What would you like to search for?

© Baramee Temboonkiat

Maize Supply Chain Report

February 2018

บทสรุปผู้บริหาร

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Maize) เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของประเทศไทย โดยผลผลิตข้าวโพดประมาณ 94 เปอร์เซ็นต์ถูกใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นทุกปี โดยห่วงโซ่อุปทานของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีต้นน้ำจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด กลางน้ำคือผู้รับซื้อผลผลิตที่ทำหน้าที่จัดเก็บรวบรวมผลผลิตข้าวโพด เพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานผู้บริโภคในปลายน้ำนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ ขณะที่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นตั้งแต่ต้นน้ำของห่วงโซ่อุปทานคือไร่ข้าวโพด ซึ่งปัญหาที่สำคัญของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยคือกว่าร้อยละ 50 ปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม มีการขยายพื้นที่ปลูกเข้าไปในพื้นที่เขตป่าไม้ โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าต้นน้ำในภาคเหนือ ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนี้ การเตรียมพื้นที่เพาะปลูกโดยใช้วิธีเผาตอซัง ยังทำให้เกิดปัญหาหมอกควัน รวมทั้ง ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ปุ๋ยเคมีเกินความจำเป็น

โครงการนี้ทำการศึกษาสถานการณ์และข้อมูลพื้นฐานด้านการผลิตและการบริโภคของพืชข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ครอบคลุมผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการปลูกข้าวโพด การเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ทางการเกษตร การจัดทำนโยบาย มาตรการ กฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของพืชข้าวโพด และการจัดการปัญหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยในระยะที่ผ่านมา ซึ่งวิธีการจัดเก็บข้อมูลจะทำการคัดเลือกพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวโพดในพื้นที่สูง 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดกาญจนบุรีเป็นพื้นที่ตัวแทน ในการศึกษาสถานการณ์ปัญหาความไม่ยั่งยืน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานที่ส่งเสริม และหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์จากข้าวโพด ผู้บริโภค และผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานของพืชข้าวโพด มาทำการวิเคราะห์สถานการณ์ และเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการผลิตและการบริโภคในภาคการเกษตร

ผลจากการศึกษาโครงการพบว่าวงจรปัญหาของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยเริ่มจากการที่เกษตรกรไม่มีที่ทำกินจึงต้องบุกรุกป่าเพื่อทำการเกษตรและกู้ยืมเงินจากนายทุนมาลงทุน ข้อจำกัดของการทำเกษตรในที่สูงคือต้องปลูกพืชใช้น้ำน้อย ดูแลง่าย เช่นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมีการใช้สารเคมีอย่างมากเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากปลูกในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ผลกระทบต่ออากาศจากการเผาตอซังข้าวโพด และคุณภาพของดินที่เสื่อมโทรมและการเปิดหน้าดินเพื่อทำการเกษตร เป็นต้น และเมื่อเกิดผลกระทบในวงกว้าง ภาครัฐก็ออกนโยบายจำกัดพื้นที่ในการทำการเกษตรในที่สูง การออกมาตรการโดยขอความร่วมมือผู้ประกอบการปลายน้ำในการไม่รับซื้อผลผลิตที่ปลูกในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวขายผลผลิตไม่ได้ หรือได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับที่ลงทุน เกษตรกรจึงไม่มีเงินใช้หนี้นายทุน และยังคงบุกรุกป่าเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตในปีเพาะปลูกต่อไป

ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมการผลิตในภาคการเกษตรอย่างยั่งยืนควรเริ่มจากต้นน้ำ โดยการจัดสรรพื้นที่ทำการเกษตรที่เหมาะสมทั้งในด้านของชนิดพืชและลักษณะของพื้นที่ การให้ความรู้แก่เกษตรกรในการทำการเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทั้งพื้นที่ราบและพื้นที่สูง การหาอาชีพทดแทนการทำการเกษตรให้แก่ เกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกิน การจัดโซนนิ่งสำหรับภาคการเกษตร การวางแผนทางการเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การส่งเสริมการทำการเกษตรที่รักษาสิ่งแวดล้อม ส่วนแนวทางในการส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน คือประมาณการความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรเพื่อใช้ในการวางแผนการปลูกพืชผลตามความต้องการของตลาด ป้องกันการเกิดปัญหาผลผลิตทางการเกษตรขาดแคลนหรือล้นตลาด เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและช่วยในการจัดการของเสียจากภาคการเกษตร

Executive summary 

Maize is an economic crop vitally important to animal feed industry in Thailand. It was estimated that the annual domestic demand for maize is 7.41 million tons, while the annual supply is only 4.62 million tons. The major concern regarding maize farming and production in Thailand is that more than half of maize farming sites are inappropriately conducted in reserved forest areas, resulting in intensifying forest degradation problem, especially in water source areas of the Northern Region. Furthermore, open burning of crop residues conducted as a common practice for land preparation also resulted in smoke problem as well as other associated environmental problems including soil corrosion, biodiversity degradation and overuse of chemical fertilizers.

In accordance, the project of “The Study Report Project on Sustainable Production and Consumption of Maize Supply Chain in Thailand” aimed to develop a comprehensive study on fundamental situations and significant information regarding maize production and consumption in Thailand throughout the whole supply chain from upstream to downstream including major environmental impacts resulted from maize farming, changes of land use, policy and regulatory issues related to maize production management, greenhouse gas emissions from maize farming and production as well as existing management framework and practices applied for maize production.

The study was conducted at the 5 maize farming sites selected from highland farming areas in 5 provinces, namely, Nan, Chiangmai, Loei, Petchabun and Kanchanaburi. These pilot sites were selected systematically to address problems concerning sustainability of maize farming. In this regard, data collection and information gathering were conducted by means of literature and document reviews as well as in-depth interviews with farmers, governmental agencies, private firms, supporting organizations, maize utilizing entities, maize consumers as well as other relevant stakeholders in the maize supply chain. The data and information retrieved were then analysed comprehensively in order to pinpoint salient situations and provide key recommendations to encourage sustainable production and consumption in the agricultural sector and forestry sector in the long run.