The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
ชะตากรรมหมีกริซลี ในยามแซลมอนหมดไปจากแม่น้ำ
ภาพหมีกริซลีกระโดนตะครุบแซลมอนอาจจะกลายเป็นเพียงความทรงจำ เมื่อภาพเหล่านี้กำลังถูกแทนที่ด้วยครอบครัวหมีที่หิวโหย กับแม่น้ำที่ไร้ซึ่งแซลมอนให้ประทังชีวิต
ลมหนาวพัดเข้ามา เตือนให้เหล่าสัตว์ป่าเตรียมพร้อมสำหรับฤดูจำศีล ช่างภาพชาวแคนาดาได้เผยรูปครอบครัวหมีกริซลีที่ผอมโซและหิวโหยกำลังควานหาแซลมอนในแม่น้ำที่ว่างเปล่า ณ Knight Inlet แถบชายฝั่งรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา รูปภาพดังกล่าวทำให้เกิดคำถามว่า “ครอบครัวหมีกริซลีฝูงนี้ จะสามารถอยู่ได้ถึงฤดูจำศีลหรือไม่?”
Knight Inlet เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตของประเทศแคนาดา โดยผู้คนจำนวนมากจากทั่วโลกมักจะเดินทางมายังพื้นที่แห่งนี้เพื่อชมความงามของธรรมชาติ นอกจากนี้ Knight Inlet ยังเป็นจุดชมวิวหมีกริซลีที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ทว่า ความคาดหวังของเหล่าท่องเที่ยวที่หวังจะมาเห็นภาพเจ้าหมีกริซลีตัวอ้วนกระโดดตะครุบปลาแซลมอนเหมือนในโฆษณากลับพังทลาย เนื่องจากภาพตรงหน้ากลับเป็นหมีแสนหิวโหยที่ควานหาเหยื่ออย่างสิ้นหวังในแม่น้ำที่ไร้ซึ่งปลาแซลมอน
“พวกหมีกำลังตกอยู่ในสภาวะที่ยากลำบาก” เจค สมิธ หัวหน้าดูแลพื้นที่ของชาวพื้นเมือง Mamalilikulla First Nation ในรัฐบริติชโคลัมเบีย กล่าวอย่างเป็นกังวล และได้ชี้แจงเพิ่มว่า นี่เป็นฤดูแซลมอนที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 50 ปี เนื่องจากผลพวงของการประมงเพื่อการค้า และการทำฟาร์มแซลมอนที่มากเกินในบริติชโคลัมเบีย
เหตุการณ์ดังกล่าว เป็นหนึ่งในหลักฐานที่ชี้ชัดถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกรมประมง และมหาสมุทรของแคนาดา (Fisheries and Oceans Canada) ชี้ว่า ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อุณหภูมิในประเทศแคนาดาสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยของโลกเป็นสองเท่า นอกจากนี้คลื่นความร้อนทางทะเล (Marine Heatwaves) อาจทำให้เกิดน้ำท่วม และภัยแล้งบ่อยครั้ง โดยทั้งหมดส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และที่อยู่อาศัยของปลาแซลมอนในธรรมชาติ ทำให้ประชากรลดลงอย่างมหาศาลในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
“เห็นได้ว่า ที่ไหนที่มีการทำฟาร์มแซลมอน พื้นที่แถบนั้นจะมีประชากรแซลมอนในธรรมชาติลดลง” อเล็กแซนดรา มอร์ตัน นักชีววิทยาผู้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของการทำฟาร์มสัตว์มาร่วม 30 ปี กล่าว เธอชี้ว่า การทำฟาร์มเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่คุกคามประชากรแซลมอนเช่นกัน เนื่องจากโรงเพาะเลี้ยงแพร่เชื้อไวรัส และปล่อยของเสียสู่แม่น้ำ ทำให้แซลมอนที่อาศัยในธรรมขาติติดไวรัสและตายในที่สุด
แคนาดาไม่ใช่ประเทศเดียวที่ประสบปัญหาประชากรแซลมอนในธรรมชาติลดลง เนื่องจากเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา คลื่นความร้อนในอลาสกาทำให้แซลมอนหลายร้อยตัวตายจากภาวะเครียด ส่ิงที่น่ากังวลต่อจากนี้คือ หากประชากรแซลมอนในธรรมชาติยังลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ประชากรหมีกริซลีลดลงตามไปด้วย และอาจส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อระบบนิเวศในพื้นที่ดังกล่าว ดังคำเตือนของใครหลายคนที่ว่า "มนุษย์กำลังทำให้ธรรมชาติเปลี่ยนไป"
จะเห็นได้ว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลจากการกระทำของมนุษย์ ได้เผยให้เราเห็นทีละนิดแล้ว โดยระบบนิเวศของเรากำลังถูกคุกคามอย่างหนัก และกำลังจะล่มสลาย หากห่วงโซ่อาหารถูกทำลาย สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ก็อาจค่อย ๆ สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้อย่างที่เราไม่ทันตั้งตัว
สถานการณ์นี้ ได้ย้ำเตือนเราว่าในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า อาจไม่ได้มีแต่เพียงหมีกรีซลีเท่านั้นที่ขาดแคลนอาหาร แต่มนุษย์เองก็อาจเผชิญกับภาวะดังกล่าวเช่นกัน และหากมนุษย์ยังคงเฉยชาต่อสัญญาณเตือนของความหายนะจากธรรมชาติ ชะตากรรมของมนุษย์ในวันข้างหน้า ก็คงไม่ต่างกับชะตากรรมของหมีกริซลีในเวลานี้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://cnn.it/2OrCOvm