The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์) - พี่จ๋า ณฐา ชัยเพชร
13 December 2023
ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ พี่จ๋า ณฐา ชัยเพชร กลุ่มเกษตรพื้นบ้านตำบลวังใหญ่ อ.เทพา จ.สงขลา มุมมองความรัก(ษ์) ที่มีต่อข้าวพื้นบ้าน ท้องนา อาชีพชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ซึ่งจะว่าไปแล้ว พี่จ๋า คือเกษตรกรแกนนำในพื้นที่ ที่กำลังรักษาและเชื่อมโยงความหลากหลายของพันธุกรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น สร้างการเรียนรู้กับคนทุกกลุ่มวัยเพื่อสืบสานภูมิปัญญาเอาไว้
.
วันนี้เทศกาลข้าวใหม่ 2567 มีโอกาสพูดคุยกับพี่จ๋า เกี่ยวกับความรัก การรักษา และการอนุรักษ์ข้าวที่พี่จ๋าและกลุ่มกำลังทำงานกันอย่างแข็งขัน จึงขอนำเรื่องราวบางส่วนมาส่งต่อถึงผู้อ่านทุกท่าน
.
พี่จ๋าเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำนาว่า "พี่ก็ไม่รู้ว่าพี่มีปมอะไรในใจไหมนะ แต่ว่าอันหนึ่งคือ ก่อนหน้าที่จะกลับมาปลูกข้าว เวลาพี่เห็นนาร้าง พี่จะรู้สึกว่าใจมันฝ่อ ใจมันห่อเหี่ยว เหมือนน้ำตาจะไหล แต่พอเวลามองไปที่ท้องนาแล้วเห็นข้าวที่มันเขียว หรือสีทอง หัวใจพี่จะพองโตคับอกและปลื้มปริ่ม”
เมื่อก่อนพี่รอให้คนอื่นทำสิ่งที่เป็นความฝันที่พี่อยากเห็น อย่างเรื่องการทำนา การปลูกข้าว พี่ก็ฝันไว้ว่าอยากเห็นแบบนี้แบบนั้น แต่พอมันไม่เห็นเหมือนที่ใจหวัง แล้วเราทำยังไงให้เราได้เห็นภาพที่เราฝัน เลยตระหนักว่า ถ้าเรารอให้คนอื่นทำให้เราเห็นมันยาก ก็ต้องมาทำเอง เพื่อให้ความฝันนั้นเป็นจริงขึ้นมา
เริ่มจากเมื่อ ปี 2549 หลังจากไปอบรมเรื่องการคัดพันธุ์ข้าวกับอาจารย์เดชา ศิริภัทร มูลนิธิข้าวขวัญ มันรู้สึกมีพลังเยอะมาก และช่วงนั้นก็เห็นนาร้างจำนวนมากในชุมชน ในหมู่บ้านของน้องสาว สุดท้ายก็มารวมกลุ่มขับเคลื่อนเรื่องข้าวอินทรีย์ เริ่มจากข้าวนาก่อน แล้วก็ขยับมาทำเรื่องข้าวไร่ ในปี 2560 เดินทางไปเชื่อมร้อยกับเครือข่ายต่างพื้นที่ จนได้พันธุ์ข้าวไร่กลับคืนมาปลูกในชุมชน จำนวน 12 สายพันธุ์ จากเดิมที่เหลือแค่ 6 สายพันธุ์ ตอนที่สำรวจข้อมูลในปี 2558
.
"สำหรับ 1 ใน 12 สายพันธุ์ที่โดดเด่นในพื้นที่ คือ ข้าวช่อขิง เป็นข้าวนาปี ลักษณะเด่นคือ ต้นข้าวจะคงทน สามารถปรับสภาพเพื่อความอยู่รอด น้ำแล้งเขาก็อยู่ได้ พอน้ำเยอะเขาก็สามารถยืดตัวไม่ให้ต้นข้าวล้มได้ ให้ผลผลิตสูง รสชาติมีความหวาน ความมัน หลังจากนำข้าวช่อขิงไปตรวจคุณค่าทางอาหารแล้ว พบว่า สรรพคุณเด่นที่สุดคือ เป็นข้าวที่มีโฟเลทสูง ในคนท้องถ้าขาดสารนี้จะทำให้ลูกที่คลอดออกมามีปัญหาเรื่องปากแหว่งเพดานโหว่ได้ เราก็เอาข้อมูลคุณค่าทางอาหารนี้กลับมาคืนให้กับชุมชน อย่างน้อยชาวนาคนไหนที่เขาจะปลูกข้าว เพื่อจำหน่ายนี่ก็เป็นช่องทางหนึ่ง ที่จะช่วยเสริมกำลังใจในการทำนา
"เมื่อก่อนชาวบ้านไม่รู้เรื่องการขายข้าวเลย ทางใต้เขาทำนา ปลูกข้าวไว้บริโภค เขาไม่ได้เน้นขาย พอเราลงไปทำความเข้าใจ ให้เขาได้ลองคิดว่าข้าวพื้นบ้านนี้ ถ้าคุณไม่กินข้าวนี้นะ แต่ถ้าคุณปลูกได้ก็สามารถขายได้ ช่วงหลังจากปี 2560 เราขายข้าวพื้นบ้านได้เยอะขึ้น”
พอมาช่วงโควิด-19 คนไม่ได้ออกไปทำงานนอกพื้นที่ คนต้องอยู่แต่ในชุมชน คนไหนที่ไม่มีที่นาเป็นของตัวเองก็มองไปที่นาร้าง แล้วไปขอทำนา เพราะทางใต้เขาไม่มีเรื่ิองเช่านา มีแต่ทำนาหวะ ซึ่งในความหมายคือ การลงทุนทำนาร่วมกัน โดยเจ้าของนาหว่านกล้าให้ ส่วนค่าไถนั้นคนทำนากับเจ้าของนาออกกันคนละครึ่ง พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้ก็แบ่งครึ่งกัน แต่ทำแบบต่างคนต่างเก็บ หรือบางคนไป รับจ้างเก็บข้าว แต่เดิมรับเป็นเงิน ก็เริ่มเปลี่ยนมารับเป็นข้าวแทน เพราะช่องทางการหาเงินมันมีหลายช่อง ขายผัก ขายผลไม้ กรีดยาง แต่ว่าตอนนี้คนให้ความสำคัญเรื่องข้าว เพราะว่าตอนนี้คนในชุมชน พูดกันเยอะว่า ต้องเตรียมเรื่องอาหารไว้
สำหรับความท้าทายของชาวนา หลังจากมีโอกาสมาทำเรื่องการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลังจากได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่น จากภาคอื่น จากคนในชุมชนเอง
“ทุกคนเรียนรู้แล้วว่า ความมั่นคงทางอาหารมันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ผลิตเอง และพี่มองว่า การทำข้าวไร่ การทำพืชไร่ คือช่องทางเดียวที่เราจะรักษาความมั่นคงทางอาหารไว้ได้ เพราะว่าใน ไร่ มันมีทั้งถั่ว มีทั้งเผือก มีทั้งมัน มีทั้งขิง ข่า ตะไคร้ พริก มะเขือ บวบ แตง ถ้าเรื่องพืชไร่หายไป เราก็ไม่มีความมั่นคงทางด้านอาหารแล้ว เพราะต้องซื้อทุกอย่าง"
ส่วนเรื่องสภาพภูมิอากาศที่มันเปลี่ยนไป จากเดิมที่เราเคยดำนาเสร็จก่อนออกพรรษา ตอนนี้ออกพรรษาแล้ว ทอดกฐินไปแล้ว 1 เดือน นาตอนนี้กำลังดำกันอยู่ เพราะว่าก่อนหน้านี้ไม่มีน้ำ ฤดูกาลทำนามันขยับออกมาเรื่อยๆ
ตอนนี้กลุ่มเราคุยกันเบื้องต้น อาจจะเปลี่ยนพันธุ์ข้าว จากที่เป็นข้าวนาปี ใช้เวลา 5-6 เดือน เราอาจจะต้องเปลี่ยนเป็นพันธุ์ข้าวอายุสั้นลง ใช้เวลา 3-4 เดือน แต่ว่าเราอาจจะต้องคัดพันธุ์ข้าวใหม่อีกรอบ เพื่อที่จะให้มันทน และรับมือกับสภาพอากาศที่มันเปลี่ยนแปลงได้ และชาวบ้านแต่ละคนจะใช้พันธุ์ข้าวอย่างน้อย 3 ชนิดในการทำนา คือ ข้าวเบา อายุ 4 เดือนกว่า ข้าวกลาง อายุประมาณ 5 เดือน และข้าวหนัก ประมาณ 6 เดือน เพื่อลดความเสี่ยง
“การทำนาวิถีภาคใต้ ใช้วิธีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่างเช่น วันนี้จะดำนาของใครก็ไปช่วยกันดำ พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็เหมือนกัน ก็เลยเกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ในเครือข่าย และตั้งแต่ทำมา พี่ก็มองว่า มันมีแต่ขยายวงเพิ่มขึ้น ก็แสดงว่าความรักที่เราทุ่มเทกับตรงนี้ มันเติบโต ตอนนี้พลังที่พี่ได้รับก็คือ พลังจากเด็กที่ทำให้หัวใจยังฟูและยังไปต่อได้ เรามีช่วงวัยที่จะเกษียณอายุเหมือนกัน แต่ว่า ก่อนเกษียณ ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ ความรู้ที่มีอยู่ พี่อยากส่งต่อให้คนรุ่นหลังให้ได้มากที่สุด การที่เราถ่ายทอดให้กับเด็ก เด็กไม่ได้ทำวันนี้หรอก แต่วันนึงที่เขาเจออะไรสักอย่างนึง ค้นพบตัวเองสักอย่างนึง ช่วงนั้นเขาก็จะกลับมาทำได้ เอาตัวรอดได้ พึ่งตัวเองได้"
สำหรับความสำคัญของเทศกลข้าวใหม่นั้น พี่จ๋ากว่าว่า ข้าวใหม่ถือเป็นข้าวที่มีประโยชน์ที่สุดและอร่อย ที่สุด เพราะฉะนั้นคนที่ได้กินข้าวใหม่คือคนที่โชคดีที่สุดในปีนั้นๆ และประเทศไทยโชคดีที่สุดที่มีโอกาสได้กินข้าวใหม่ตลอดทั้งปี เพราะข้าวใหม่ในประเทศไทยออกไม่พร้อมกัน เริ่มจากภาคเหนือ ไล่ลงมาอีสาน ไล่ลงมาภาคกลาง มาจนถึงใต้บน แล้วก็ใต้ล่าง และอยากเชิญชวนให้คนที่ไม่เคยชิมข้าวใหม่ได้มาเที่ยว แงานเทศกาลข้าวใหม่ 2567 ที่มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) มาชิมดูว่าข้าวใหม่ในแต่ละภาค มีรสชาติยังไง และกินกับอะไรอร่อย
"คนส่วนมากมองว่าข้าวใต้เป็นข้าวแข็ง แต่ว่าคนโบราณเขาจะมีเทคนิคพิเศษในการหุงข้าว เขาดูว่าวันนี้เขาแกงอะไร แล้วเขาจะหุงข้าวแบบไหน ยกตัวอย่าง เมนูกับข้าวที่มันแห้ง ๆ อย่างเช่น เนื้อแห้ง ปลาเค็ม ปลาทอด เขาก็จะหุงข้าวให้นิ่มหน่อย ก็คือใช้น้ำเยอะหน่อย แต่ถ้าเขาแกงส้ม แกงกะทิ แกงจืด เขาก็จะหุงข้าวให้แข็งหน่อยนึง เพื่อเวลากินกับน้ำแกง มันจะทำให้กลมกล่อม ไม่พะอืดพะอม"
พบกับพี่จ๋า และหลากหลายข้าวไร่ หลากหลายเมนูอาหารจากนิเวศเกษตรสวนสมรม พืชร่วมยางจากพื้นที่ภาคใต้ หรือหากสนใจเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน เรียนรู้(จัก)พันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เหมาะสมในสถานการณ์โลกเดือด ก็มีเวิร์กชอปจากชาวนานักพัฒนาพันธุ์ข้าวตัวจริง ช่วงเวลา 13.30 – 15.00 น. ด้วยนะ
งานเทศกาลข้าวใหม่ 2567: ‘ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์)
วันที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลา 9.00 – 16.30 น.
ณ สวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ไทรม้า นนทบุรี
.
ขอบคุณผู้สัมภาษณ์ ใหม่ นันทนิตย์ อนุศาสนะนันทน์ เจ้าของเพจ ว่าง space & anything
.
วันนี้เทศกาลข้าวใหม่ 2567 มีโอกาสพูดคุยกับพี่จ๋า เกี่ยวกับความรัก การรักษา และการอนุรักษ์ข้าวที่พี่จ๋าและกลุ่มกำลังทำงานกันอย่างแข็งขัน จึงขอนำเรื่องราวบางส่วนมาส่งต่อถึงผู้อ่านทุกท่าน
.
พี่จ๋าเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำนาว่า "พี่ก็ไม่รู้ว่าพี่มีปมอะไรในใจไหมนะ แต่ว่าอันหนึ่งคือ ก่อนหน้าที่จะกลับมาปลูกข้าว เวลาพี่เห็นนาร้าง พี่จะรู้สึกว่าใจมันฝ่อ ใจมันห่อเหี่ยว เหมือนน้ำตาจะไหล แต่พอเวลามองไปที่ท้องนาแล้วเห็นข้าวที่มันเขียว หรือสีทอง หัวใจพี่จะพองโตคับอกและปลื้มปริ่ม”
เมื่อก่อนพี่รอให้คนอื่นทำสิ่งที่เป็นความฝันที่พี่อยากเห็น อย่างเรื่องการทำนา การปลูกข้าว พี่ก็ฝันไว้ว่าอยากเห็นแบบนี้แบบนั้น แต่พอมันไม่เห็นเหมือนที่ใจหวัง แล้วเราทำยังไงให้เราได้เห็นภาพที่เราฝัน เลยตระหนักว่า ถ้าเรารอให้คนอื่นทำให้เราเห็นมันยาก ก็ต้องมาทำเอง เพื่อให้ความฝันนั้นเป็นจริงขึ้นมา
เริ่มจากเมื่อ ปี 2549 หลังจากไปอบรมเรื่องการคัดพันธุ์ข้าวกับอาจารย์เดชา ศิริภัทร มูลนิธิข้าวขวัญ มันรู้สึกมีพลังเยอะมาก และช่วงนั้นก็เห็นนาร้างจำนวนมากในชุมชน ในหมู่บ้านของน้องสาว สุดท้ายก็มารวมกลุ่มขับเคลื่อนเรื่องข้าวอินทรีย์ เริ่มจากข้าวนาก่อน แล้วก็ขยับมาทำเรื่องข้าวไร่ ในปี 2560 เดินทางไปเชื่อมร้อยกับเครือข่ายต่างพื้นที่ จนได้พันธุ์ข้าวไร่กลับคืนมาปลูกในชุมชน จำนวน 12 สายพันธุ์ จากเดิมที่เหลือแค่ 6 สายพันธุ์ ตอนที่สำรวจข้อมูลในปี 2558
.
"สำหรับ 1 ใน 12 สายพันธุ์ที่โดดเด่นในพื้นที่ คือ ข้าวช่อขิง เป็นข้าวนาปี ลักษณะเด่นคือ ต้นข้าวจะคงทน สามารถปรับสภาพเพื่อความอยู่รอด น้ำแล้งเขาก็อยู่ได้ พอน้ำเยอะเขาก็สามารถยืดตัวไม่ให้ต้นข้าวล้มได้ ให้ผลผลิตสูง รสชาติมีความหวาน ความมัน หลังจากนำข้าวช่อขิงไปตรวจคุณค่าทางอาหารแล้ว พบว่า สรรพคุณเด่นที่สุดคือ เป็นข้าวที่มีโฟเลทสูง ในคนท้องถ้าขาดสารนี้จะทำให้ลูกที่คลอดออกมามีปัญหาเรื่องปากแหว่งเพดานโหว่ได้ เราก็เอาข้อมูลคุณค่าทางอาหารนี้กลับมาคืนให้กับชุมชน อย่างน้อยชาวนาคนไหนที่เขาจะปลูกข้าว เพื่อจำหน่ายนี่ก็เป็นช่องทางหนึ่ง ที่จะช่วยเสริมกำลังใจในการทำนา
"เมื่อก่อนชาวบ้านไม่รู้เรื่องการขายข้าวเลย ทางใต้เขาทำนา ปลูกข้าวไว้บริโภค เขาไม่ได้เน้นขาย พอเราลงไปทำความเข้าใจ ให้เขาได้ลองคิดว่าข้าวพื้นบ้านนี้ ถ้าคุณไม่กินข้าวนี้นะ แต่ถ้าคุณปลูกได้ก็สามารถขายได้ ช่วงหลังจากปี 2560 เราขายข้าวพื้นบ้านได้เยอะขึ้น”
พอมาช่วงโควิด-19 คนไม่ได้ออกไปทำงานนอกพื้นที่ คนต้องอยู่แต่ในชุมชน คนไหนที่ไม่มีที่นาเป็นของตัวเองก็มองไปที่นาร้าง แล้วไปขอทำนา เพราะทางใต้เขาไม่มีเรื่ิองเช่านา มีแต่ทำนาหวะ ซึ่งในความหมายคือ การลงทุนทำนาร่วมกัน โดยเจ้าของนาหว่านกล้าให้ ส่วนค่าไถนั้นคนทำนากับเจ้าของนาออกกันคนละครึ่ง พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้ก็แบ่งครึ่งกัน แต่ทำแบบต่างคนต่างเก็บ หรือบางคนไป รับจ้างเก็บข้าว แต่เดิมรับเป็นเงิน ก็เริ่มเปลี่ยนมารับเป็นข้าวแทน เพราะช่องทางการหาเงินมันมีหลายช่อง ขายผัก ขายผลไม้ กรีดยาง แต่ว่าตอนนี้คนให้ความสำคัญเรื่องข้าว เพราะว่าตอนนี้คนในชุมชน พูดกันเยอะว่า ต้องเตรียมเรื่องอาหารไว้
สำหรับความท้าทายของชาวนา หลังจากมีโอกาสมาทำเรื่องการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลังจากได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่น จากภาคอื่น จากคนในชุมชนเอง
“ทุกคนเรียนรู้แล้วว่า ความมั่นคงทางอาหารมันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ผลิตเอง และพี่มองว่า การทำข้าวไร่ การทำพืชไร่ คือช่องทางเดียวที่เราจะรักษาความมั่นคงทางอาหารไว้ได้ เพราะว่าใน ไร่ มันมีทั้งถั่ว มีทั้งเผือก มีทั้งมัน มีทั้งขิง ข่า ตะไคร้ พริก มะเขือ บวบ แตง ถ้าเรื่องพืชไร่หายไป เราก็ไม่มีความมั่นคงทางด้านอาหารแล้ว เพราะต้องซื้อทุกอย่าง"
ส่วนเรื่องสภาพภูมิอากาศที่มันเปลี่ยนไป จากเดิมที่เราเคยดำนาเสร็จก่อนออกพรรษา ตอนนี้ออกพรรษาแล้ว ทอดกฐินไปแล้ว 1 เดือน นาตอนนี้กำลังดำกันอยู่ เพราะว่าก่อนหน้านี้ไม่มีน้ำ ฤดูกาลทำนามันขยับออกมาเรื่อยๆ
ตอนนี้กลุ่มเราคุยกันเบื้องต้น อาจจะเปลี่ยนพันธุ์ข้าว จากที่เป็นข้าวนาปี ใช้เวลา 5-6 เดือน เราอาจจะต้องเปลี่ยนเป็นพันธุ์ข้าวอายุสั้นลง ใช้เวลา 3-4 เดือน แต่ว่าเราอาจจะต้องคัดพันธุ์ข้าวใหม่อีกรอบ เพื่อที่จะให้มันทน และรับมือกับสภาพอากาศที่มันเปลี่ยนแปลงได้ และชาวบ้านแต่ละคนจะใช้พันธุ์ข้าวอย่างน้อย 3 ชนิดในการทำนา คือ ข้าวเบา อายุ 4 เดือนกว่า ข้าวกลาง อายุประมาณ 5 เดือน และข้าวหนัก ประมาณ 6 เดือน เพื่อลดความเสี่ยง
“การทำนาวิถีภาคใต้ ใช้วิธีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่างเช่น วันนี้จะดำนาของใครก็ไปช่วยกันดำ พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็เหมือนกัน ก็เลยเกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ในเครือข่าย และตั้งแต่ทำมา พี่ก็มองว่า มันมีแต่ขยายวงเพิ่มขึ้น ก็แสดงว่าความรักที่เราทุ่มเทกับตรงนี้ มันเติบโต ตอนนี้พลังที่พี่ได้รับก็คือ พลังจากเด็กที่ทำให้หัวใจยังฟูและยังไปต่อได้ เรามีช่วงวัยที่จะเกษียณอายุเหมือนกัน แต่ว่า ก่อนเกษียณ ช่วงเวลาที่เหลืออยู่ ความรู้ที่มีอยู่ พี่อยากส่งต่อให้คนรุ่นหลังให้ได้มากที่สุด การที่เราถ่ายทอดให้กับเด็ก เด็กไม่ได้ทำวันนี้หรอก แต่วันนึงที่เขาเจออะไรสักอย่างนึง ค้นพบตัวเองสักอย่างนึง ช่วงนั้นเขาก็จะกลับมาทำได้ เอาตัวรอดได้ พึ่งตัวเองได้"
สำหรับความสำคัญของเทศกลข้าวใหม่นั้น พี่จ๋ากว่าว่า ข้าวใหม่ถือเป็นข้าวที่มีประโยชน์ที่สุดและอร่อย ที่สุด เพราะฉะนั้นคนที่ได้กินข้าวใหม่คือคนที่โชคดีที่สุดในปีนั้นๆ และประเทศไทยโชคดีที่สุดที่มีโอกาสได้กินข้าวใหม่ตลอดทั้งปี เพราะข้าวใหม่ในประเทศไทยออกไม่พร้อมกัน เริ่มจากภาคเหนือ ไล่ลงมาอีสาน ไล่ลงมาภาคกลาง มาจนถึงใต้บน แล้วก็ใต้ล่าง และอยากเชิญชวนให้คนที่ไม่เคยชิมข้าวใหม่ได้มาเที่ยว แงานเทศกาลข้าวใหม่ 2567 ที่มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) มาชิมดูว่าข้าวใหม่ในแต่ละภาค มีรสชาติยังไง และกินกับอะไรอร่อย
"คนส่วนมากมองว่าข้าวใต้เป็นข้าวแข็ง แต่ว่าคนโบราณเขาจะมีเทคนิคพิเศษในการหุงข้าว เขาดูว่าวันนี้เขาแกงอะไร แล้วเขาจะหุงข้าวแบบไหน ยกตัวอย่าง เมนูกับข้าวที่มันแห้ง ๆ อย่างเช่น เนื้อแห้ง ปลาเค็ม ปลาทอด เขาก็จะหุงข้าวให้นิ่มหน่อย ก็คือใช้น้ำเยอะหน่อย แต่ถ้าเขาแกงส้ม แกงกะทิ แกงจืด เขาก็จะหุงข้าวให้แข็งหน่อยนึง เพื่อเวลากินกับน้ำแกง มันจะทำให้กลมกล่อม ไม่พะอืดพะอม"
พบกับพี่จ๋า และหลากหลายข้าวไร่ หลากหลายเมนูอาหารจากนิเวศเกษตรสวนสมรม พืชร่วมยางจากพื้นที่ภาคใต้ หรือหากสนใจเรื่องพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน เรียนรู้(จัก)พันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เหมาะสมในสถานการณ์โลกเดือด ก็มีเวิร์กชอปจากชาวนานักพัฒนาพันธุ์ข้าวตัวจริง ช่วงเวลา 13.30 – 15.00 น. ด้วยนะ
งานเทศกาลข้าวใหม่ 2567: ‘ข้าว’ อาหารแห่งรัก(ษ์)
วันที่ 23 ธันวาคม 2566 เวลา 9.00 – 16.30 น.
ณ สวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) ไทรม้า นนทบุรี
.
ขอบคุณผู้สัมภาษณ์ ใหม่ นันทนิตย์ อนุศาสนะนันทน์ เจ้าของเพจ ว่าง space & anything