What would you like to search for?

Our News

กัญจนา ศิลปอาชา


คุณกัญจนา ศิลปอาชา เปิดบทสนทนากับ WWF ประเทศไทย เรานั่งสนทนากันอยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยภาพศิลปะรูปช้าง ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องบังเอิญ แต่ช้างไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวที่เธอรัก ใครหลายคนน่าจะรู้จักเธอผ่านการอุทิศกาย ใจ และกำลังทรัพย์ เพื่อสัตว์หลายชนิด

“ไม่ว่าลิง เต่า หมี ช้าง หมา แมว จระเข้ โลมา พะยูน รับหมดเลยนะคะ เป็นศูนย์รวมสรรพสัตว์ ศูนย์รวมข้อร้องเรียนความทุกข์ยากของสัตว์” นอกจากข้อร้องเรียนรายวันที่เข้ามาเพื่อให้เธอช่วยเหลือ คุณกัญจนายังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายที่เธอเอาจริงเอาจังอย่างมาก ลูกเสือของกลางที่เป็นที่รักของคนไทยหลายคนอย่าง ‘น้องขวัญ’ ก็ถูกตั้งชื่อโดยเธอเอง ทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งในเรื่องราวที่เราจะสนทนากันต่อไป
 

Q: ความยากหรือข้อท้าทายของงานอนุรักษ์ อย่างกรณีความขัดแย้งระหว่างช้างป่ากับชุมชน มีอะไรบ้าง และคิดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แล้วเราพยายามทำงานรับมืออย่างไร?
คุณกัญจนา: มันมีหลายพื้นที่ที่ความขัดแย้งมันรุนแรงมากโดยเฉพาะในแถบภาคตะวันตก คนที่รักสัตว์ก็จะบอกว่าป่าเป็นที่อยู่ของช้างมาก่อนนะ คนไปบุกรุก คนก็จะบอกว่าเขาก็อยู่มาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษแล้ว ตัวเองก็จะพูดเสมอว่า มันหมดเวลาที่จะมาเถียงกันแล้วว่าใครอยู่ก่อนใคร ต้องมาเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกันอย่างสันติ

เราก็จะเห็นมีข่าวช้างฆ่าคนก็มี แต่จริงๆ ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า ถ้าเขาไม่ถูกรบกวน ไม่ถูกทำให้ตกใจหรือรู้สึกว่ามีภัยมา เขาก็ไม่ทำอะไรหรอกค่ะ เขาก็แค่หากินไปเท่านั้น นอกจากเอาประทัดไปจุดไล่เขา ทำให้เขารู้สึกว่าภัยมาถึงตัว เขาก็ต้องปกป้องตัวเอง เรื่องที่คนทำร้ายช้างก็มีเยอะ ช้างหลายตัวมากที่กระสุนอยู่ในตัวเกิน 40-50 เม็ด คือโดนยิงสะสม

สิ่งที่เจ้าหน้าที่พยายามทำก็คือพยายามสร้างความเข้าใจแล้วก็สร้างแหล่งอาหารและน้ำให้ช้างเพื่อไม่ให้ช้างออกมาสู่บริเวณที่คนเพาะปลูก แต่ต้องเข้าใจว่าวิถีของช้างมันเปลี่ยนไป เมื่อก่อนเขาอาจจะกินอาหารในป่า แต่พอคนปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด ข้าวโพด พอพวกเขาเดินออกมาก็เหมือนมาเจอเซเว่นน่ะ พฤติกรรมพวกเขาจึงเปลี่ยนไป ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็พยายามผลักดันให้เขาเข้าไปอยู่ในป่าลึก แล้วในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งก็พยายามแนะนำให้ชาวบ้านปลูกพืชเศรษฐกิจที่ช้างไม่ชอบ เขาคงไม่เข้าใจเราหรอกช้างน่ะ แต่คนต้องเข้าใจเขา คนต้องปรับตัว ไม่อย่างนั้นคุณก็ฆ่าเขาตายหมด ต้องปรับทัศนคติว่าช้างเขาไม่ได้เป็นอันธพาลมาหาเรื่องใคร เขาทำด้วยสัญชาตญาณป้องกันตัวของเขา ต้องออกแบบแนวกันช้างที่มีประสิทธิภาพที่ปลอดภัยต่อทั้งคนและช้าง พยายามปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้เป็นพืชที่ช้างไม่นิยม ตอนนี้ที่ทางกรมฯ กำลังพยายามผลักดันอยู่คือเงินชดเชยให้กับคนที่ได้รับความเสียหายจากช้าง

อีกความยากหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นสัตว์คือคนไม่ได้ให้ความสนใจ สัตว์เขาพูดเองไม่ได้ ถ้าเราไม่มีพูดใครจะพูดให้เขา แล้วถ้าเราพูดตอนที่เราไม่ได้อยู่ในสถานะที่คนอื่นจะฟัง เขาก็ไม่ทำ มันก็เลยยากไงคะ พออยู่ในจุดที่ทำได้ก็ต้องรีบทำ พูดตรงๆ นะว่านักการเมืองที่สนใจเรื่องสัตว์แทบจะไม่ค่อยมีเลยค่ะ เพราะว่าเขาลงคะแนนให้ไม่ได้
 

Q: การหาจุดสมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มองเรื่องนี้อย่างไร?
คุณกัญจนา: คุณต้องหาวิธีการก่อน โลกเดี๋ยวนี้มันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เยอะมาก ถ้ามันมีทางเลือกที่ไม่ต้องทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติคุณต้องเลือกทางนั้น เพราะว่าโครงการพัฒนาต่างๆ คุณสร้างได้ภายในปีสองปี แต่ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศมันสะสมตัวมานับร้อยนับพันปี คุณไม่ได้สร้างได้แค่ในสิบปี แต่คุณทำลายได้แค่ชั่วพริบตาเดียว เพราะฉะนั้นถ้ามีทางเลือกอื่นก็ขอให้เลือกทางนั้น ซึ่งมันไม่เกินวิสัยมนุษย์หรอก
เศรษฐกิจมันก็ต้องสมดุลกับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย เพราะว่าเศรษฐกิจดีแต่สิ่งแวดล้อมพัง คุณภาพชีวิตคุณก็ไม่ดี คุณมีเงินแต่สุขภาพคุณแย่ แล้วคุณจะเอาเงินไปใช้ยังไง แล้วคุณจะส่งมอบโลกแบบไหนให้ลูกหลานคุณ คุณมีเงินเป็นพันเป็นหมื่นล้าน คุณไม่มีแหล่งน้ำสะอาด ต้องเจอกับน้ำท่วม ภัยแล้ง คุณมีความสุขกับโลกแบบนี้เหรอ เงินคือกระดาษอย่างเดียวเลยนะถ้าคุณภาพชีวิตของคนเราไม่ดี เพราะสิ่งแวดล้อมที่คุณทำลายไปโดยที่คุณอ้างว่าเป็นการทำเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ มันแลกกันได้ไหม

Q: งานอนุรักษ์ที่ทำอยู่มีความเชื่อมโยงและมีความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในไทยและโลก ท่ามกลางวิกฤตปัญหา Climate Change อย่างไรบ้าง?
คุณกัญจนา: ตัวเองไม่เคยมองในสเกลใหญ่โตอะไรเลย ตัวพี่ก็ลูกทุ่งแบบนี้แหละ มันจะโยงกับ Climate Change อย่างไรไม่เคยคิด แต่รู้ว่าผลมันจะเป็นไปได้เองโดยอัตโนมัติ เพราะการที่เรารักษาและถนอมทรัพยากรรธรรมชาติ สุดท้ายมันก็กลับมาเป็นประโยชน์แก่ตัวมนุษย์เอง
 
Q: ตอนนี้งานอนุรักษ์ที่ทำอยู่คืออะไร และอะไรเป็นแรงบันดาลใจหรือเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ามาทำงานอนุรักษ์ในด้านนี้?
คุณกัญจนา: ถามว่าอะไรเป็นแรงบันดาลใจ อันนี้ก็ตอบไม่ถูกนะ แต่รู้ว่ามันอยู่ในใจแล้วมันก็ผลักออกมาเป็นการปฏิบัตินะคะ คือใจเป็นคนรักสัตว์มาก ทั้งสัตว์ป่า สัตว์บ้าน สัตว์ทั้งปวง ตอนนี้เป็นศูนย์รวมรับเรื่องสรรพสัตว์ทั้งปวง สี่ขา สองขา ไม่มีขา ทุกเรื่องเลย
ถามว่าทำไมรักสัตว์มาก เพราะว่าเขาพูดไม่ได้ เขาไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้ คนเป็นเผ่าพันธุ์ที่รังแกเผ่าพันธุ์อื่นมากที่สุด แล้วชอบคิดว่าโลกนี้ตัวเองมีสถานะสูงกว่าสัตว์อื่น ซึ่งมันไม่ใช่นะคะ สัตว์ทุกเผ่าพันธุ์มีสิทธิ์ที่จะอยู่บนโลกนี้อย่างเท่าเทียมกัน ต้องเกื้อกูลอาศัยซึ่งกันและกัน

เป็นคนรักสัตว์ รักธรรมชาติ รักสิ่งแวดล้อม เป็นคนถนอมและหวงแหนไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แหล่งน้ำ สายธาร อากาศที่บริสุทธิ์ทั้งปวง เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มันเปราะบาง แล้วมันมีผลกลับมาสู่คุณภาพชีวิตของเราด้วย มันไม่ควรถูกทำลายในยุคของเรา เราควรจะส่งมอบธรรมชาติที่งดงามให้กับลูกหลาน จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าระยะหลังๆ คนตระหนักเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่งานด้านนี้มันทำไม่จบไม่สิ้นหรอก มันก็ยังคงต้องทำต่อไป

ถ้าพูดตรงๆ เลย พูดไปก็เขินนิดหน่อยนะ จริงๆ ส่วนหนึ่งก็มาจากแพนด้า ‘หลินปิง’ ตอนนั้นติดเขามาก เมื่อก่อนมีช่องไลฟ์สดหลินปิงตลอด 24 ชั่วโมง กลับบ้านมาก็เปิดช่องนี้ อันนั้นก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้รักสัตว์ทุกอย่างเลย อีกแรงบันดาลใจหนึ่งก็คือเมื่อต้นปี 2557 เคยดูสารคดีเกี่ยวกับคนช่วยช้าง ก็รู้สึกประทับใจเลยเดินทางไปที่นั่น จากนั้นก็ผูกพันกับช้างมาตลอด ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของช้าง รู้ว่าช้างเขามีความผูกพันรักในครอบครัวเหมือนมนุษย์ไม่ต่างกันเลย อายุก็เท่าๆ กับมนุษย์ ถ้าเป็นลูกสาวก็จะอยู่กับโขลงชั่วชีวิต ถ้าเป็นลูกชายประมาณ 8-9 ขวบก็ต้องแยกออกไป แล้วก็มีความทรงจำที่ส่งทอดจากรุ่นสู่รุ่นเหมือนมนุษย์ เวลาเกิดภัยอะไรตัวผู้ใหญ่ก็จะมาล้อมตัวเล็ก ความเจ็บปวดอะไรเขารู้สึกได้ไม่ต่างจากคน

ผูกพันแล้วก็รู้สึกว่าช้างเลี้ยงในหลายที่ยังได้รับการดูแลที่ไม่ดี ยามอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบูมเขาก็ลำบาก เพราะว่าโดนใช้งานหัวไม่ได้ว่างหางไม่ได้เว้น เห็นกับตาเลยว่าบางที่ ช้างรับนักท่องเที่ยวมา พอนักท่องเที่ยวลงจากหลังปุ๊บ ช้างเขากำลังจะเอางวงเกี่ยวหญ้าขึ้นมากิน เจ้าของก็สั่งให้อีกชุดหนึ่งขึ้นไปเดินต่ออีกทันที แทบจะไม่ได้พักเลย ยามโควิดไม่มีนักท่องเที่ยวก็ลำบากอีก สรุปไม่ว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบูมหรือไม่บูม ช้างก็ลำบากตลอด

ที่ผ่านมาก็สู้ทั้งช้างบ้านและช้างป่า ช้างบ้านเราผลักดนจนมีมาตรฐานปางช้างออกมา ถ้าเราไม่ได้ดูแลตรงกรมปศุสัตว์ สำนักมาตรฐานเกษตร เราก็ผลักดันตัวนี้ออกมาไม่ได้นะคะ สวนสัตว์ยังมีมาตรฐาน แต่ปางช้างที่มีทั้งหมดในประเทศไทยประมาณ 200 กว่าปางไม่มีมาตรฐานเลย บางที่ที่เคยเห็นมีแค่ช้างสามเชือกมีเพิงสังกะสีเล็กๆ อยู่ริมถนนก็เป็นปางแล้ว ไม่มีสวัสดิภาพใดใดของช้าง ไม่มีสัตวแพทย์ ไม่มีการดูแลสุขลักษณะ อาหารการกิน เจ็บปวดต้องไม่ใช้งาน ไม่มีนะคะ ใช้งานเขาจนวันตาย แม้ตาบอด ขาพิการก็ยังใช้เขา โซ่ล่ามก็ล่ามสั้นมากไม่มีเวลาผ่อนโซ่เลย จึงได้ผลักดันมาตรฐานปางช้างมาตั้งแต่ปี 2557 เพิ่งได้เมื่อปีที่แล้วนี่เอง
 

Q: มองปัญหาเรื่องการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายอย่างไร?
คุณกัญจนา: เรื่องต่อต้านการค้าสัตว์ป่า คนรู้ว่าพี่เอาจริงเอาจังมาก ตอนนี้เป็นศูนย์รวมรับเรื่องต่างๆ ที่มันโจ่งครึ่มค้านู่นค้านี่ แต่การที่เราจับได้มากขึ้นก็เป็นปัญหาอีก เพราะเราก็ต้องมีที่เลี้ยงเขาใช่ไหม พอสัตว์ของกลางเยอะมันก็ต้องใช้งบประมาณเยอะ
พวกเสือหรือสัตว์เพาะพันธุ์ทั้งหลายพี่ต่อต้านมาตลอด ตัวพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ถูกใช้จนโทรม ไม่ว่าจะฟาร์มหมาแมวหรือเสือ พี่ต่อต้านมาตลอด อย่างน้องหมาน้องแมวถ้าคุณอยากจะเลี้ยง คุณไปหาตาม shelter น่ะเยอะแยะ พวกนี้เขาเจียมตัวมากเพราะเขาอยากมีคนมารับเขาไปเลี้ยง คุณอย่าไปซื้อตามฟาร์มเพราะพวกนั้นถูกบังคับผสมพันธุ์

ตอนนี้กำลังผลักดันให้สัตว์แนว exotic ไม่สามารถถูกเพาะได้ อย่างการเอาไปโชว์ในศูนย์การค้า มันใช่ที่ของเขาไหม พยายามผลักดันสัตว์ป่าที่ควรอยู่กับป่าไม่ให้มาเพาะพันธุ์ซื้อขายกันได้ พี่ต่อต้านเสือในกรงซึ่งมีเยอะมากกว่า 1,500 ตัว แต่เสือในป่าที่สร้างสมดุลในระบบนิเวศ เรายังมีไม่เยอะนะ สองสามร้อยตัวเอง การที่บอกว่าเรามีเสือเยอะ นั่นมันเยอะในกรง มันไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ มันต้องเสือในป่า

จริงๆ ตัวเองเป็นคนตั้งชื่อน้องขวัญ น้องขวัญก็เป็นหนึ่งในสัตว์ของกลางที่ตอนนี้ก็โตขึ้นทุกวัน มันเลือกไม่ได้ยังไงเขาก็ต้องอยู่ในกรง แต่สิ่งที่พี่ทำให้น้องได้ คือพี่สร้างกรงให้น้องใหญ่มหึมาเลย งบกรมฯ ไม่มีนะ งบพี่เอง ในนั้นจะมีน้ำตกที่ไหลเป็นชั้นให้น้องสามารถไปนอนระหว่างชั้นก็ได้ มีลำธาร มีถ้ำเทียม มีโขดหิน มีสนามหญ้า ทำดีที่สุดให้น้องได้แค่ประมาณนี้แหละค่ะเพราะไม่ว่ายังไงน้องก็ต้องอยู่ในกรงแบบนี้ เป็นเหยื่อของการกระทำของคน ทุกวันนี้คนรับรู้และเข้าใจแล้วว่าน้องขวัญเป็นตัวแทนของเหยื่อที่เราต้องไม่สนับสนุน ต้องไม่มองว่าน้องขวัญเป็นความน่ารัก ทุกคนจะบอกว่าสงสารน้องขวัญจังเลยเพราะต้องอยู่กรงไปตลอดชีวิต ไม่มองฉาบฉวยแค่ว่าน้องน่ารัก เพราะน้องก็โตขึ้นตลอด ตอนนี้สี่เดือนตัวโตมาก แต่โตแต่ตัวนะ ใจยังเป็นเด็ก

Q: อะไรเป็นเป้าหมายสูงสุดที่เรามีต่อการทำงานอนุรักษ์ของตัวเอง?
คุณกัญจนา: บอกตรงๆ ว่า ทำวันต่อวัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด แล้ววันหน้ามันก็จะดีเอง ทำแล้วต้องวางให้เป็น ที่ผ่านมาในอดีตวางไม่เป็น เมื่อก่อนตอนทำเรื่องสัตว์สมัยแรกๆ วางไม่เป็น ความดันสูง เครียดมากเพราะว่าสงสารเขา เอาทุกข์ของเขามาแบกเป็นทุกข์ของเราเองหมดเลย ก็ต้องปรับตัวเอง เพราะถ้าเราไม่แข็งแรง เราก็จะไม่สามารถช่วยพวกเขาได้ ก็ได้ธรรมะมาช่วยเนอะ ท่านบอกว่าทำดีที่สุดแล้ว แต่สิ่งที่เราทำมันมีเหตุปัจจัยอื่นมากมายไม่ใช่แค่ความสามารถของเราเพียงลำพัง ถ้าปัจจัยเหตุผลทั้งหลายมันพร้อม ผลสำเร็จมันก็จะมาเอง แต่ถ้าเราทำดีที่สุดแล้วแต่เหตุปัจจัยอื่นมัยยังไม่เอื้อ เราก็ต้องวางไว้ว่ามันยังไม่ได้นะ แต่เราทำดีที่สุดแล้ว ไม่ได้มีเป้าหมายอะไร มีเรื่องอะไรเข้ามาวันนี้ ถ้าทำได้ก็ทำหมดเลย เวลามีเรื่องร้องเรียนอะไรมา ตรงไหนทำได้ก็ทำหมดเลย เพราะมองว่าเราอยู่ในจุดที่ทำได้มากกว่าคนอื่น วันไหนที่เราไม่ได้อยู่ตรงจุดนี้ มองกลับมาเราจะไม่ได้เสียใจว่าเราเคยอยู่จุดที่เราทำได้แล้วเราไม่ทำ
 
สัมภาษณ์ และเรียบเรียง: วิรดา แซ่ลิ่ม





 

คุณกัญจนา ศิลปอาชา เปิดบทสนทนากับ WWF ประเทศไทย เรานั่งสนทนากันอยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยภาพศิลปะรูปช้าง ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องบังเอิญ แต่ช้างไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวที่เธอรัก ใครหลายคนน่าจะรู้จักเธอผ่านการอุทิศกาย ใจ และกำลังทรัพย์ เพื่อสัตว์หลายชนิด

“ไม่ว่าลิง เต่า หมี ช้าง หมา แมว จระเข้ โลมา พะยูน รับหมดเลยนะคะ เป็นศูนย์รวมสรรพสัตว์ ศูนย์รวมข้อร้องเรียนความทุกข์ยากของสัตว์” นอกจากข้อร้องเรียนรายวันที่เข้ามาเพื่อให้เธอช่วยเหลือ คุณกัญจนายังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายที่เธอเอาจริงเอาจังอย่างมาก ลูกเสือของกลางที่เป็นที่รักของคนไทยหลายคนอย่าง ‘น้องขวัญ’ ก็ถูกตั้งชื่อโดยเธอเอง ทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งในเรื่องราวที่เราจะสนทนากันต่อไป
 

Q: ความยากหรือข้อท้าทายของงานอนุรักษ์ อย่างกรณีความขัดแย้งระหว่างช้างป่ากับชุมชน มีอะไรบ้าง และคิดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แล้วเราพยายามทำงานรับมืออย่างไร?
คุณกัญจนา: มันมีหลายพื้นที่ที่ความขัดแย้งมันรุนแรงมากโดยเฉพาะในแถบภาคตะวันตก คนที่รักสัตว์ก็จะบอกว่าป่าเป็นที่อยู่ของช้างมาก่อนนะ คนไปบุกรุก คนก็จะบอกว่าเขาก็อยู่มาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษแล้ว ตัวเองก็จะพูดเสมอว่า มันหมดเวลาที่จะมาเถียงกันแล้วว่าใครอยู่ก่อนใคร ต้องมาเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกันอย่างสันติ

เราก็จะเห็นมีข่าวช้างฆ่าคนก็มี แต่จริงๆ ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า ถ้าเขาไม่ถูกรบกวน ไม่ถูกทำให้ตกใจหรือรู้สึกว่ามีภัยมา เขาก็ไม่ทำอะไรหรอกค่ะ เขาก็แค่หากินไปเท่านั้น นอกจากเอาประทัดไปจุดไล่เขา ทำให้เขารู้สึกว่าภัยมาถึงตัว เขาก็ต้องปกป้องตัวเอง เรื่องที่คนทำร้ายช้างก็มีเยอะ ช้างหลายตัวมากที่กระสุนอยู่ในตัวเกิน 40-50 เม็ด คือโดนยิงสะสม

สิ่งที่เจ้าหน้าที่พยายามทำก็คือพยายามสร้างความเข้าใจแล้วก็สร้างแหล่งอาหารและน้ำให้ช้างเพื่อไม่ให้ช้างออกมาสู่บริเวณที่คนเพาะปลูก แต่ต้องเข้าใจว่าวิถีของช้างมันเปลี่ยนไป เมื่อก่อนเขาอาจจะกินอาหารในป่า แต่พอคนปลูกมันสำปะหลัง สับปะรด ข้าวโพด พอพวกเขาเดินออกมาก็เหมือนมาเจอเซเว่นน่ะ พฤติกรรมพวกเขาจึงเปลี่ยนไป ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็พยายามผลักดันให้เขาเข้าไปอยู่ในป่าลึก แล้วในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งก็พยายามแนะนำให้ชาวบ้านปลูกพืชเศรษฐกิจที่ช้างไม่ชอบ เขาคงไม่เข้าใจเราหรอกช้างน่ะ แต่คนต้องเข้าใจเขา คนต้องปรับตัว ไม่อย่างนั้นคุณก็ฆ่าเขาตายหมด ต้องปรับทัศนคติว่าช้างเขาไม่ได้เป็นอันธพาลมาหาเรื่องใคร เขาทำด้วยสัญชาตญาณป้องกันตัวของเขา ต้องออกแบบแนวกันช้างที่มีประสิทธิภาพที่ปลอดภัยต่อทั้งคนและช้าง พยายามปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้เป็นพืชที่ช้างไม่นิยม ตอนนี้ที่ทางกรมฯ กำลังพยายามผลักดันอยู่คือเงินชดเชยให้กับคนที่ได้รับความเสียหายจากช้าง

อีกความยากหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นสัตว์คือคนไม่ได้ให้ความสนใจ สัตว์เขาพูดเองไม่ได้ ถ้าเราไม่มีพูดใครจะพูดให้เขา แล้วถ้าเราพูดตอนที่เราไม่ได้อยู่ในสถานะที่คนอื่นจะฟัง เขาก็ไม่ทำ มันก็เลยยากไงคะ พออยู่ในจุดที่ทำได้ก็ต้องรีบทำ พูดตรงๆ นะว่านักการเมืองที่สนใจเรื่องสัตว์แทบจะไม่ค่อยมีเลยค่ะ เพราะว่าเขาลงคะแนนให้ไม่ได้
 

Q: การหาจุดสมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มองเรื่องนี้อย่างไร?
คุณกัญจนา: คุณต้องหาวิธีการก่อน โลกเดี๋ยวนี้มันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เยอะมาก ถ้ามันมีทางเลือกที่ไม่ต้องทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติคุณต้องเลือกทางนั้น เพราะว่าโครงการพัฒนาต่างๆ คุณสร้างได้ภายในปีสองปี แต่ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศมันสะสมตัวมานับร้อยนับพันปี คุณไม่ได้สร้างได้แค่ในสิบปี แต่คุณทำลายได้แค่ชั่วพริบตาเดียว เพราะฉะนั้นถ้ามีทางเลือกอื่นก็ขอให้เลือกทางนั้น ซึ่งมันไม่เกินวิสัยมนุษย์หรอก
เศรษฐกิจมันก็ต้องสมดุลกับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย เพราะว่าเศรษฐกิจดีแต่สิ่งแวดล้อมพัง คุณภาพชีวิตคุณก็ไม่ดี คุณมีเงินแต่สุขภาพคุณแย่ แล้วคุณจะเอาเงินไปใช้ยังไง แล้วคุณจะส่งมอบโลกแบบไหนให้ลูกหลานคุณ คุณมีเงินเป็นพันเป็นหมื่นล้าน คุณไม่มีแหล่งน้ำสะอาด ต้องเจอกับน้ำท่วม ภัยแล้ง คุณมีความสุขกับโลกแบบนี้เหรอ เงินคือกระดาษอย่างเดียวเลยนะถ้าคุณภาพชีวิตของคนเราไม่ดี เพราะสิ่งแวดล้อมที่คุณทำลายไปโดยที่คุณอ้างว่าเป็นการทำเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ มันแลกกันได้ไหม

Q: งานอนุรักษ์ที่ทำอยู่มีความเชื่อมโยงและมีความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในไทยและโลก ท่ามกลางวิกฤตปัญหา Climate Change อย่างไรบ้าง?
คุณกัญจนา: ตัวเองไม่เคยมองในสเกลใหญ่โตอะไรเลย ตัวพี่ก็ลูกทุ่งแบบนี้แหละ มันจะโยงกับ Climate Change อย่างไรไม่เคยคิด แต่รู้ว่าผลมันจะเป็นไปได้เองโดยอัตโนมัติ เพราะการที่เรารักษาและถนอมทรัพยากรรธรรมชาติ สุดท้ายมันก็กลับมาเป็นประโยชน์แก่ตัวมนุษย์เอง
 
Q: ตอนนี้งานอนุรักษ์ที่ทำอยู่คืออะไร และอะไรเป็นแรงบันดาลใจหรือเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ามาทำงานอนุรักษ์ในด้านนี้?
คุณกัญจนา: ถามว่าอะไรเป็นแรงบันดาลใจ อันนี้ก็ตอบไม่ถูกนะ แต่รู้ว่ามันอยู่ในใจแล้วมันก็ผลักออกมาเป็นการปฏิบัตินะคะ คือใจเป็นคนรักสัตว์มาก ทั้งสัตว์ป่า สัตว์บ้าน สัตว์ทั้งปวง ตอนนี้เป็นศูนย์รวมรับเรื่องสรรพสัตว์ทั้งปวง สี่ขา สองขา ไม่มีขา ทุกเรื่องเลย
ถามว่าทำไมรักสัตว์มาก เพราะว่าเขาพูดไม่ได้ เขาไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้ คนเป็นเผ่าพันธุ์ที่รังแกเผ่าพันธุ์อื่นมากที่สุด แล้วชอบคิดว่าโลกนี้ตัวเองมีสถานะสูงกว่าสัตว์อื่น ซึ่งมันไม่ใช่นะคะ สัตว์ทุกเผ่าพันธุ์มีสิทธิ์ที่จะอยู่บนโลกนี้อย่างเท่าเทียมกัน ต้องเกื้อกูลอาศัยซึ่งกันและกัน

เป็นคนรักสัตว์ รักธรรมชาติ รักสิ่งแวดล้อม เป็นคนถนอมและหวงแหนไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แหล่งน้ำ สายธาร อากาศที่บริสุทธิ์ทั้งปวง เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มันเปราะบาง แล้วมันมีผลกลับมาสู่คุณภาพชีวิตของเราด้วย มันไม่ควรถูกทำลายในยุคของเรา เราควรจะส่งมอบธรรมชาติที่งดงามให้กับลูกหลาน จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าระยะหลังๆ คนตระหนักเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่งานด้านนี้มันทำไม่จบไม่สิ้นหรอก มันก็ยังคงต้องทำต่อไป

ถ้าพูดตรงๆ เลย พูดไปก็เขินนิดหน่อยนะ จริงๆ ส่วนหนึ่งก็มาจากแพนด้า ‘หลินปิง’ ตอนนั้นติดเขามาก เมื่อก่อนมีช่องไลฟ์สดหลินปิงตลอด 24 ชั่วโมง กลับบ้านมาก็เปิดช่องนี้ อันนั้นก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้รักสัตว์ทุกอย่างเลย อีกแรงบันดาลใจหนึ่งก็คือเมื่อต้นปี 2557 เคยดูสารคดีเกี่ยวกับคนช่วยช้าง ก็รู้สึกประทับใจเลยเดินทางไปที่นั่น จากนั้นก็ผูกพันกับช้างมาตลอด ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของช้าง รู้ว่าช้างเขามีความผูกพันรักในครอบครัวเหมือนมนุษย์ไม่ต่างกันเลย อายุก็เท่าๆ กับมนุษย์ ถ้าเป็นลูกสาวก็จะอยู่กับโขลงชั่วชีวิต ถ้าเป็นลูกชายประมาณ 8-9 ขวบก็ต้องแยกออกไป แล้วก็มีความทรงจำที่ส่งทอดจากรุ่นสู่รุ่นเหมือนมนุษย์ เวลาเกิดภัยอะไรตัวผู้ใหญ่ก็จะมาล้อมตัวเล็ก ความเจ็บปวดอะไรเขารู้สึกได้ไม่ต่างจากคน

ผูกพันแล้วก็รู้สึกว่าช้างเลี้ยงในหลายที่ยังได้รับการดูแลที่ไม่ดี ยามอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบูมเขาก็ลำบาก เพราะว่าโดนใช้งานหัวไม่ได้ว่างหางไม่ได้เว้น เห็นกับตาเลยว่าบางที่ ช้างรับนักท่องเที่ยวมา พอนักท่องเที่ยวลงจากหลังปุ๊บ ช้างเขากำลังจะเอางวงเกี่ยวหญ้าขึ้นมากิน เจ้าของก็สั่งให้อีกชุดหนึ่งขึ้นไปเดินต่ออีกทันที แทบจะไม่ได้พักเลย ยามโควิดไม่มีนักท่องเที่ยวก็ลำบากอีก สรุปไม่ว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบูมหรือไม่บูม ช้างก็ลำบากตลอด

ที่ผ่านมาก็สู้ทั้งช้างบ้านและช้างป่า ช้างบ้านเราผลักดนจนมีมาตรฐานปางช้างออกมา ถ้าเราไม่ได้ดูแลตรงกรมปศุสัตว์ สำนักมาตรฐานเกษตร เราก็ผลักดันตัวนี้ออกมาไม่ได้นะคะ สวนสัตว์ยังมีมาตรฐาน แต่ปางช้างที่มีทั้งหมดในประเทศไทยประมาณ 200 กว่าปางไม่มีมาตรฐานเลย บางที่ที่เคยเห็นมีแค่ช้างสามเชือกมีเพิงสังกะสีเล็กๆ อยู่ริมถนนก็เป็นปางแล้ว ไม่มีสวัสดิภาพใดใดของช้าง ไม่มีสัตวแพทย์ ไม่มีการดูแลสุขลักษณะ อาหารการกิน เจ็บปวดต้องไม่ใช้งาน ไม่มีนะคะ ใช้งานเขาจนวันตาย แม้ตาบอด ขาพิการก็ยังใช้เขา โซ่ล่ามก็ล่ามสั้นมากไม่มีเวลาผ่อนโซ่เลย จึงได้ผลักดันมาตรฐานปางช้างมาตั้งแต่ปี 2557 เพิ่งได้เมื่อปีที่แล้วนี่เอง
 

Q: มองปัญหาเรื่องการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายอย่างไร?
คุณกัญจนา: เรื่องต่อต้านการค้าสัตว์ป่า คนรู้ว่าพี่เอาจริงเอาจังมาก ตอนนี้เป็นศูนย์รวมรับเรื่องต่างๆ ที่มันโจ่งครึ่มค้านู่นค้านี่ แต่การที่เราจับได้มากขึ้นก็เป็นปัญหาอีก เพราะเราก็ต้องมีที่เลี้ยงเขาใช่ไหม พอสัตว์ของกลางเยอะมันก็ต้องใช้งบประมาณเยอะ
พวกเสือหรือสัตว์เพาะพันธุ์ทั้งหลายพี่ต่อต้านมาตลอด ตัวพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ถูกใช้จนโทรม ไม่ว่าจะฟาร์มหมาแมวหรือเสือ พี่ต่อต้านมาตลอด อย่างน้องหมาน้องแมวถ้าคุณอยากจะเลี้ยง คุณไปหาตาม shelter น่ะเยอะแยะ พวกนี้เขาเจียมตัวมากเพราะเขาอยากมีคนมารับเขาไปเลี้ยง คุณอย่าไปซื้อตามฟาร์มเพราะพวกนั้นถูกบังคับผสมพันธุ์

ตอนนี้กำลังผลักดันให้สัตว์แนว exotic ไม่สามารถถูกเพาะได้ อย่างการเอาไปโชว์ในศูนย์การค้า มันใช่ที่ของเขาไหม พยายามผลักดันสัตว์ป่าที่ควรอยู่กับป่าไม่ให้มาเพาะพันธุ์ซื้อขายกันได้ พี่ต่อต้านเสือในกรงซึ่งมีเยอะมากกว่า 1,500 ตัว แต่เสือในป่าที่สร้างสมดุลในระบบนิเวศ เรายังมีไม่เยอะนะ สองสามร้อยตัวเอง การที่บอกว่าเรามีเสือเยอะ นั่นมันเยอะในกรง มันไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ มันต้องเสือในป่า

จริงๆ ตัวเองเป็นคนตั้งชื่อน้องขวัญ น้องขวัญก็เป็นหนึ่งในสัตว์ของกลางที่ตอนนี้ก็โตขึ้นทุกวัน มันเลือกไม่ได้ยังไงเขาก็ต้องอยู่ในกรง แต่สิ่งที่พี่ทำให้น้องได้ คือพี่สร้างกรงให้น้องใหญ่มหึมาเลย งบกรมฯ ไม่มีนะ งบพี่เอง ในนั้นจะมีน้ำตกที่ไหลเป็นชั้นให้น้องสามารถไปนอนระหว่างชั้นก็ได้ มีลำธาร มีถ้ำเทียม มีโขดหิน มีสนามหญ้า ทำดีที่สุดให้น้องได้แค่ประมาณนี้แหละค่ะเพราะไม่ว่ายังไงน้องก็ต้องอยู่ในกรงแบบนี้ เป็นเหยื่อของการกระทำของคน ทุกวันนี้คนรับรู้และเข้าใจแล้วว่าน้องขวัญเป็นตัวแทนของเหยื่อที่เราต้องไม่สนับสนุน ต้องไม่มองว่าน้องขวัญเป็นความน่ารัก ทุกคนจะบอกว่าสงสารน้องขวัญจังเลยเพราะต้องอยู่กรงไปตลอดชีวิต ไม่มองฉาบฉวยแค่ว่าน้องน่ารัก เพราะน้องก็โตขึ้นตลอด ตอนนี้สี่เดือนตัวโตมาก แต่โตแต่ตัวนะ ใจยังเป็นเด็ก

Q: อะไรเป็นเป้าหมายสูงสุดที่เรามีต่อการทำงานอนุรักษ์ของตัวเอง?
คุณกัญจนา: บอกตรงๆ ว่า ทำวันต่อวัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด แล้ววันหน้ามันก็จะดีเอง ทำแล้วต้องวางให้เป็น ที่ผ่านมาในอดีตวางไม่เป็น เมื่อก่อนตอนทำเรื่องสัตว์สมัยแรกๆ วางไม่เป็น ความดันสูง เครียดมากเพราะว่าสงสารเขา เอาทุกข์ของเขามาแบกเป็นทุกข์ของเราเองหมดเลย ก็ต้องปรับตัวเอง เพราะถ้าเราไม่แข็งแรง เราก็จะไม่สามารถช่วยพวกเขาได้ ก็ได้ธรรมะมาช่วยเนอะ ท่านบอกว่าทำดีที่สุดแล้ว แต่สิ่งที่เราทำมันมีเหตุปัจจัยอื่นมากมายไม่ใช่แค่ความสามารถของเราเพียงลำพัง ถ้าปัจจัยเหตุผลทั้งหลายมันพร้อม ผลสำเร็จมันก็จะมาเอง แต่ถ้าเราทำดีที่สุดแล้วแต่เหตุปัจจัยอื่นมัยยังไม่เอื้อ เราก็ต้องวางไว้ว่ามันยังไม่ได้นะ แต่เราทำดีที่สุดแล้ว ไม่ได้มีเป้าหมายอะไร มีเรื่องอะไรเข้ามาวันนี้ ถ้าทำได้ก็ทำหมดเลย เวลามีเรื่องร้องเรียนอะไรมา ตรงไหนทำได้ก็ทำหมดเลย เพราะมองว่าเราอยู่ในจุดที่ทำได้มากกว่าคนอื่น วันไหนที่เราไม่ได้อยู่ตรงจุดนี้ มองกลับมาเราจะไม่ได้เสียใจว่าเราเคยอยู่จุดที่เราทำได้แล้วเราไม่ทำ
 
สัมภาษณ์ และเรียบเรียง: วิรดา แซ่ลิ่ม





 

 

สนับสนุน
สนับสนุน