© Earth Hour City Challenge

ปลุกเมืองให้โลกเปลี่ยน

เนื่องด้วยการใช้พลังงาน และการบริโภคในเมือง ถือเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณการปล่อยของโลก  WWF ได้ริเริ่ม “Earth Hour City Challenge (EHCC)”  ขึ้นในปี พ.ศ. 2554 โดยต่อยอดจากโครงการ Earth Hour ซึ่งเป็นเพียงการสร้างจิตสำนึกปิดไฟเพื่อให้โลกได้พัก แต่ในส่วนของ EHCC จะสนับสนุนให้เมืองทั่วโลกมีการจัดทำนโยบาย เพื่อรักษาสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน 

Earth Hour City Challenge

© WWF Thailand

กิจกรรม EHCC นั้นเป็นการยกย่อง และมอบรางวัลให้กับเมืองที่มีการดำเนินงานอย่างสร้างสรรค์ที่สามารถสร้างความเป็นเมืองที่ยั่งยืน และสร้างแรงบันดาลใจให้กับเมืองอื่น ๆ ในการพัฒนาเมืองให้ยั่งยืนได้  โดยมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะให้เมืองต่าง ๆ ทั่วโลกให้มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่อนาคตที่เราจะสามารถใช้ทรัพยากรโลกเพียงใบเดียว (One Planet Future) นอกจากนั้นแล้ว ยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนา และเผยแพร่ข้อมูลด้านการบรรเทาผลกระทบ (mitigations) และการปรับตัวเพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (adaptations)  เพื่อให้เมืองทั่วโลกได้มีเวทีของการนำเสนอความมุ่งมั่นของท้องถิ่น และแผนการดำเนินงานของแต่ละเมือง เพื่อเป็นการแบ่งปัน และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก

โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณามาตรการต่าง ๆ รวมถึงพันธสัญญาของเมืองจากรายงานที่แต่ละเมืองจัดทำขึ้น เพื่อคัดเลือกเมืองต้นแบบของแต่ละประเทศสำหรับรางวัล “National Earth Hour Capital” และเป็นตัวแทนเพื่อแข่งขันระดับโลกกับรางวัล “Global Earth Hour Capital” ต่อไป 

โครงการ “ปลุกเมืองให้โลกเปลี่ยน” Earth Hour City Challenge (EHCC) มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ และการสนับสนุนของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานหมุนเวียน

© WWF

Earth Hour City Challenge 2014
สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมมาแล้ว 3 ปี โดยปี 2557 เมืองที่เข้ารอบสุดท้ายในโครงการ Earth Hour City Challenge 2014 ได้แก่ เทศบาลตำบลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ, เทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง และเทศบาลเมืองหนองสำโรง จังหวัดอุดรธานี โดยเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง ได้รับคัดเลือกให้เป็นเมือง National Earth Hour Capital 2014  และเมือง Cape Town ประเทศแอฟริกาใต้ ได้รับคัดเลือกให้เป็น Global Earth Hour Capital 2014

EARTH HOUR CITY CHALLENGE 2014


WE LOVE CITIES "เมืองนี้ฉันรัก" - เทศบาลเมืองหนองสำโรง จังหวัดอุดรธานี


WE LOVE CITIES "เมืองนี้ฉันรัก" - เทศบาลตำบลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

Earth Hour City Challenge 2015
สำหรับปี 2558 เมืองที่เข้ารอบสุดท้ายในโครงการ Earth Hour City Challenge 2015 ได้แก่ เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น, เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และเทศบาลตำบลมาบอำมฤต จังหวัดชุมพร โดยเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้รับคัดเลือกให้เป็นเมือง National Earth Hour Capital 2015 และเมือง Seoul ประเทศเกาหลใต้ ได้รับคัดเลือกให้เป็น Global Earth Hour Capital 2015

EARTH HOUR CITY CHALLENGE 2015


WE LOVE CITIES "เมืองนี้ฉันรัก" - เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น


WE LOVE CITIES "เมืองนี้ฉันรัก" - เทศบาลตำบลมาบอำมฤต จังหวัดชุมพร

Earth Hour City Challenge 2016
และปี 2559 เมืองที่เข้ารอบสุดท้ายในโครงการ Earth Hour City Challenge 2016 ได้แก่ เทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย และเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับคัดเลือกให้เข้ารอบสุดท้าย ซึ่ง เทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงรายได้เป็น National Earth Hour Capital 2016 ของประเทศไทย และเมือง Paris ประเทศฝรั่งเศส ได้รับคัดเลือกให้เป็น Global Earth Hour Capital 2016

EARTH HOUR CITY CHALLENGE 2016


WE LOVE CITIES "เมืองนี้ฉันรัก" - เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Earth Hour 

การเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในวันนี้จะเป็นตัวตัดสินว่าสภาพภูมิอากาศในหลายปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร Earth Hour จะเป็นสื่อกลางเพื่อให้คนทุกคนบนโลกได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการแสดงพลังในการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในครั้งนี้ ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม การรณรงค์แบบปฏิสัมพันธ์ และแม้แต่เครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ 

ภาพพระบรมมหาราชวัง หนึ่งใน Lanmark ที่สำคัญของประเทศไทยที่ร่วมปิดไฟ Earth Hour 2012 เธอกล้าท้า ฉันกล้าให้พร้อมกับอีกหลายสัญลักษณ์ที่สำคัญกว่า 1700 แห่งทั่วโลก

© WWF Thailand/Roengchai Kongmuang

ปี 2550  โครงการ Earth Hour ได้เริ่มเป็นครั้งแรกใน ณ กรุงซิดนีย์ โดยตลอดเก้าปีที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ WWF และ Earth Hour ทั่วโลกต่างก็ได้พยายามรวมพลังขับเคลื่อนในการแรงสนับสนุนและกองทุนในการเข้าถึงแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ๆ การคุ้มครองสัตว์ป่าและถิ่นที่อยู่ของพวกมัน การเสริมสร้างสนับสนุนวิถีชีวิตอย่างยั่งยื่น รวมถึงการส่งเสริมการออกกฎหมายและนโยบายเพื่อผลที่ดีต่อสภาพภูมิอากาศของโลกเราเสมอมา
 
นับตั้งแต่ปี 2550 Earth Hour ได้ประสบความสำเร็จในการกระตุ้นให้กลุ่มธุรกิจ องค์กร รัฐบาล ในกว่า 178 ประเทศและเขตการปกครองต่างๆ ทั่วโลก ในการร่วมกันลงมือปฏิบัติเพื่ออนาคตอันยั่งยืนของโลกของเรามาอย่างต่อเนื่อง