What would you like to search for?

โครงการร่วมจัดการทรัพยากรประมงระหว่าง ประเทศไทย และสปป.ลาว

© © Nicolas Axelrod / Ruom / WWF-Greater Mekong

โครงการร่วมจัดการทรัพยากรประมงระหว่าง ประเทศไทย และสปป.ลาว เพื่อปรับปรุงเพิ่มปริมาณปลาและพัฒนาความ เป็นอยู่ของชุมชนในแม่น้ำโขงตอนกลาง

ปัญหาในพื้นที่

แม่น้ำโขง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนมากมาย ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำต้องพึ่งพาอาศัยความหลากหลายทางชีวภาพจนยากที่จะแยกจาก กันได้ อย่างไรก็ตามแม่น้ำโขงกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงโครงการสร้างพื้นฐานและการดูดทราย ซึ่งส่งผลกระทบต่อแหล่ง วางไข่ของปลาหลายชนิด นอกจากนั้น ระบบนิเวศของแหล่งน้ำลึกก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน

บทบาทของ WWF

โครงการร่วมจัดการทรัพยากรประมงระหว่างประเทศไทย และสปป.ลาว ดำเนินงาน เพื่อปรับปรุง เพิ่มปริมาณปลา และพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนในแม่น้ำโขงตอนกลาง ช่วงเวลาดำเนินงานตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ. ศ. 2559 - 30 มิถุนายน พ.ศ . 2562 รวมเวลาดำเนินงาน ประมาณ 3 ปี มีพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายดำเนินงานใน แขวงบอริคำไซ แขวงคำม่วน สปป.ลาว จำนวน 19 หมู่บ้าน และ จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดน ครพนม มีหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 15 หมู่บ้าน ความสำเร็จในปี พ.ศ. 2561 อำนวยความสะดวก จัดตั้งเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ รวม 15 เขตอนุรักษ์ ในแม่น้ำโขงตอนกลาง

ความสำเร็จในปี พ.ศ. 2561 
• จัดตั้งคณะกรรมการประมง จำนวน 15 คณะ ใน 15 หมู่บ้าน 15 เขตอนุรักษ์
• จัดตั้งคณะกรรมการลาดตระเวน จำนวน 15 ชุด ใน 15 หมู่บ้าน
• จัดรวบรวม พิมพ์เผยแพร่กฎระเบียบข้อบังคับเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ 15 เขตอนุรักษ์ 15 หมู่บ้าน
• สำรวจข้อมูล ด้านความรู้ ทัศนคติ และ การปฏิบัติ ใน 15 หมู่บ้าน เป้าหมาย
• สำรวจข้อมูล การติดตามการจับปลา ใน 4 หมู่บ้านนำร่อง • สนับสนุนกิจกรรมอาชีพเสริมรายได้ จำนวน 10 หมู่บ้าน 175 ครอบครัว
• อำนวยความสะดวก พาข้าราชการประมงไทย จำนวน 7 คน เข้าร่วมประชุม ที่สปป.ลาว จำนวน 2 ครั้ง
• ผลิตแผนที่แสดงที่ตั้งหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 1 ฉบับ
• ผลิตแผนที่แสดงที่ตั้งเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 1 ฉบับ
• อำนวยความสะดวก ผู้แทนจาก WWF Switzerland ติดตามประเมินผลโครงการ 1 ครั้ง 2 วัน