โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี WWF ประเทศไทย

ปัจจุบันโครงการได้มีการดำเนินงานร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, WWF ประเทศไทย และ เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี POWER of KUIBURI เพื่อร่วมกันปกป้องผืนป่ากุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ อย่างต่อเนื่องภายใต้ ความร่วมมือของ 13 องค์กรหลัก

ภาพของฝูงช้างป่า กระทิง และเสือโคร่งเพศเมีย ถ่ายได้บริเวณแปลงปรับปรุงแหล่งอาหารสัตว์ป่าในพื้นที่โครงการ และเป็นพื้นที่เป้าหมายการอนุรักษ์ช้างป่า ระหว่างพวกมันออกมากินอาหารในช่วงพลบค่ำ ครอบครัวช้างป่า 10 ตัว กระทิงฝูงร่วม 35 ตัว และสัตว์ป่าอื่นๆ

© WWF Thailand/Suchin Wongsuwan

เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี ใช้ชื่อภาษาอังกฤษในการดำเนินงานว่า Public Private Partnership Offering for Wildlife and Ecosystem Resilience หรือ POWER – Kuiburi  

เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี หรือ POWER of Kuiburi เป็นรูปแบบการบริหารจัดการเป็นเครือข่าย โดยแต่ละองค์กรมีภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนภายใต้การดำเนินงานร่วมกันโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ , องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคเอกชนในการร่วมอนุรักษ์สัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติในผืนป่ากุยบุรีครอบคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

...

 …ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอ
การปฏิบัติคือ ให้ไปสร้างอาหารในป่าเป็นแปลงเล็ก ๆ และกระจาย
กรณีช้างออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า…

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีมีใครบ้าง ?
  1. อำเภอกุยบุรี
  2. อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
  3. กรมทหารราบที่ 9 โดยหน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก กองกำลังสุรสีห์
  4. กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ โดย ร.11 พัน.3 รอ.
  5. กรมทหารพรานที่ 14
  6. WWF ประเทศไทย โดยโครงการอนุรักษ์ช้างป่าและต่อต้านล่าสัตว์ป่ากุยบุรี
  7. กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 145
  8. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยที่ทำการปกครองจังหวัด
  9. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  10. มูลนิธิช้างป่า…บ้านพ่อ
  11. ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครองจังหวัดเพชรบุรี
  12. บริษัท สยามไวเนอรี่ เทรดดิ้ง พลัส จำกัด
  13. ศูนย์การทหารราบ
POWER-Kuiburi

© WWF Thailand

POWER-Kuiburi rel= © WWF Thailand

...

…ช้างป่าเป็นสัตว์ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงรัก ทรงห่วงใย โดยเฉพาะช้างทางกุยบุรีและแก่งกระจาน ทรงห่วงใยมาตลอด ทรงช่วยหาที่อยู่ที่กินให้ช้างจะได้ไม่รบกวนคน คนกับช้างจะได้มีปัญหากันน้อยที่สุด เช่นที่กุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์

ช้างมีความสำคัญมาแต่ครั้งประวัติศาสตร์ เคยช่วยรักษาบ้านเมือง กู้บ้านกู้เมือง ดังนั้นขอให้ช่วยกันดูแลมิให้ช้างถูกฆ่าอย่างทารุณเยี่ยงนี้ เพื่อจะได้ไม่ผิดพระราชประสงค์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระทัยที่จะให้มีการอนุรักษ์ช้างให้เป็นสัตว์คู่แผ่นดินสืบไป…

พระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

ยึดถือแนวพระราชดำริ

เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี (POWER – Kuiburi) ดำเนินงานโดยยึดถือแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ มาเป็นแนวทางการดำเนินการเพื่ออนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆในผืนป่ากุยบุรีรวมถึงการให้ความปลอดภัยต่อทรัพย์สินของราษฎร

การดำเนินงานในด้านต่างๆ

ด้านป้องกัน

1. ภาระกิจปกป้องผืนป่ากุยบุรีและพื้นที่ป่าต้นน้ำของจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับหน่วยงานในเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีเป็นภาระกิจที่ต้องดำเนินการลาดตระเวนทุกเดือน โดยมีหน่วยงานร่วมดำเนินภาระกิจลาดตระเวน ดังนี้
  • อุทยานแห่งชาติกุยบุรี 
  • โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี WWF ประเทศไทย
  • หน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก กองกำลังสุรสีห์ กรมทหารราบที่ 29
  • กรมทหารพรานที่ 14
  • ชุดประสานงานโครงการพระราชดำริฯ ป่ากุยบุรี (ร.11 พัน. 3 รอ.)
  • กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 145
2. สนับสนุนอุปกรณ์บางส่วนในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เพิ่มเติมจากงบประมาณหลักของหน่วยงานต้นสังกัด และสนับสนุนเสบียงอาหารในการปฏิบัติภาระกิจลาดตระเวนร่วมประจำเดือนของเจ้าหน้าที่
 

ด้านการมีส่วนร่วม

     เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งของคนกับช้างที่ออกมาทำลายพืชผลทางการเกษตรในพื้นให้น้อยลงและช่วยให้ชาวบ้านมีทัศนะคติที่ดีต่อช้างป่า ทำให้คนกับช้างอยูร่วมกันได้
     สนับสนุนการเฝ้าระวังช้างป่าและผลักดันช้างป่ากลับเข้าพื้นที่อาศัยของสัตว์ป่า โดยมีการสนับสนุนทุกเดือนให้กับหน่วยงานร่วมภายใต้ องค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีเพื่อเฝ้าระวังช้างป่าออกมารบกวนพืชผล ทางการเกษตรของชาวบ้านตามข้อตกลงที่ชาวบ้าน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลหาดขาม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ลงนาม ร่วมกันในการเฝ้าระวังช้างป่าออกมาทำลายพืชผลทางการเกษตรและได้ ปฏิบัติร่วมกันมา อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
     ร่วมส่งเสริมให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าออกมาทำลายพืชผลทางการเกษตร มีรายได้ทางเลือกจากกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี
 

ด้านการปรับปรุงแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า

     ปรับปรุงแปลงหญ้าแหล่งอาหารสัตว์ป่าที่โครงการได้รับมอบหมาย เพื่อปรับปรุงดูแลอย่างต่อเนื่องทุกปีและมีการดำเนินการเพาะกล้าไม้พืชอาหารช้าง อีกทั้งมีกิจกรรมเสริมโป่งเทียมและเติมน้ำในกระทะน้ำให้กับสัตว์ป่าในพื้นที่
 

ด้านงานวิจัย

     ดำเนินงานโครงการศึกษาจำนวนประชากรช้างป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ด้วยการจำแนกเอกลักษณ์ส่วนตัวของช้าง โดยวิธีตรวจสารพันธุกรรมจากมูลช้าง             
      ผลจาการดำเนินงานร่วมกันจากหลายภาคส่วนได้ผลการวิเคราะห์พบว่าการจำแนกตัวอย่างช้างป่าโดยวิธีการตรวจสารพันธุกรรมจากมูลช้าง จำแนกได้ 237 ตัว แยกเป็นเพศผู้ 69 ตัว เพศเมีย 168 ตัว 



ความก้าวหน้าของโครงการ

ความก้าวหน้าการดำเนินงานในภาพรวมของเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีโดยมีโครงการอนุรักษ์ช้างป่าและต่อต้านล่าสัตว์ป่ากุยบุรี WWF ประเทศไทย ทำหน้าที่ประสานงานและเสริมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานของเครือข่าย สามารถระบุผลภาพรวมดำเนินงาน ดังนี้
  • 1 ส.ค. 52 - หน่วยงานภาครัฐ,องค์กรพัฒนาเอกชน,ภาคเอกชนและประชาชน
  • ในการอนุรักษ์ช้างป่ามีการลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการเฝ้าระวังให้ความปลอดภัยต่อช้างป่า
  • 2552 - 2553 - จำนวนประชากรช้างป่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเพิ่ม 30 ตัวในช่วงปี 2553
  • 2554 - ชุมชนท้องถิ่นมีการรับรู้ถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในเชิงบวกมากขึ้น , ความคิดในการต้องการทำร้ายช้างป่าลดลงและประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • 2555 - พบกระทิงไม่ต่ำกว่า 150 ตัวและวัวแดง 4 ตัว , พบสัตว์ป่าสงวน 4 ชนิดคือ สมเสร็จ , แมวลายหินอ่อน , เลียงผาและเก้งหม้อ , พบสัตว์ป่าใกล้สูญพันธ์ของโลกคือ วัวแดง , เสือโคร่ง , เสือดาวและเสือดำ
  • 2556 - ปริมาณนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติกุยบุรีเพิ่มขึ้น 146.54% เมื่อเทียบกับปี 2551 , ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการให้บริการด้านการท่องเที่ยว , การศึกษาดูงานและบำเพ็ญประโยชน์ในการสร้างแหล่งอาหารและแหล่งน้ำให้กับช้างและสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น , สื่อมวลชนระดับประเทศและต่างประเทศในสื่อทุกแขนงถ่ายทอดประเด็นความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าเพิ่มมากขึ้น
  • 17 ก.ค. 56 - เอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเยือนอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ชื่นชมการดำเนินงานปกป้องสัตว์ป่าและการลาดตระเวนอุทยานแห่งชาติกุยบุรีที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
  • 8 ส.ค. 56 - นายกรัฐมนตรี น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรยกย่องกุยบุรีโมเดลเป็นต้นแบบการจัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าที่ดีที่สุดของประเทศไทย
Kuiburi Smart Patrol - ผู้พิทักษ์แนวหน้า ปกป้องสัตว์ป่า ผืนป่ากุยบุรี

© WWF-Thailand

ด้านป้องกัน

ด้านการมีส่วนร่วม

ด้านการปรับปรุงแหล่งอาหาร

ด้านงานวิจัย