โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนและความมั่นคงของระบบนิเวศ โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการจัดการทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนร่วมในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อการรับมือและปรับตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำสงคราม จังหวัดขอนแก่น (พ.ศ.2554-2557) 
พื้นที่ดำเนินงาน

© WWF-Thailand

กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล WWF ประเทศไทยได้นำเสนอแนวทางในการบูรณาการจัดการทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนร่วม การบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงปัจจัยแนวโน้ม ความเปราะบางความเสี่ยง แนวทางการปรับตัวของชุมชนในท้องถิ่นต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ โดยได้เสนอโครงการนำร่องสาธิต การบูรณาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี (แก่งละว้า) จังหวัดขอนแก่น และบางส่วนของลุ่มน้ำสงคราม ในจังหวัดนครพนม ในประเด็นสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนร่วม 


จุดมุ่งหมายของโครงการ

     เพื่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนและความมั่นคงของระบบนิเวศโดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการจัดการทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนร่วมในระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อการรับมือและปรับตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำสงคราม เพื่อนำไปสู่นโยบายวางแผนการสนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบภูมินิเวศลุ่มน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ ทั้งในระดับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และในระดับท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับการเกื้อหนุนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น ที่จะช่วยลดความเสี่ยง และความเปราะบาง และป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
 

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เสริมสร้างพัฒนาองค์ความรู้ชุมชนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ
    บูรณาการแผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์หลักในการปรับตัวเพื่อป้องกันและบรรเทาผล
    กระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ทั้งในระดับหมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด โดยพัฒนาและบูรณาการเข้าไปในแผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น
  2. สาธิตการดำเนินกิจกรรมโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ
    ภูมิอากาศที่ได้รับความเห็นชอบและคำแนะนำจากข้อมูลคณะทำงานในระดับท้องถิ่น ที่เสนอต่อคณะกรรมการในระดับหมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด (เปรียบเทียบข้อมูลจากแผนการปรับตัวของลุ่มน้ำสงคราม)
  3. เผยแพร่ ข้อมูล บทเรียน องค์ความรู้จากผลลัพธ์ของโครงการเข้าไปในแผนนโยบายยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เชื่อมโยงสู่การเวทีการประชุมในระดับนโยบายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. บทเรียน ประสบการณ์ ข้อมูลผลลัพธ์จากกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการจะบูรณาการเข้าไปสู่ในนโยบายแผนยุทธศาสตร์การปรับตัวเพื่อรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งในระดับอำเภอ และในระดับจังหวัด
  2. ชุมชนท้องถิ่นมีกิจกรรมต้นแบบที่เป็นรูปธรรมของกิจกรรมการปรับตัว ที่เป็นผลมาจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่สามารถรับมือกับสภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้
  3. หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้รับการอบรมในเครื่องมือ และกระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่สามารถนำไปประยุกต์ออกแบบวางแผนการบูรณาการกิจกรรมภายใต้ความรับผิดชอบตนเองได้
  4. เกิดเครือข่ายความร่วมมือของคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ
    ภูมิอากาศทั้งที่เป็นคณะกรรมการในระดับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครพนม และรวมถึงเครือข่ายความร่วมมือในระดับภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อไป

 พื้นที่เป้าหมาย

     ดำเนินงานในหมู่บ้านเป้าหมายใน 13 หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น
 
ป้ายกฎระเบียบป่าชุมชน

© Naksit Sangjun/WWF-Thailand

ป้ายกฎระเบียบเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ (วังปลา)

© Naksit Sangjun/WWF-Thailand

ชุมชนปักเสาแนวเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ (วังปลา)

© Naksit Sangjun/WWF-Thailand

การปล่อยพันธุ์ปลา

© Naksit Sangjun/WWF-Thailand

ชาวบ้านเก็บเกี่ยวผลผลิตทางธรรมชาติ

© Naksit Sangjun/WWF-Thailand

ความสำเร็จของโครงการ
  • ส่งเสริมกิจกรรมการจัดการป่าชุมชนในชุมชนเป้าหมาย จำนวน 5 แห่ง คือ ป่าชุมชนโนนพันชาติบ้านโคกสำราญ, ป่าชุมชนโนนพะยอมบ้านดอนปอแดง, ป่าชุมชนโคกป่าโจด บ้านเมืองเพีย, ป่าชุมชนป่าช้าบ้านเป้า, ป่าชุมชนป่าช้าบ้านดอนปอแดง-หนองหัวช้าง, ป่าชุมชนภูรวก ตำบลหนองแปน, ป่าชุมชนโคกป่าแดงบ้านขามเรียน พื้นที่รวม 2,052 ไร่
  • จัดทำเรือนเพาะชำชุมชนจำนวน 3 แห่ง คือ เรือนเพาะชำบ้านโคกสำราญ, เรือนเพาะชำบ้านดอนปอแดงและเรือนเพาะชำบ้านเมืองเพีย อัตราการผลิตจำนวน 20,000 ต้น
  • จัดเวทีประชุมร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแปนเพื่อการบูรณาการแผนการจัดการทรัพยากรป่าชุมชนภูรวกแบบมีส่วนร่วม
  • จัดอบรมเทคนิคการเพาะชำกล้าไม้ให้กับชุมชนจำนวน 4 หมู่บ้าน
  • ปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชนในพื้นที่จำนวน 7หมู่บ้าน จำนวน 9,992 ต้น ชนิดกล้าไม้ที่ปลูก 22 ชนิด
  • ส่งเสริมกิจกรรมการจัดการเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาและพันธุ์สัตว์น้ำจำนวน 4 หมู่บ้าน
  • ปล่อยพันธุ์ปลาในพื้นที่เขตอนุรักษ์ รวม 700,000 ตัว
  • ปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม 1 ครั้ง จำนวน 100,000 ตัว
  • จัดชุดเพาะพันธุ์ปลาเคลื่อนที่เพาะและปล่อยลงสู่พื้นที่รวมจำนวน 400,000 ตัว
  • ประเมินความหนาแน่นและโครงสร้างของประชากรปลาในพื้นที่เขตอนุรักษ์และนอกเขตอนุรักษ์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างและความเปลี่ยนแปลงโดยนำร่องที่บ้านโคกสำราญ
  • ขยายพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำแก่งละว้า จำนวน 8 หมู่บ้าน
  • จัดเวทีประชุมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนปกครองส่วนท้องถิ่นรอบพื้นที่ชุ่มน้ำแก่งละว้าเพื่อการบูรณาการแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
  • จัดกิจกรรมการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำแบบบูรณาการ
  • จัดกิจกรรมศึกษาดูงานการจัดการทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อเสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชน และหน่วยงานภาครัฐต่อการจัดการทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วม
  • สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักแบบปลอดภัยแปลงงของบ้านโคกสำราญและบ้านชีกกค้อ
เอกสารแนะนำโครงการ
รายงานสรุปผลการศึกษาสภาพเศรษฐกิจสังคม
ความหลากหลายของพันธุ์พืชในพื้นที่ชุ่มน้ำแก่งละว้า
เทคนิคการเพาะชำกล้าไม้ท้องถิ่น
ความหลากหลายของนกบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำแก่งละว้า
  • ฝึกอบรมเทคนิคการปลูกผักปลอดภัยที่บ้านชีกกค้อและบ้านดอนปอแดง
  • ศึกษาดูงานกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ/ปลอดภัยที่บ้านหม้อ ตำบลคูคำ อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น 2 ครั้ง และหนองทุ่ม ตำบลหนองทุ่ม อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น
  • ส่งเสริมการสร้างเกษตรกรเพื่อเป็นต้นแบบของในการปรับตัวของชุมชนบ้านโคกสำราญ โดยสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมวนเกษตรผสมผสานในพื้นที่ส่วนบุคคลเพื่อเพิ่มรายได้และความหลากหลายในพื้นที่
  • ส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดบ้านโคกสำราญ
  • จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำแบบบูรณาการ คืองานวันสิ่งแวดล้อมโลก 2556
  • จัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือและการประชาคมกิจกรรมขยายพื้นที่โครงการในหมู่บ้านเป้าหมายเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำแก่งละว้า จำนวน 9 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านละว้า บ้านโนนละม่อม บ้านกุดเป่ง บ้านธาตุ บ้านหนองหัวช้าง บ้านขามเรียน บ้านหนองนาวัว บ้านหนองร้านหญ้า และบ้านหนองนางขวัญ
  • จัดกิจกรรมศึกษาดูงานการจัดการทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรหน่วยงานภาครัฐต่อการจัดการทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วม ณ Ramsar site พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติทรัมชิม
    ประเทศเวียตนาม
โดยโครงการประสบความสำเร็จมากถึง 85% ของเป้าหมายที่วางไว้เนื่องจากต้องประสบปัญหาทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อกล้าไม้ที่ปลูกในบางแห่งเช่น ปัญหาฝนทิ้งช่วง , ปัญหาดินเค็มและปัญหาปริมาณน้ำในแก่งน้อยกว่าปกตินอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เช่นการลักลอบจุดไฟป่าและการลักลอบจับปลาในเขตอนุรักษ์ซึ่งจะได้รับการแก้ไขต่อไป...

ทำไมต้องพื้นที่ชุ่มน้ำ?

- พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งด้านเศรษฐกิจ,สังคมและสิ่งแวดล้อม
- ปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้ถูกคุกคามจากการบุกรุกและการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ
- พื้นที่ชุ่มน้ำมีบทบาทสำคัญต่อความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ
- พื้นที่ชุ่มน้ำอุ้มชูประชากรสัตว์ป่าที่หลากหลายทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ
- พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นได้ทั้งแหล่งน้ำ, แหล่งสำรองน้ำ, เป็นขอบเขตกั้นการไหลเข้าของน้ำเค็ม, ป้องกันการกัดเซาะของชายฝั่งและช่วยในการป้องกันการตกตะกอนรวมถึงกรองแร่ธาตุและสารพิษอื่นๆ

การทำประมงรอบพื้นที่ชุ่มน้ำ rel= © WWF Thailand

...

การอนุรักษ์หมายถึงการใช้งานทรัพยากรบนโลกที่มีอยู่อย่างชาญฉลาดเพื่อสิ่งที่ดีและยั่งยืนของมนุษย์

Gifford Pinchot