาคตที่ผู้บริโภคและเกษตรกรสามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้ ในระบบนิเวศที่ต่างเอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน และช่วยกันอุ้มชูการเปลี่ยนแปลงระดับโลกเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนและการบริโภคอย่างตื่นรู้