The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
วรวุธ เกศมี กับกุยบุรี พื้นที่แห่งความเข้าใจ
#แพนด้าทำอะไร
20 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทำให้ “กุยบุรี” ผันแปรจากพื้นที่แห่งความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง กลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่คนกับช้าง “เข้าใจ” ซึ่งกันและกัน” และสิ่งนี้เองคือหัวใจหลักของพื้นที่แห่งนี้ที่ทำให้ “บิว” วรวุธ เกศมี หลงรักกุยบุรี และตัดสินใจเลือกใช้ชีวิตอยู่ ณ พื้นที่แห่งนี้
กว่า 10 ปีแล้วที่ “คุณบิว” วรวุธ เกศมี ได้เลือกเส้นทางมาใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่กุยบุรี โดยก่อนหน้านี้ เขาได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในองค์กร WWF-ประเทศไทย ที่ทำให้เขาได้รู้จัก และหลงรักกุยบุรีมากขึ้น คุณบิวได้เล่าให้ฟังถึงการที่ชาวบ้านเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่ทำให้ทุกคน “เข้าใจ” และ “ผูกพัน” กับช้างมากขึ้น และหาจุดกึ่งกลางการอยู่ร่วมกันระหว่างสองสายพันธุ์ที่จะบรรเทาปัญหาความขัดแย้งได้
“สำหรับที่กุยบุรีมีเอกลักษณ์เรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่คนในชุมชนได้ร่วมมือกันปลุกปั้นพื้นที่อนุรักษ์แห่งนี้ขึ้น เราได้รับโอกาสจาก โครงการพระราชดำริของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ให้ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ตั้งแต่ปี 49 จนถึงตอนนี้ปี 62 ในช่วงแรก ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่อุทยาน และหน่วยงานอื่นๆ ก็เน้นในเรื่องของการอนุรักษ์ก่อน พอเราอนุรักษ์จนมีทรัพยากรป่าไม้สัตว์ป่าที่สมบูรณ์ ชุมชนก็ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากการที่เขามาอนุรักษ์ไว้ โดยได้ทำกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชาวบ้านก็เข้ามาช่วยขับรถ ช่วยเป็นไกด์ ทำโฮมสเตย์ และช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้กับกุยบุรี”
จุดเปลี่ยนผันที่ทำให้กุยบุรีหลุดรอดจากวงเวียนแห่งความขัดแย้งที่ไม่มีวันจบสิ้นจากช้างป่าที่เข้ามาหากินในพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน เกิดจากโครงการอนุรักษ์ และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยทรงมีพระราชดำริให้ปลูกป่า ฟื้นฟูระบบนิเวศ เพื่อยังความชุ่มชื้นคืนธรรมชาติและเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าทั้งปวง ทรงมีพระราชดำรัสคนกับช้าง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 ว่า “ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ในป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอ การปฏิบัติคือ ให้ไปสร้างแหล่งอาหารเป็นแปลงเล็กๆ และกระจาย กรณีช้างออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้าง...”
หลังจากโครงการได้ดำเนินขึ้น หลายภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม และมีการจัดสรรพื้นที่ในส่วนของการเกษตร รวมถึงฟื้นฟูแปลงหญ้าให้เป็นแหล่งอาหารของช้างป่า ต่อมาจึงได้มีการรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อสานต่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อเสริมรายได้ และคงเอกลักษณ์ของชุมชนโดยการใช้รถของพี่น้องเกษตรกรในชุมชน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คนในชุมชนไม่ได้มองการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเชิงธุรกิจ แต่กิจกรรมนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการเยียวยาพี่น้องเกษตรกร ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงเป็นในเชิงบวก ดังนั้นโมเดลของกุยบุรีจึงค่อนข้างประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่ได้ให้มีการแทรกแซงธุรกิจข้างนอกเข้ามา แต่เน้นให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเอง . . หัวใจหลักคือ “ความเข้าใจ” คุณบิวได้กล่าวเพิ่มถึงความรู้สึกของชุมชนกับช้างป่าว่า “20 กว่าปีที่แล้ว กุยบุรีเคยมีปัญหาเรื่องช้างหนักมาก แต่ทุกวันนี้ถามว่าช้างยังออกมามั้ย ก็ยังออกมานะ แต่ว่าความรู้สึกของชาวบ้านบางส่วนกับช้างก็จะเปลี่ยนไป วิถีชีวิตเขาก็จะดีขึ้น มีรายได้ส่วนนึงจากการที่นักท่องเที่ยวมา บางทีเวลาที่เขาไม่เจอช้างเวลาเข้าไปชมในพื้นที่ก็จะมีความรู้สึกผิดหวังเล็กน้อยประมาณว่า ทำไมวันนี้ไม่เจอช้างเลย”
“หากถามว่าในปัจจุบัน ชาวบ้านกับช้างป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ 100% ไหมก็อาจจะอุดมคติไปหน่อย แต่ถามว่าตอนนี้มันคลี่คลายลงมาก สิ่งสำคัญคือ พอเราพยายามที่จะเข้าใจกัน มันก็สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้”
คุณบิวกล่าวด้วยหัวใจที่เต็มไปด้วยความตื้นตันที่อยากจะให้หลาย ๆ คนได้เห็นกุยบุรีในแบบที่เขารัก คือพื้นที่แห่งความเปิดใจ ที่ทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
#WWFThailand #TogetherPossible #Kuiburi