The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
แด่สามสตรีผู้อุทิศตนเพื่อผืนป่า
ในเวลาไม่ถึง 100 ปี เสือโคร่งกว่า 96% ได้หายไปจากผืนป่าอย่างไม่มีวันหวนกลับ แต่ด้วยความพยายามของหลายหน่วยงานทั่วโลกเพื่อปกป้องผืนป่า ทำให้จำนวนเสือโคร่งในธรรมชาติเพิ่มขึ้นมาจาก 7 ปีที่แล้วที่มีอยู่ราว 3,200 ตัว เป็น 3,890 ตัวโดยประมาณ
จากพลังของนักอนุรักษ์ทั่วทุกมุมโลก ได้มีสตรีจากทั่วทุกมุมโลกได้ร่วมเป็นหนึ่งในพลังเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งให้คืนกลับมา
“ฉันหวังว่าลูกสาวของฉันจะร่วมปกป้องผืนป่า และเติบโตเป็นหัวหน้าอุทยานสักวันหนึ่ง แต่เหนือสิ่งอื่นใด ฉันอยากให้เธอเติบโตอย่างเข้มแข็ง และมีอิสระในการเลือกทางเดินชีวิต”
Sangay Wangmo ใช้เวลากว่า 13 ปีปกป้องผืนป่าภูฏาน ซึ่งเป็นบ้านของลูกสาวที่เธอเลี้ยงมาด้วยตัวคนเดียว Sangay ทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าอาวุโส ณ ผืนป่า Sarpang ทางใต้ของภูฏาน โดยงานของเธอนั้นเต็มไปด้วยอันตราย และความท้าทายอย่างไร้ที่สิ้นสุด เนื่องจากต้องเผชิญหน้ากับการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย และภัยต่าง ๆ เมื่อออกลาดตระเวน นอกจากนี้ เธอยังทำงานกับชุมชนอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานอนุรักษ์
จากเวลานับสิบปีที่ Sangay อุทิศตนเพื่อปกป้องผืนป่า เธอได้เรียนรู้ที่จะยืนหยัด และเข้มแข็งทั้งหน้าที่การงาน รวมถึงชีวิตส่วนตัว และเมื่อวันเกิดครบ 16 ปีของลูกสาวของเธอ หนึ่งในสิ่งที่เธออยากส่งต่อให้ลูกสาวคนเดียวก็คือ “เจตจำนงค์ของการปกป้องผืนป่าซึ่งเป็นบ้านของทุกชีวิต”
-------------------------------------------------
เสียงการดูถูกเย้ยหยันตามหลอกหลอน Durga Gole อยู่ตลอดเวลานับตั้งแต่เธอก้าวเข้ามาเป็นผู้พิทักษ์ป่า ในวัย 22 ปี เธอตัดสินใจที่จะเดินทางสายนี้ และทำงานลาดตระเวนเพื่อปกป้องผืนป่าที่เธอรัก ทว่า สังคมกลับไม่ได้มองเธอเป็น “ฮีโร่” แต่กลับดูถูก ไม่ใช่เพราะความสามารถของเธอแต่อย่างใด แต่เพียงเพราะเธอเกิดมาเป็น “เพศหญิง”
“พวกเขาเอาแต่บั่นทอนความมุ่งมั่นของฉัน ครั้งหนึ่งคนเหล่านั้นเคยตัดต้นไม้ เพื่อที่จะท้าฉัน เพราะเขาคิดว่าฉันคงไม่กล้าไปแจ้งความ”
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อสองปีที่แล้ว หลังจากนั้น ปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้นที่ผืนป่า Churiyamai “กลุ่มสตรีต่อต้านการล่าสัตว์ป่า” (All Women Anti-Poaching Unit) ได้ถือกำเนิดขึ้น โดย Durga เป็นผู้นำเยาชนจากกลุ่มสตรี 23 คน เพื่อเดินลาดตระเวน ณ ผืนป่า Churiyamai เธอได้ขับเคลื่อนพลังเยาวชน และส่งเสริมให้ “ทุกเพศ” สามารถมีส่วนร่วมในงานอนุรักษ์ และร่วมกิจกรรมเพื่อต่อต้านการล่าสัตว์ กลุ่มสตรีต่อต้านการล่าสัตว์ป่าได้ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อรายงานสถานการณ์หากมีกิจกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับการล่าสัตว์ป่าเกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการตั้งสหกรณ์เพื่อสนับสนุนผู้หญิงที่สนใจทำงานเพื่อการอนุรักษ์ และลดแรงกดดัน รวมถึงเปลี่ยนทัศนคติของคนในชุมชนให้เปิดรับโอกาสในการทำงานให้กับผู้คนทุกเพศ
-------------------------------------------------
เมื่อการตระหนักถึงสภาวะวิกฤตของประชากรเสือโคร่งไม่เพียงพอ Intan Mawarwati Sukarna จึงจุดประกายเพื่อให้ “เสือ” กลับมาเป็นวาระเร่งด่วนอีกครั้ง
Intan หนึ่งในเจ้าหน้าที่ของ WWF-อินโดนีเซีย ได้ทุ่มเทอย่างสุดกำลังร่วมกับทีมงานของเธอ เพื่อผลักดันให้ชุมชน และหน่วยงานทุกภาคส่วนตระหนักถึงความเร่งด่วนในการอนุรักษ์เสือโคร่ง เธอได้ทำงานลงพื้นที่ทั้งในตัวเมืองอินโดนีเซีย เพื่อเจรจากับภาครัฐ และรณรงค์ในหลากหลายแคมเปญเพื่อปกป้องผืนป่า นอกจากนี้ Intan ยังทำงานร่วมกับชุมชนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากชุมชนเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของงานอนุรักษ์
“หนึ่งในประสบการณ์ที่ฉันจะไม่ลืมในการทำงานกับ WWF คือ ฉันได้ก้าวเข้าไปในเกาะร้าง ที่ไม่แม้แต่จะปรากฎอยู่ในแผนที่”
“ฉันทำงานร่วมกับคนในชุมชนอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และคำพูดของพวกเขา ทำให้ฉันมีแรงใจในการทำงานเพื่ออนุรักษ์ต่อไป”
“มันเป็นความรู้สึกที่ดีมาก ๆ ที่ฉันไม่รู้ว่าจะหาได้จากที่ไหน เมื่อคุณรับรู้ได้ว่าสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ ได้เปลี่ยนชีวิตของใครคนหนึ่งให้ดีขึ้นได้จริง ๆ”
-------------------------------------------------
แด่สตรีผู้มีหัวใจอันยิ่งใหญ่ พวกเราขอขอบคุณทุกท่านจากใจในพลังที่ท่านมอบให้แก่ธรรมชาติ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://tigers.panda.org/news/women-tiger-protectors/ #WWFThailand #TogetherPossible #WomenPower #WildlifeHeroes