The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
ทำไมเสือจึงถูกผูกกับความเชื่อ
นับตั้งแต่ 5000 ปีก่อนคริสตกาล เสือเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมจีนและได้สร้างตำนานมากมายผ่านเรื่องเล่าปากต่อปาก บทเพลง บทกวี รวมถึงงานศิลปะจากการสร้างสรรค์ของจิตรกร
หลักฐานคือรูปปั้นเสือโบราณยุคหินใหม่ที่ถูกพบในประเทศจีน นับตั้งแต่นั้นมา ตำนานของเสือก็ได้ก้องกังวานไปทั่วภูมิภาคเอเชีย
เสือโคร่งนับได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลางของระบบความเชื่อในภูมิภาคเอเชีย และยิ่งเด่นชัดขึ้นเมื่อเสือโคร่งเบงกอลซึ่งเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นสัตว์ประจำชาติของอินเดีย เสือโคร่งเบงกอลหลวงนั้นยังเป็นสัตว์ประจำชาติของบังคลาเทศ เช่นเดียวกับที่เสือโคร่งมลายูที่เป็นสัตว์ประจำชาติของมาเลเซีย อีกทั้งความเชื่อมโยงระหว่างเหล่าสัตว์ในเกาหลีใต้ ในประเทศเหล่านั้น เสือโคร่งได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณมานานนับพันปี และเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดตำนาน เรื่องราวของจักรวาลวิทยา ศาสนา และปรัชญา ในยุคจีนโบราณ เสือโคร่งคือหนึ่งในสัตว์ 12 ราศีของจีน และมีความเชื่อว่า เด็กคนไหนเกิดในปีเสือจะเป็นคนชอบแข่งขัน มั่นใจในตัวเอง และเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่กล้าหาญ ในแง่จิตวิญญาณ เสือนั้นเป็นตัวแทนของพลังอำนาจ ความกล้าหาญ และความแข็งแกร่งทั้งภายในและภายนอก อีกทั้งความงดงามของสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่ชนิดนี้ที่มาพร้อมกับความกล้าหาญและความดุร้าย ยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นภาพของความแตกต่างอันงดงามของธรรมชาติ
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ความเชื่อเช่นนี้ได้นำมาประยุกต์เข้ากับการเมืองและในแง่การทหาร เช่นในระหว่างยุคโชซอนของประเทศเกาหลี กองกำลังทหารนั้นจะต้องสวมใส่หนังเสือเพื่อแสดงถึงความเคารพยำเกรงของผู้ใต้บังคับบัญชา และใช้เพื่อแสดงถึงความกล้าหาญ และเมื่อถึงที่ญี่ปุ่นมีอาณานิคมเหนือเกาหลี กลุ่มชาตินิยมก็ได้นำเอาเสือมาเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น
ในประเทศจีน เสือได้เป็นหนึ่งในสี่สัตว์ที่ฉลาดที่สุด เคียงคู่กันกับมังกร นกฟินิกซ์ และ เต่า ซึ่งจิตรกรชาวจีนนิยมหยิบมาสรรค์สร้างงานศิลปะ ด้วยคอนเซ็ปต์เช่นนี้ เหล่าสาวกศาสนาพุทธนิกายวัชรยานเอง ก็ได้นำหนังเสือมาเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงความโกรธให้เป็นปัญญา ดังนั้นจึงมีการสวมใส่หนังเสือในระหว่างการนั่งสมาธิ ด้วยความเชื่อที่ว่า หนังเสือจะช่วยปกป้องการรบกวนของวิญญาณและภัยอันตราย ในขณะเข้าสู่ห้วงสมาธิ
แม้กาลเวลาจะผันผ่าน แต่ในปัจจุบัน เสือโคร่งก็ยังนำมาผูกโยงเข้ากับความเชื่อและความศรัทธา ว่าจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่สามารถดลบันดาลให้ชีวิตแคล้วคลาดปลอดภัย ประสบแต่ความสุขความเจริญ จนก่อให้เกิดมาเป็นการนำชิ้นส่วนของเสือ เช่นเขี้ยวเสือ หนังเสือ รวมถึงอวัยวะเพศของเสือ นำมาสร้างให้กลายมาเป็นเครื่องรางของขลังต่าง ๆ นอกจากนี้ ชิ้นส่วนของเสือยังนำมาใช้ในการทำยาจีนเป็นเวลากว่าพันปีแล้วอีกด้วย
และเป็นที่น่าเศร้าใจ ที่ความเชื่อกลายมาเป็นอีกหนึ่งที่เป็นอันตรายซึ่งคุกคามชีวิตของเหล่าเสือโคร่ง และทำให้เสือโคร่งกลายมาเป็นหนึ่งในสัตว์ที่กำลังตกอยู่ในวังวนของธุรกิจการค้าสัตว์ป่า และหากมนุษย์ยังไม่มองเห็นความสำคัญของชีวิตเสือ เมื่อนั้น.. ชื่อของเสือโคร่งก็อาจกลายเป็นเพียงแค่ตำนาน ที่ลูกหลานไม่มีวันได้เห็น
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.ancient-origins.net/m…/tigers-asian-myth-0010623