The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
WWF ร่วมมือกับสถาบันการเงิน ธนาคาร นักลงทุน ผู้กำกับดูแล และตลาดหุ้นเพื่อบูรณาการรวมหลักสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล หรือ ESG เข้ากับหลักการเงิน (finance)เพื่อ และระบบการเงินที่ยืดหยุ่น ที่สนับสนุนกระบวนทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมมือกับเราในการกำหนดทิศทางภาคการเงิน เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน
ทุนธรรมชาติ (natural capital) คือ กุญแจสำคัญสู้การขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่มีใครปฏิเสธว่าธุรกิจต่างๆ นั้นถูกขับเคลื่อนโดย ทุน ไม่ว่าจะเป็นทุนทางการเงิน, ทุนการผลิต, ทุนสังคมและทุนมนุษย์ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ เราได้ตระหนักหรือไม่ว่าทุนทั้งหมดนี้ ล้วนต้องพึ่งพา “ทุน” แห่งธรรมชาติทั้งสิ้น ทั้งสินทรัพย์ (asset) เช่น ป่าไม้ ดิน แร่ธาตุ และน้ำ และทุนธรรมชาติเหล่านี้เองที่เป็นกลไกให้เกิดการขับเคลื่อนของระบบนิเวศ อาทิ การผสมพันธุ์ของพืช การผลิตแหล่งน้ำที่สะอาด และการควบคุมสภาวะอากาศ
วันนี้ เราได้เห็นความเสื่อมโทรมของทุนธรรมชาติรอบตัว ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจและสังคมต่างๆ เผชิญกับความเสี่ยงต่อระบบโดยรวมทั้งหมด (systemic risk) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเติบโตอย่างรวดเร็วของสังคมและเศรษฐกิจโลกตลอดศตวรรษที่ผ่านมา และการมุ่งใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติรอบตัวอย่างฟุ่มเฟือย ขาดการจัดการ และการมองเห็นต้นทุนที่แท้จริง ต้นทุนที่จะต้องสร้างทรัพยากรธรรมชาติคืนกลับ ที่ไม่อาจประเมินมูลค่าได้
จากข้อมูลชี้ว่า ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางธรรมชาติที่มากขึ้นเรื่อย ๆ นั้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการดำรงอยู่ขอสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การเลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จนถึง การขาดแคลนแหล่งน้ำสะอาด เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้สร้างผลกระทบระยะยาวต่อการเติบโต และการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางสังคมและเศรษฐกิจในระดับที่ดีในอนาคต
สถาบันทางการเงินส่วนใหญ่ มีส่วนในการกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจโลก รวมถึงแนวทางการเปลีย่นผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต เนื่องจากสถาบันการเงินมีหน้าที่ให้เงินกู้ , ลงทุน และให้ประกันแก่บริษัทต่าง ๆ ในการทำธุรกิจ ดังนั้นสถาบันการเงินจึงจำเป็นต้องนำหลักสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล หรือ ESG มาประยุกต์ใช้ ในการเช่น ให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ ,ลงทุน และกำหนดมาตรฐานการให้สินเชื่อ เพื่อความยั่งยืนของภาคการเงิน สถาบันการเงินสามารถลดความเสี่ยงในการบริหารเงิน เพื่อเพิ่มคุณค่าและสนับสนุนบริษัทในการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนต่อไป