The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
Our News
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีผนึก WWF ประเทศไทย และโครงการวน ร่วมกันจัดการขยะพลาสติก
ผู้บริหาร WWF ประเทศไทย มอบเครื่องอัดขยะพลาสติก จำนวน 1 เครื่อง แก่เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี พร้อมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีกับโครงการวน นำร่องลุยงาน “เมืองปลอดมลภาวะจากขยะพลาสติก” ตั้งเป้าลดขยะพลาสติกลงทะเลให้ได้ร้อยละ 30 ในอีก 2 ปีข้างหน้า
“WWF มีความยินดีที่ได้เห็นความก้าวหน้าของโครงการเมืองปลอดมลภาวะจากขยะพลาสติก หรือ Plastic Smart Cities ซึ่งเป็นการสร้างเมืองต้นแบบในการทำงานแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน หลังจากที่ได้ลงบันทึกข้อตกลงร่วมกันไปเมื่อปีที่ผ่านมา จากการลงพื้นที่วางแผนการทำงานร่วมกับเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และประสานงานกับเครือข่ายที่ทำงานด้านการกำจัดขยะพลาสติก ทำให้เห็นความต้องการของพื้นที่ในการอัดขยะพลาสติกที่มีการคัดแยกแล้ว เพื่อนำส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ WWF ประเทศไทยจึงมอบเครื่องอัดขยะพลาสติกจำนวน 1 เครื่องให้กับเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เพื่อใช้ในกระบวนการตั้งต้นในการทำงาน” ดร.อาโนลด์ กล่าว
ทางด้านนายธีระกิจ หวังมุทิตากุล นายกเทศมนตรีนครสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า “เครื่องอัดขยะพลาสติกเครื่องนี้จะนำไปใช้ในการจัดการพลาสติยืดในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากขยะพลาสติกยืดในสถานประกอบการและชุมชน ผ่านกิจกรรม Plastic Bank (ฝากถุง-ฝากเงิน / ฝากถุง-ฝากบุญ) โดยคาดว่า หากการจัดการขยะพลาสติกยืดของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเป็นผลสำเร็จ จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดการขยะและลดปริมาณขยะที่ยั่งยืนแก่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป”
ภายใต้โครงการ “เมืองปลอดมลภาวะจากขยะพลาสติก” ยังมีหน่วยงานเอกชน ได้แก่ โครงการ "วน" โดยบริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นหนึ่งในคณะทำงานเพื่อช่วยจัดการปัญหาขยะพลาสติก โดยนายกมล บริสุทธนะกุล ผู้ก่อตั้งโครงการ “วน” กล่าวว่า “พลาสติกยืด หรือ ถุงและฟิล์มพลาสติกที่เราเห็นเป็นปัญหาของขยะทุกวันนี้ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ นอกจากนี้ พลาสติกยืดเหล่านี้ยังมีหลากหลายประเภทและราคาต่ำ จึงหาผู้รับซื้อได้ยาก และทำให้พลาสติกเหล่านี้จบลงที่หลุมฝังกลบ และบางส่วนอาจรั่วไหลลงสู่ทะเลในที่สุด ดังนั้น การให้ความรู้ และคัดแยกพลาสติกยืดที่แห้งและสะอาดตั้งแต่ต้นทางคือกุญแจสำคัญที่จะช่วยนำพลาสติกเหล่านี้กลับมารีไซเคิล ให้หมุนเวียนอยู่ในระบบ นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรใหม่ลงอีกด้วย และทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างแท้จริง”
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบว่า ในปี 2561 มีปริมาณขยะมูลฝอยใน 23 จังหวัดชายฝั่งทะเล มากถึง 11.47 ล้านตันต่อปี กำจัดอย่างถูกต้อง 6.73 ล้านตัน นำไปใช้ประโยชน์อีกครั้ง 2.93 ล้านตัน และกำจัดไม่ถูกต้อง 1.81 ล้านตัน ในจำนวนขยะมูลฝอยทั้งหมดนี้ เป็นขยะพลาสติกอยู่ประมาณ 217,000 ตัน หรือ 12% โดยร้อยละ 10-15 หรือ 21,700-32,600 ตัน มีโอกาสรั่วไหลลงสู่ทะเลทุกปี
ความร่วมมือกันที่เกิดขึ้นของหน่วยงานท้องถิ่น ประชาชน ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ในการลดและใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย การมีระบบกำจัดขยะพลาสติกที่มีประสิทธิภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จะช่วยลดผลกระทบทางลบต่อชีวิตสัตว์ทะเล ระบบนิเวศทางทะเล รวมถึงสุขภาพของมนุษย์จากการกินอาหารทะเลที่มีสารพิษตกค้าง
_______________________________
© WWF-Thailand