The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
ประเทศไทยนับเป็นในผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นโครงการตลาดยั่งยืน ภายใต้โครงการริเริ่มเปลี่ยนรูปแบบตลาด( Market Transformation Initiative-MTI) ของ WWF จึงเริ่มดำเนินงานส่วนของอาหารทะเล ทั้งชนิดที่จับจากธรรมชาติและเพาะเลี้ยง เพื่อเพิ่มความยั่งยืนและการตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ทางฝั่งของผู้ผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในส่วนของอาหารทะเลที่จับจากธรรมชาติ WWF ประเทศไทย กำลังดำเนินงานที่เกี่ยวกับปูม้า (Portunus pelagicus) และปลาเป็ด ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตปลาป่น โดยมีการจัดทำโครงการปรับปรุงการทำประมง (FIPs) โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ซึ่งรวมถึง ชาวประมงและผู้ประกอบการใน อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ ภาครัฐ (กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานหลัก) ภาควิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชน
ชื่อโครงการ – โครงการปรับปรุงการทำประมงอวนลากฝั่งทะเลอันดามัน
เป้าหมายหลัก – WWF ประเทศไทย และ 8 สมาคมประมง ในนาม Thai Sustainable Fisheries Roundtable (TSFR) มุ่งหวังให้เกิดผลลัพธ์ต่างๆดังนี้
ด้วยเหตุนี้ WWF-ประเทศไทย และ TSFR จึงร่วมกันพัฒนาแผนปรับปรุงการทำประมงเรืออวนลากฝั่งทะเลอันดามัน (the Andaman Trawl FIP) สำหรับวัตถุดิบที่จับจากธรรมชาติ โดยมีความคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการนำร่องสำหรับบริเวณอื่นๆในประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งนี้ จังหวัดตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามันที่ได้รับคัดเลือกในโครงการ ได้แก่ จังหวัดพังงา (อ่าวพังงา) ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล โดยคัดเลือกพื้นที่จากความซับซ้อนของผู้ใช้ประโยชน์และประเด็นปัญหาในพื้นที่กว่า
โครงการนี้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 – วางขอบเขตการทำงาน การดำเนินงานในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย การทำแผนผังและการจัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม ผ่านวิธีการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน (Rapid Rural Appraisal – RRA) โดยใช้เทคนิคการจัดสนทนาเฉพาะกลุ่ม (focus group) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) การสังเกตการณ์ (direct observation) และการเก็บข้อมูลชั้นรอง (secondary data collection) อีกทั้งยังใช้วิธีการประเมินทรัพยากรประมงในพื้นที่ (stock assessment) วิธีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม (socio-economic studies) วิธีการประเมินเบื้องต้นของ MSC และการส่งมอบเอกสารแนวทางเบื้องต้นเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากร
ขั้นที่ 2 – พัฒนาแผนปฏิบัติการ ในระยะที่ 2 ของโครงการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายร่วมกันเตรียมแผนปฏิบัติการปรับปรุงการทำประมงอวนลาก (Trawl FIP Action Plan) จนเสร็จสมบูรณ์ โดยนำผลศึกษาต่างๆ จากขั้นที่ 1 มาร่วมประกอบการพิจารณา พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและขอความยินยอมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
ขั้นที่ 3 – นำแผนปฏิบัติการไปใช้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนำแผนพัฒนาการทำประมงไปปฏิบัติใช้จริง ตามบทบาทหน้าที่และกรอบเวลาที่ระบุไว้ในขั้นตอนที่ 2 โดยมีการติดตามความคืบหน้าของการทำงาน และสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับโครงการได้
ขั้นที่ 4 – ทบทวน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันประเมินความคืบหน้าการประมงประจำปี พร้อมทั้งตรวจแก้และปรับเปลี่ยนแผนพัฒนาการทำประมงในส่วนที่จำเป็น
ชื่อโครงการ – โครงการปรับปรุงการทำประมงอวนลากฝั่งทะเลอันดามัน
เป้าหมายหลัก – WWF ประเทศไทย และ 8 สมาคมประมง ในนาม Thai Sustainable Fisheries Roundtable (TSFR) มุ่งหวังให้เกิดผลลัพธ์ต่างๆดังนี้
- ช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศไทยมีความเข้าใจในมาตรฐานการประมงสากล (MSC – Marine Stewardship Council หรือสำนักงานคณะกรรมการรับรองมาตรฐานสินค้าประมง) มากขึ้น
- ใช้โครงการปรับปรุงการทำประมงอวนลากฝั่งทะเลอันดามันเป็นโครงการนำร่อง โดยคาดว่าจะนำไปปรับใช้กับพื้นที่อื่นๆในประเทศไทย
- เพิ่มการมีส่วนร่วม โดยเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประมงเรืออวนลากเข้าร่วมโครงการ ซึ่งรวมถึง เรือประมงพาณิชย์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ภาครัฐ นักวิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชน
- สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม
- ลดผลกระทบต่อสัตว์ที่ถูกจับด้วยเรืออวนลากและระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง เช่น แนวปะการัง หญ้าทะเล หรือสัตว์น้ำใกล้สูญพันธ์ุ เช่น พะยูน เต่า และโลมา
- ปรับปรุงการทำประมงอวนลากในฝั่งทะเลอันดามันตอนใต้
- สร้างแนวทางให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศไทยเพื่อเข้าสู่มาตรฐานประมง MSC หรือมาตรฐานที่ใกล้เคียง
ด้วยเหตุนี้ WWF-ประเทศไทย และ TSFR จึงร่วมกันพัฒนาแผนปรับปรุงการทำประมงเรืออวนลากฝั่งทะเลอันดามัน (the Andaman Trawl FIP) สำหรับวัตถุดิบที่จับจากธรรมชาติ โดยมีความคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการนำร่องสำหรับบริเวณอื่นๆในประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งนี้ จังหวัดตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามันที่ได้รับคัดเลือกในโครงการ ได้แก่ จังหวัดพังงา (อ่าวพังงา) ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล โดยคัดเลือกพื้นที่จากความซับซ้อนของผู้ใช้ประโยชน์และประเด็นปัญหาในพื้นที่กว่า
โครงการนี้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 – วางขอบเขตการทำงาน การดำเนินงานในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย การทำแผนผังและการจัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม ผ่านวิธีการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน (Rapid Rural Appraisal – RRA) โดยใช้เทคนิคการจัดสนทนาเฉพาะกลุ่ม (focus group) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) การสังเกตการณ์ (direct observation) และการเก็บข้อมูลชั้นรอง (secondary data collection) อีกทั้งยังใช้วิธีการประเมินทรัพยากรประมงในพื้นที่ (stock assessment) วิธีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม (socio-economic studies) วิธีการประเมินเบื้องต้นของ MSC และการส่งมอบเอกสารแนวทางเบื้องต้นเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากร
ขั้นที่ 2 – พัฒนาแผนปฏิบัติการ ในระยะที่ 2 ของโครงการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายร่วมกันเตรียมแผนปฏิบัติการปรับปรุงการทำประมงอวนลาก (Trawl FIP Action Plan) จนเสร็จสมบูรณ์ โดยนำผลศึกษาต่างๆ จากขั้นที่ 1 มาร่วมประกอบการพิจารณา พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและขอความยินยอมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
ขั้นที่ 3 – นำแผนปฏิบัติการไปใช้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนำแผนพัฒนาการทำประมงไปปฏิบัติใช้จริง ตามบทบาทหน้าที่และกรอบเวลาที่ระบุไว้ในขั้นตอนที่ 2 โดยมีการติดตามความคืบหน้าของการทำงาน และสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับโครงการได้
ขั้นที่ 4 – ทบทวน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันประเมินความคืบหน้าการประมงประจำปี พร้อมทั้งตรวจแก้และปรับเปลี่ยนแผนพัฒนาการทำประมงในส่วนที่จำเป็น
© WWF Thailand
© WWF-Thailand
© WWF-Thailand
© WWF-Thailand