WWF ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 1961 โดยการก่อตั้งของนักอนุรักษ์วิทยาชาวอังกฤษตามรายชื่อดังต่อไปนี้ Peter Scott, Max Nicholson, Guy Mountfort และ Julian Huxley

Julian Huxley ได้ตีพิมพ์ชุดบทความเกี่ยวกับการสังเกตการณ์ถึงวิกฤตทางธรรมชาติในทวีปแอฟริกาลงในหนังสือพิมพ์ US Observer ซึ่งหลังจากนั้นเขาได้รับการติดต่อจากนักธุรกิจที่ชื่อว่า Victor Stolan ในเดือนธันวาคมปี 1960 ผู้มีความตั้งใจที่จะระดมทุนเพื่อก่อตั้งกลุ่มองค์กรที่มีหน้าที่ในการอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า ต่อมา Julian Huxley , Max Nicholson และทีมงานอีกหลายคนก็ได้ตัดสินใจก่อตั้งองค์กร WWF ในช่วงปีถัดมา

ด้วยความร่วมมือจากองค์กรต่างๆไม่ว่าจะเป็นองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ , องค์การสหประชาชาติและองค์กรอื่นๆอีกมากมายทำให้ WWF สามารถเดินรุดหน้าไปได้อย่างรวดเร็วจวบจนถึงปัจจุบัน
Sir Julian Huxley (left) & Max Nicholson in Coto Doñana, Spain, in 1970.

© WWF / Eric HOSKING

 

สาธารณชนเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ก่อนหน้านี้ประเด็นการอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักล่าเพียงเท่านั้น แต่ WWF ได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้สังคมหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นครั้งแรกของโลก

"ร่วมกันพิทักษ์สัตว์โลก" กลายเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วไปและองค์กรต่างๆ WWF สามารถระดมทุนได้สูงถึง 1.9 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐสำหรับการจัดการโครงการต่างๆในทวีปแอฟริกา , ยุโรปและประเทศอินเดียได้ในช่วงสามปีแรกที่ทำการก่อตั้ง
Advert to influence consumer behaviour - Wildlife Trade Campaign, China

© TRAFFIC China

ทำไม WWF จึงเติบโตอย่างรวดเร็วและยิ่งใหญ่

Public meeting at The Royal Society of Arts in London, on the 26th of September 1961 to announce ... rel= © WWF Intl. / WWF

สิ่งหนึ่งที่น่าทึ่งเลยก็คือความรวดเร็วในการเติบโตของ WWF ส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการเติบโตเลยก็คือเครือข่ายที่กว้างขวางของเหล่าผู้ก่อตั้ง WWF  แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือการทำในสิ่งที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมสำหรับการก่อตั้งองค์กร WWF ขึ้นมาในครั้งนั้น

สื่อโทรทัศน์เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น , การเติบโตทางเศรษฐกิจของภาวะหลังสงครามและความเกี่ยวข้องกับการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและการกำจัดของเสีย อีกทั้งยังมีการตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับผลข้างเคียงของการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

ในช่วงศตวรรษที่ 17 เป็นช่วงเวลาที่มีการจัดตั้งองค์กรและกลุ่มทุนทางธุรกิจต่างๆซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางมลพิษและสิ่งแวดล้อมมากมาย  การปรากฏตัวของ WWF ทำให้สาธารณชนตระหนักถึงปัญหาการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตอย่างแพร่หลาย  นี่ก็เป็นช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติเริ่มที่จะได้รับความสนใจอย่างจริงจัง

วิถีชีวิตของผู้คนในบางพื้นที่จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรทางน้ำ ในช่วงปลายของศตวรรษที่ 16 ได้มีการตระหนักถึงจำนวนทรัพยากรทางน้ำและสิ่งมีชีวิตจำพวกปลาได้มีการลดจำนวนลงและการแพร่กระจายของศัตรูทางธรรมชาติได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นจากการลงทุนระดับอุตสาหกรรม  ทั้งหมดนี้ได้ทำให้เกิดคำถามในวงกว้างเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติถึงวิธีการจัดการและขอบเขตในการล่า
Front page of the Daily Mirror, 9th October 1961.

© Daily Mirror

เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในสวิสเซอร์แลนด์
WWF เป็นองค์กรที่จัดตั้งและลงทะเบียนขึ้นในเมือง Zurich โดยได้ระบุความประสงค์และวัตถุประสงค์ขององค์กรไว้ว่า "อนุรักษ์สัตว์โลก , พืชพันธ์ , ป่าไม้ , ที่ดิน , น้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ"

วิสัยทัศน์ของ WWF ในปัจจุบันนั้นกว้างไกลเกินกว่าในช่วงเวลา 1961 ที่ทำการก่อตั้งอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสนใจของสาธารณะซึ่งได้ทำให้เกิดการถกเถียงและวิธีการแก้ไขต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสายพันธ์สิ่งมีชีวิตที่ใกล้จะสูญพันธ์ในปัจจุบัน

โดยจะเห็นได้จากรูปหนังสือพิมพ์ทางด้านขวามือที่พูดถึงโครงการการอนุรักษ์แรดดำในทวีปแอฟริกา

หลังจากนั้น Peter Scott ได้นำภาพร่างรูปแพนด้ายักษ์ที่ชื่อ Chi-Chi ผลงานของ George Waterson มาใช้เป็นสัญลักษณ์ขององค์กร โดย Chi-Chi นั้นเป็นแพนด้ายักษ์ตัวแรกที่ได้มาอาศัยอยู่ในโลกฝั่งตะวันตกโดยในปัจจุบันแพนด้ายักษ์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความท้าทายในการเผชิญหน้าเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ
Uno de los fundadores de WWF, Sir Peter Scott (sentado) en compañía de miembros de WWF en el Zoológico de Beijing cuando se lanza el Plan Nacional de Conservación del Panda Gigante en China.

© WWF Int. / WWF

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
การปรากฏตัวของ WWF ในช่วงศตวรรษที่ 18 ได้รับผลสำเร็จมากมายด้วยการแพร่หลายที่มากขึ้นของโทรทัศน์รวมไปถึงการเผยแพร่สารคดีชีวิตสัตว์ป่าผ่านทางโทรทัศน์ ทำให้การตระหนักถึงปัญหาชีวิตสัตว์ป่าและการอนุรักษ์ธรรมชาติเพิ่มจำนวนมากขึ้น

ถึงแม้การตระหนักถึงปัญหาในสาธารณะจะเพิ่มมากขึ้นแต่ทาง WWF ก็ทราบดีว่านี่ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาระยะยาว เนื่องจากว่าภาคธุรกิจยังคงใช้วิธีการในการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอันเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า

...

การอนุรักษ์นับวันยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราในโลกสมัยใหม่มากขึ้นด้วยเช่นกัน

ธรรมชาติและการพัฒนาของมนุษย์
ในปี 1980 , WWF ร่วมมือกับ IUCN และ UNEP ในการวางกลยุทธ์การอนุรักษ์โลกซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในยุคสมัยเนื่องจากว่ากลยุทธ์ดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกันกับวิถีชีวิตและกิจกรรมของมนุษย์    ความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์นั้นเกี่ยวข้องกันกับธรรมชาติในลักษณะพึ่งพาอาศัย นับว่าเป็นครั้งแรกของมนุษยชาติก็ว่าได้ที่มีการกำหนดขอบเขตในการพัฒนาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

การอนุรักษ์นับวันยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราในโลกสมัยใหม่มากขึ้นด้วยเช่นกัน
งานเปิดตัวครั้งแรกของแผนกลยุทธ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตของโลก โดยมีผู้แทนจาก WWF IUCN และ UNEP เมื่อปี พ.ศ. 2523

© WWF

เพิ่มเติมเป้าหมายขยายความสนใจภายใต้ชื่อใหม่
ช่วงศตวรรษที่ 19 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในการพัฒนาและธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมได้เป็นประเด็นที่สำคัญ  ในปี 1985 WWF ได้ทำการจดทะเบียนชื่อใหม่อีกครั้งในชื่อ World Wild Fund for Nature เพื่อนำเสนอการรักษาสิ่งมีชีวิตสายพันธ์ต่างๆและสะท้อนถึงมุมมองที่กว้างขึ้นขององค์กร

ในปี 1987 คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (WCED) ได้เสนอเอกสารสำคัญที่มีอิทธิพลต่อแนวความคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในโลกคือ "Our Common Future" ที่เรียกร้องให้เปลี่ยนแนวทางการพัฒนาให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

ปี 1992 องค์การสหประชาชาติเริ่มทำการวางแผนสำหรับการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ส่งผลถึงปัจจุบัน  เป็นอีกหนึ่งครั้งที่ WWF , IUCN และ UNEP ร่วมมือการจัดวางกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สามารถนำไปใช้ดำเนินการในทางปฏิบัติได้เป็นครั้งแรก

กิจกรรมต่างๆถูกดำเนินไปในมุมที่กว้างขึ้น กิจกรรมต่างๆไม่เพียงแต่ได้รับความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ , นักล่าสัตว์และคนรักสัตว์แต่เพียงเท่านั้น สังคมแวดล้อมโดยรวมได้เริ่มต้นสนใจในเรื่องของการพัฒนาและสวัสดิการของมนุษย์มากยิ่งขึ้น กิจกรรมต่างๆของ WWF ได้รับความร่วมมือกับสังคมและโลกที่เราอาศัยอยู่มากยิ่งขึ้น
Achim Steiner, IUCN Director General, will become the next head of the United Nations Environment Programme.

© IUCN

ความท้าทายในการรักษาสมดุล
นับเป็นเรื่องท้าทายครั้งใหญ่ในการพยายามรักษาสมดุลระหว่างการพัฒนาของมนุษย์และผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ทางออกที่ดีที่สุดขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่าง WWF คืออะไร ?

ถึงแม้จะดูเป็นเงินจำนวนมหาศาลที่ WWF ได้ใช้จ่ายไปกับโครงการอนุรักษ์ในปี 2005 - 2006 เกือบ 500 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐแต่ก็ดูเล็กน้อยเมื่อเทียบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของโลก โดย GDP ของโลกในปี 2005 นั้นสูงถึง 60 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

ดังนั้นคำถามคือ เราจะทำอย่างไรให้อัตราการย่อยสลายของมรดกทางธรรมชาติที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบันสอดคล้องไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมนุษย์ได้มากที่สุด

WWF ได้แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนหลัก:
  1. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  2. ป้องกันภัยคุกคามที่มีอิทธิพลต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  3. กำหนดกระบวนการการผลิตอย่างยั่งยืนที่มีผลต่อภัยคุกคามทางธรรมชาติ
Global climate change is creating unprecedented challenges to protecting diverse ecosystems in the arctic regions.

© UN Convention on Biodiversity

ผลิตอย่างไรให้ได้มากขึ้นแต่สูญเสียน้อยลง ?
องค์กรภาคธุรกิจในปัจจุบันนั้นเติบโตขึ้นมากแต่ทว่าในขณะที่การผลิตและพัฒนานั้นเดินหน้าแต่ดูเหมือนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นกลับแย่ลงและเกิดการสูญเสียขึ้นเรื่อยๆ  WWF ได้พยายามหาหนทางในการผลิตและพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการผลิตที่มากขึ้นแต่การสูญเสียต่างๆนั้นลดจำนวนลงเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรที่โลกใบนี้มี
WWF Centroamérica y el World Resources Institute (WRI) desarrollan lazos de colaboración con instituciones nacionales de Belice para analizar el valor económico de los bienes y servicios que prestan los arrecifes de coral y los manglares, para promover su protección.

© WWF / Nadia BOOD

ผลกระทบของโลกโลกาภิวัฒน์
ช่วงเริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 การลดบทบาทของพรมแดนประเทศนั้นได้เกิดขึ้นจากหลายปัจจัยรวมถึงการเปิดการค้าเสรีและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ความเข้มแข็งขององค์กรต่างๆและการลดทอนอำนาจของรัฐบาลได้เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกหรือที่เราเรียกกันว่ากระแสโลกาภิวัฒน์

กระแสโลกาภิวัฒน์ได้ส่งเสริมการค้าและการพาณิชย์ที่นำความมั่งคั่งเกิดขึ้นให้กับผู้คนหลายล้านทั่วโลก แต่ทว่ากิจกรรมต่างๆนั้นไม่ได้ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากอย่างที่ควร

กิจกรรมเชิงพาณิชย์ต่างๆทั่วโลกที่เพิ่มจำนวนและเติบโตมากขึ้นอย่างมหาศาลส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่เพียงแต่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบแต่ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามความต้องการของผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน  นอกจากจะเป็นการทำร้ายสิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการสร้างช่องว่างระหว่างความเจริญรุ่งเรืองกับชุมชนท้องถิ่นด้วยเช่นกัน
His Excellency Dr Mok Mareth, Senior Minister of Environment, writes:

© WWF / Arnulf Köhncke

การเดินหน้าของโลกใบนี้
การลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนถูกนำมาเป็นประเด็นในการประชุมสุดยอดผู้นำโลกของสหประชาชาติในปี 2002 โดยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยตั้งเป้าหมายในการพัฒนาของสวัสวรรษนี้เป็นการประชุมเพื่อหารือถึงการยกระดับประชากรออกจากความยากจน

เห็นได้ชัดว่ากระบวนการผลิตในตลาดไม่เพียงพอสำหรับคนยากจนและยังล้มเหลวในการรักษาสภาพแวดล้อม

ในปี 2006 มีการสำรวจถึงความสัมพันธ์ระหว่างรอยเท้านิเวศและดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติที่แสดงให้เห็นว่าวิธีการพัฒนาของประเทศส่วนใหญ่ละเมิดเกณฑ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน นั่นจึงเป็นอีกความท้าทายสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะปรับเปลี่ยนการผลิตต่างๆของโลกให้เป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ?

ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัฒน์และกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติไม่ใช่เพียงแค่เรื่องที่เรา"ควร"จะต้องหันมาสนใจ แต่เป็นเรื่องที่"จำเป็น"จะต้องใส่ใจที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้หากเราไม่มีขั้นตอนและกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ใช้ร่วมกัน

WWF ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้มาเป็นเวลาหลายปีและได้ทำการจัดตั้งกฏระเบียบและกลไกต่างๆที่สามารถทำให้กิจกรรมเชิงพาณิชย์ต่างๆเข้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปัจจุบันโดยเฉพาะการผลิตต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวัสดุประเภทไม้
Madera lista para ser transportada al puerto o aserradero más cercano. La extracción de madera sin una técnica de manejo sostenible es una gran amenaza para los bosques tropicales. Utría, Chocó-Darién, Colombia.

© Diego M. Garces / WWF

Логото на FSC показва, че продуктът произхожда от добре управлявани гори

© N.C. Turner / WWF

ป่าไม้และการค้า
ป่าไม้ทั่วโลกมีจำนวนลดลงเป็นผลมาจากการเก็บเกี่ยวทรัพยากรป่าไม้ที่มากเกินพอดีและการขยายตัวของอุตสาหกรรมการก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ที่มีความต้องการมากขึ้นสำหรับการผลิตกระดาษและอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ที่ทำจากไม้ทำให้การเจริญเติบโตของป่าในเขตหนาวของยุโรปได้รับผลกระทบและพื้นที่ป่าบางส่วนได้ถูกทำลายลง

อย่างไรก็ตามพื้นที่ป่าบางส่วนในปัจจุบันได้รับการดูแลและจัดตั้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
CNN and WWF staff visit a forest concession of the logging company, Groupe Decolvenaere. The company is one of the first in the region to engage
into sustainable forest management and certification process, and is a member of the WWF Central African Forest and Trade Network.

© WWF / Peter Ngea

เดินหน้าสู่การจัดการทางน้ำ
WWF เดินหน้าสู่การจัดการทรัพยากรทางน้ำ   องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติได้แจ้งกับทาง WWF มาเป็นเวลาหลายปีว่าการหาทรัพยากรทางน้ำโดยเฉพาะการประมงต่างๆนั้นมีจำนวนที่มากเกินไป  การออกล่าหาปลาเป็นจำนวนมากจะทำให้จำนวนที่จะหาได้ลดลงหรือคงที่ไม่มากไปกว่าเดิม ไม่เพียงแค่นั้น สายพันธุ์ปลาต่างๆที่ได้รับผลกระทบต่างก็ลดจำนวนลง ทำให้ WWF ออกเกณฑ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนในการออกฤดูล่าปลาในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือยกตัวอย่างเช่นปลาโฮกิที่มีจำนวนน้อยและมีความต้องการของตลาดมากเนื่องจากสามารถขายได้ราคาสูง  หาก WWF ไม่มีการออกเกณฑ์ดังกล่าวอาจทำให้สายพันธุ์ของปลาโฮกิต้องสูญพันธ์ก็เป็นได้
Tuna fishing 'Almadraba' style, Spain. This type of Mediterranean fishing is based on setting out a labyrinth of nets to intercept different species of tuna in their migration. If the fishing quota is respected, this type of fishing is very selective and sustainable.

© WWF / Jorge BARTOLOME

ความสำคัญของพันธมิตรทางธุรกิจ
สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อ WWF ได้ใช้ MSC นั้น WWF ไม่ได้เป็นผู้ขับเคลื่อนเพียงผู้เดียวแต่มีการสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับบริษัท Unilever ซึ่งในเวลานั้นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับปลา    ในยุคศตวรรษที่ 18 และ 19 บริษัทดังกล่าวจะได้รับการมองว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจของการอนุรักษ์แต่ในปัจจุบันกลับเป็นส่วนสำคัญของการแก้ปัญหาต่างๆเลยทีเดียว

นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของความสำคัญในการร่วมมือกันทางธุรกิจระหว่างผู้ที่มีส่วนได้เสียโดยตรงเพื่อให้บรรลุผลร่วมกันอย่างเท่าเทียมซึ่งโอกาสนี้เปิดกว้างสำหรับทุกธุรกิจและกลุ่มองค์กร หากบริษัทหรือองค์กรมีความสนใจในเรื่องของทรัพยากรที่นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องการที่จะเปลี่ยนบทบาทจากศัตรูของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาเป็นผู้กล้าหาญที่จะเดินหน้าอนุรักษ์ไปพร้อมกันกับเรา

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ไม้และปลาเท่านั้น  กิจกรรมทางการเกษตรที่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช , บริษัทผลิตเครื่องดื่มที่จำเป็นต้องปกป้องแหล่งน้ำสะอาดและรักษาสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงเราจะได้เห็นบริษัททางด้านประกันชีวิตและสถาบันการเงินมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกซึ่งอาจเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
Man with fishing rod - postcard (2sided)

© WWF

กลยุทธ์ในการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ
กลยุทธ์ในด้านการล่ารายชื่อเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการระดมทุนสาธารณะของ WWF ซึ่งนับเป็นหนึ่งความท้าทายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

กลยุทธ์ของ WWF ถูกสร้างขึ้นด้วยกรอบแนวคิดของการให้ความสำคัญกับพื้นที่ทางธรรมชาติกว่า 200 แห่งทั่วโลกและภูมิศาสตร์ต่างๆที่จะนำเสนอถึงประเด็นทางออกและการควบคุมทางด้านสิ่งแวดล้อมเช่น FSC และ MSC

เรื่องเหล่านี้ถูกหลอมรวมกันมาเป็นประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรที่มีเป้าหมายในการตรวจสอบและอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติที่ชัดเจนอย่าง WWF เพื่อที่จะมุ่งไปสู่เป้าหมายนั่นคืออนาคตของโลกที่ยั่งยืน

เป้าหมายต่างๆเปรียบได้กับไฟนำทางขององค์กร WWF ที่จะร่วมมือกันระหว่างประเทศภายใต้ความพยายามและจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา
An MSC label on a package of frozen salmon indicates that it is certified sustainable seafood.

© WWF / Elma Okic

...

ทรัพยากรของโลกมีมากพอสำหรับความต้องการของทุกคน แต่ไม่มีวันมากพอสำหรับความโลภของมนุษย์

- มหาตมา คานธี

จากภูมิภาคสู่ระดับท้องถิ่น
กิจกรรมและวิถีชีวิตของคนในแต่ละพื้นที่มักแตกต่างกันไปตามบริบท ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาก็จำเป็นที่จะต้องแตกต่างกันไปให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นด้วย WWF ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาระดับท้องถิ่นซึ่งช่วยให้แต่ละพื้นที่สามารถแก้ไขปัญหาและดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันได้ในระดับสากล

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดก็ไม่สามารถบอกได้ว่านั่นคือแบบอย่างที่ควรปฏิบัติตามเพราะการอนุรักษ์ธรรมชาติไม่สามารถบอกได้ว่ามีวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่สมบูรณ์แบบและเราควรปฏิบัติตาม เพราะถ้าพลาดนั่นหมายถึงหายนะ
Local woman lacing the canoe, Madang, Papua New Guinea.

© Brent Stirton/WWF

การปรับตัวอย่างต่อเนื่อง
เฉกเช่นเดียวกันกับโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรด้านการอนุรักษ์อย่าง WWF ก็ต้องไม่หยุดนิ่งเช่นเดียวกัน เรายังคงมองหาโอกาสและทางออกใหม่ๆในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันซึ่งทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของเราได้
Footprint 
© Water for the world
ทรัพยากรน้ำมีอยู่อย่างจำกัด คำถามคือเราจะทำอย่างไรให้เพียงพอสำหรับคนรุ่นถัดไป ?
© Water for the world
องค์กรอนุรักษ์ที่เป็นผู้แก้ปัญหาให้กับประชาสังคม
จากกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและผลกระทบทางธรรมชาติขององค์กรอย่าง WWF ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผู้คนและธรรมชาติ เป็นที่ชัดเจนว่าการดำรงวิถีชีวิตของผู้คนได้ไร้ซึ่งความกังวลของผลกระทบที่จะตามมาซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก

สังคมมนุษย์นั้นมีความหลากหลายอย่างไม่สิ้นสุดซึ่งในทุกความหลากหลายของมนุษย์นั้นต้องแลกมาด้วยการสูญเสียทางธรรมชาติมากมาย

...

วิถีชีวิต , พิธีกรรม , ข้อห้ามและความเชื่อดั้งเดิมต่างๆนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับการสูญเสียของธรรมชาติแทบทั้งสิ้น

ธรรมชาติคือผู้สรรสร้างและขัดเกลาความเป็นมนุษย์
ด้วยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้นมานานนับหลายพันปีทำให้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ให้เราได้เป็นอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถ้าจะบอกว่าธรรมชาติขัดเกลาความเป็นมนุษย์ก็คงจะไม่ผิดนัก

การเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเกษตรกรรมนับเป็นอีกหนึ่งความเปลี่ยนแปลงที่ช่วยให้สังคมมนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างทางสังคมในรูปแบบของผู้ที่ต้องการอาหารและผู้ให้

แต่ธรรมชาติคือผู้ให้ที่พักพิงสำหรับสายพันธ์ต่างๆ , ธรรมชาติคือผู้จัดสรรโครงสร้างของพื้นที่และความอุดมสมบูรณ์ให้ตรงตามฤดูกาลต่างๆที่จะทำให้พืชผักผลไม้เจริญเติบโตได้ตามความต้องการของมนุษย์  แน่นอนว่าธรรมชาติก็ได้ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลร้ายต่อชีวิตของผู้คน

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่วิถีชีวิตหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อแบบดั้งเดิมได้มีผลดีและผลลบต่อธรรมชาติโดยตรงซึ่งในหลายๆที่ได้มีแนวคิดในการอนุรักษ์และรักษาธรรมชาติเป็นทุนเดิมอยู่แล้วซึ่งนั่นเป็นผลดีสำหรับเราที่จะนำแนวคิดและแง่มุมของวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น

เป็นความตลกร้ายอย่างหนึ่งที่เมื่อสังคมมนุษย์ได้เติบโตขึ้นและเรามีทักษะรวมไปถึงความเข้าใจสำหรับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นในยุคปัจจุบันแต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ทันการณ์สำหรับการดำรงสภาพสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ได้ มีทางเดียวเท่านั้นคือเราต้องเร่งดำเนินการแก้ไขในทันที
Доброволци почистиха плажа при устието на р. Велека в Природен парк Странджа

© WWF DCP BG Archive

Gray whale

© naturepl.com / Mary McDonald / WWF

เข้าสู่ยุควัฒนธรรมขัดเกลาธรรมชาติ
ธุรกิจการเกษตรป่าไม้และการล่าสัตว์รวมถึงการประมงเชิงพาณิชย์ได้มีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยขึ้นอยู่ตลอดเวลาซึ่งได้ผลักดันขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติในรูปเชิงการผลิต ทำให้องค์กรต่างๆมากมายหันมาให้ความสนใจในเรื่องของการอนุรักษ์ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น มีการผลิตและใช้วิธีการต่างๆมากมายที่จะช่วยให้ธรรมชาติสามารถผลิตทรัพยากรได้ดีอย่างใน

ถ้าจะบอกว่าวัฒนธรรมของมนุษย์ก้าวเข้ามามีบทบาทในการขัดเกลาธรรมชาติและเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นก็คงจะไม่ผิดนัก เรารู้ดีว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้และธรรมชาติก็ได้พ่ายแพ้ต่อการรุกล้ำของมนุษย์แต่ในท้ายที่สุดเราทุกคนรู้ดีว่ามนุษย์ไม่อาจต้านทานการเปลี่นแปลงของธรรมชาติได้และผลกระทบของมันช่างใหญ่หล
WWF ร่วมมือกับองค์กรต่างๆเพื่อประเมินถึงสถานการณ์ในปัจจุบันด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานของเราทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมายเช่นแม่น้ำที่ไม่อาจไปเชื่อมต่อกับทะเลได้อีกต่อไป , การประมงเชิงพาณิชย์ที่มากเกินไปจนส่งผลถึงจำนวนปลาในธรรมชาติ หรือแม้แต่ป่าไม้ที่ไม่เคยเกิดการไหม้โดยสภาพอากาศเลยแต่ในปัจจุบันกลับเกิดไฟไหม้ป่าขึ้นในทุกปี  ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเกิดจากการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่ส่งผลต่อธรรมชาติซึ่งเราต้องใส่ใจมากกว่านี้เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ที่กล่าวไปเป็นเพียงแค่กรณีตัวอย่างส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่น่าวิตกกังวลซึ่งการก่อตั้งของ WWF คืองานด้านสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวกิจกรรมต่างๆเพื่อผลักดันให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องของสายพันธ์และการอนุรักษ์ธรรมชาติซึ่งนับว่าเป็นอีกครั้งที่วัฒนธรรมของมนุษย์ได้ขัดเกลาธรรมชาติ
Center-pivot irrigation in a soy monoculture, Rondonópolis, Brazil.

© Adriano Gambarini / WWF-Brazil

...

ธรรมชาติไม่ใช่แค่สถานที่ท่องเที่ยว แต่มันคือบ้านของเรา

- Gary Snyder

WWF มองไปสู่อนาคตที่ดีกว่า
เมื่อกาลเวลาผ่านไปและโลกพัฒนาไปได้ไกลมากยิ่งขึ้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะมองถึงการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างใกล้ชิดและพูดคุยถึงการอนุรักษ์สายพันธ์รวมถึงแหล่งที่อยู่อาศัยที่เหลือน้อยในปัจจุบันที่เป็นหนึ่งในประเด็นด้านความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อม

สายพันธ์ต่างๆและแหล่งที่อยู่อาศัยของมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์

เป็นเวลากว่าหลายพันปีที่นักมานุษยวิทยาได้แสดงให้เราเห็นว่าสังคมมนุษย์มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติในรูปแบบของการพึ่งพาซึ่งกันและกันและมีการพัฒนาในรูปแบบของวัฒนธรรมและข้อห้ามต่างๆซึ่งเป็นมิตรต่อธรรมชาติและความยั่งยืนของชีวิตมนุษย์ก่อนที่คำว่า"ความยั่งยืน"จะถูกคิดค้นขึ้นมาเสียอีก

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มาพร้อมกับภัยพิบัติมากมายทำให้สังคมมนุษย์รับรู้ได้ว่าเราไม่สามารถที่จะควบคุมสภาพแวดล้อมได้อีกต่อไปแต่เราก็ยังจำเป็นที่จะต้องอาศัยอยู่ในโลกใบนี้  ในปี 2005 โลกได้รู้จักกับ Kyoto Protocol ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของความพยายามระดับนานาชาติในการต่อสู้กับภัยคุกคามต่อความมั่นคงที่เลวร้ายที่สุดในโลกใบนี้

ในปีเดียวกันนั้นโลกได้ประสบกับพายุเฮอริเคนแคทรีนาซึ่งมีอานุภาพเหนือกว่าพายุเฮอริเคนที่มีความรุนแรงมากที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา นั่นได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่าเราไม่สามารถควบคุมภัยคุกคามจากธรรมชาติได้เลยซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นก็มากพอที่เราจะตระหนักได้ถึงมาตรการเร่งด่วนก่อนที่ภัยธรรมชาติจะทำลายล้างเราอีกครั้งหนึ่ง
The world's future is in the children's hands.

© Francisco Márquez / WWF-Spain

A hurricane as viewed from the International Space Station

© © ESA / T. Reiter / WWF

อนาคตยังคงมีความหวัง
ทางออกของปัญหาต่างๆยังคงมีอยู่และไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้เพราะเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่น่าเชื่อ

ถึงแม้เจตนารมณ์ในการช่วยเหลือภาคการเมืองจะไม่ต่อเนื่อง แต่ความตั้งใจของประชาชนทุกคนยังคงสืบไปและส่งผลกระทบต่อโลกการค้าและองค์กรภาคธุรกิจให้ทุกคนตระหนักได้ว่าเราไม่สามารถรอได้อีกต่อไป

ด้วยความคิดสร้างสรรค์ , ความเข้าใจและความร่วมมือทำให้ทุกสิ่งเป็นไปได้ เราทุกคนจะมีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในเวลาเดียวกันถ้าหากว่าเรามีสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศที่ดีขึ้นภายในอนาคต

เป้าหมายสูงสุดของ WWF คือการสร้างอนาคตที่มนุษย์สามารถอยู่อาศัยไปกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืนและเรื่องราวปัญหาเหล่านี้ก็คือสิ่งที่เราต้องทำ

เราสามารถกลับไปอยู่อย่างสงบดั่งเช่นอดีตได้หรือไม่ ?

อาจจะไม่ได้ แต่อย่างน้อยเราก็สามารถสร้างสภาพแวดล้อมและสังคมมนุษย์ที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตที่ดีในอนาคตได้ด้วยน้ำมือของเราทุกคน
Youths celebrated Earth Hour 2011 with candles lighting along the riverside of Phnom Penh city.

© Moeun Morn / WWF-Cambodia

Earth Hour

© Earth Hour

สนับสนุน
สนับสนุน