What would you like to search for?

โครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และ อุทยานแห่งชาติคลองลาน

© WWF

การติดตามประชากรเสือโคร่งในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานคลองลาน ดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน โดยการศึกษาวิจัยล่าสุดพบเสือโคร่งตัวเต็มวัยจำนวน 9 ตัว ประกอบด้วยเพศเมียจำนวน 5 ตัว และเพศ ผู้จำนวน 4 ตัว นอกจากนั้นยังพบสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่แห่งนี้อีกหลายชนิด อาทิ สมเสร็จ ช้าง หมาใน หมีหมา กระทิง เก้งหม้อ

ผืนป่า ณ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

© © Ola Jennersten/ WWF-Sweden

เราทำอะไร?

การอนุรักษ์เสือในระยะยาว รวมถึงสัตว์ป่าชนิดอื่นนั้น ต้องอาศัยการปกป้องอย่างมีประสิทธิภาพ และการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการ่วมมือจากคนในพื้นที่ และเพื่อที่จะมั่นใจว่าผลในการอนุรักษ์จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ WWF จึงได้สนับสนุนการทำงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในด้านการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเดินลาดตระเวร รวมไปถึงการให้ความปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า โดยได้จัดการอบรมการลาดตระเวรเชิงคุณภาพ (SMART Patrol) ให้แก่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าจำนวน 90 คน

เราทำอย่างไร?

เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าแต่ละคน จะได้รับการอบรมเพื่อการใช้แผนที่ เข็มทิศ และเครื่องกำหนดพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS) นอกจากนี้ WWF, WCS และกรมอุทยานฯ ได้ร่วมมือกันเพื่อสร้างศูนย์อำนวยการกลาง ที่รวบรวมฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลการลาดตระเวนโดยโปรแกรม SMART เพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพการลาดตระเวน ความไปถึงยกระดับความมือกันระหว่างกลุ่มการอนุรักษ์ และบริเวณใกล้เคียง ทีมปฏิบัติงานมวลชนสัมพันธ์นั้น มุ่งความสนใจไปที่การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็กนักเรียน และชาวบ้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับแม่วงก์ - คลองลาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเสือ โดยนักเรียนกว่า 1,000 คนจากสิบโรงเรียน และชาวบ้านกว่า 3,600 คน จาก 10 หมู่บ้าน โดยทีมงานได้ร่วมกันจัดการโครงการนำร่องการฟื้นฟูเสือและสัตว์ป่าในสี่โรงเรียน โดยมีการสร้างโป่งดินเทียม เพื่อเพิ่มแหล่งแร่ธาตุให้สำหรับเหล่าเหยื่อของเสือโคร่ง รวมถึงกวางผา เก้ง และกระทิง อีกกิจกรรมหนึ่งอย่าง “นักสืบสายน้ำ” รวมถึงการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ทั้งในป่าและในชุมชน และโดยกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เน้นเรื่องเสือและสัตว์ป่าในระบบนิเวศนั้น ไม่ได้ช่วยแค่สอนนักเรียนให้เข้าใจความสำคัญของธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเพิ่มความตระหนักรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าละแหล่งที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในบ้านเกิดของพวกเขาอย่างแม่วงก์และคลองลาน ซึ่งได้สร้างความภาคภูมิใจ และการมองเห็นคุณค่าในการมีสัตว์ป่าดังเช่นเสืออยู่ในบ้านเกิดของพวกเขาเอง นี่คือส่วนหนึ่งในการปกป้องสัตว์ป่าที่กำลังตกอยู่ในอันตราย ให้ดำรงชีวิตอยู่ในพื้นที่แถบแม่วงคลองลานได้ตลอดไป

เสือโคร่งจากกล้องดักถ่ายอัตโนมัติ ณ ผืนป่าแม่วงก์-คลองลาน (WWF)