© naturepl.com / Andy Rouse / WWF
Living Planet Index
ขนาดประชากรของสัตว์มีกระดูกสันหลังลดลงครึ่งหนึ่งในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
สถานะของความหลากหลายทางชีวภาพของโลกดูเหมือนจะย่ำแย่กว่าที่เคยเป็นมาดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพ (The Living Planet Index; LPI) ซึ่งวัดแนวโน้มจากประชากรของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายพันชนิดแสดงให้เห็นการลดลงถึงร้อยละ 52 ตั้งแต่ปี 1970 ถึง 2010 (รูปที่ 2) อาจกล่าวได้ว่า จำนวนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาทั่วโลกมีจำนวนลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับ40 ปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงในปริมาณที่มากกว่าการรายงานก่อนหน้านี้อันเป็นผลจากระเบียบวิธีการวิจัยใหม่ซึ่งมุ่งผลให้สามารถตัวแทนข้อมูลของความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก

© NASA

สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมีจำนวนลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับ
40 ปีก่อน rel= © WWF International

ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังลดลงทั้งในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นและเขตภูมิอากาศแบบร้อนแต่มีการลดลงมากกว่าในเขตร้อน ประชากรของสิ่งมีชีวิต 6,569 กลุ่มประชากรจาก 1,606 ชนิดพันธุ์ในเขตอบอุ่นมีดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพลดลงร้อยละ 36 ตั้งแต่ปี 1970 ถึง 2010 และค่าดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพของเขตร้อนลดลงถึงร้อยละ 56 จากจำนวนประชากร 3,811 กลุ่มประชากรจาก 1,638 ชนิดพันธุ์ ภูมิภาคลาตินอเมริกามีการลดลงขอดัชนีนี้มากที่สุดถึงร้อยละ 83 การสูญเสียและและความเสื่อมสภาพของถิ่นที่อยู่อาศัย การใช้ประโยชน์จากการล่าและการทำประมงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยคุกคามที่รองลงมาและดูเหมือนว่าจะมีแรงกดดันมากขึ้นต่อประชากรสิ่งมีชีวิตในอนาคต

ชนิดพันธุ์สัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยบนบกลดลงร้อยละ 39 ระหว่างปี 1970 ถึง 2010 และแนวโน้มนี้ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง การสญู เสยี ของถนิ่ ทอี่ ย่อู าศยั เพอื่ การใช้ประโยชน์จากที่ดินของมนุษย์ โดยเฉพาะการเกษตรกรรม การพัฒนาเมือง การผลิตพลังงาน เป็นภัยคุกคามหลัก ร่วมกับภัยคุกคามจากการล่า

ดัชนีชี้วัดความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์ในแหล่งน้ำจืดลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 76 ปัจจัยคุกคามที่ส􀄞ำคัญคือการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย การที่ถิ่นที่อยู่อาศัยถูกตัดแยกออกจากกันปัญหามลพิษ และชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำและระบบของแหล่งน้ำจืดที่เชื่อมโยงกันที่เกิดจากการชลประทาน หรือการสร้างเขื่อนก็มีผลกระทบที่สำคัญต่อถิ่นที่อยู่อาศัยของแหล่งน้ำจืด

ชนิดพันธุ์สัตว์ทะเลลดลงร้อยละ 39 ระหว่างปี 1970 ถึง 2010 ในช่วงเวลาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ถึงกลางทศวรรษ 1980 ประชากรสัตว์ทะเลมีการลดลงมากที่สุด หลังจากนั้นค่อนข้างคงที่ก่อนที่ปัจจุบันนี้จะลดลงอีก การลดลงมากที่สุดสามารถพบได้ในภูมิภาคเขตร้อนและมหาสมุทรใต้ ชนิดพันธุ์ที่ลดลง ได้แก่ เต่าทะเล ฉลามหลายสายพันธุ์ และนกทะเลอพยพที่มีขนาดใหญ่อย่างนกวอนเดอริงอัลบาทรอส (Wandering Albatross)
คลิกเพื่อดูภาพอินโฟกราฟฟิกขนาดใหญ่

© WWF International

คลิกเพื่อดูภาพอินโฟกราฟฟิกขนาดใหญ่

© WWF International

สนับสนุน
สนับสนุน