© WWF-Thailand
ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Living Planet Index - LPI)
เป็นการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพโดยรวบรวมข้อมูลประชากรสัตว์มีกระดูกสันหลังหลากหลายชนิดพันธุ์ มาคำนวณหาการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพสามารถเปรียบเทียบได้กับดัชนีตลาดหุ้น เพียงแต่ใช้ชี้วัดความหลากหลายในระบบนิเวศของโลกแทนที่การวัดด้านเศรษฐกิจ โดยดัชนีชี้วัดดังกล่าวได้จากการเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของจำนวนประชากรสัตว์มีกระดูกสันหลังจำนวน 14,152 กลุ่ม จาก 3,706 ชนิดพันธุ์ อันได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, นก, ปลา, สัตว์ครึ่งบกครึ่งนำ และสัตว์เลื้อยคลานจากทั่วโลก

ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพตั้งแต่ปี 1970 ถึงปี 2012 แสดงให้เห็นจำนวนประชากรสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ลดลงถึงร้อยละ 58 (ภาพประกอบ 1) จำนวนประชากร สัตว์มีกระดูกสันหลังโดยเฉลี่ยลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับเมื่อ 40 ปีก่อน ข้อมูลนี้ยังแสดงให้เห็นจำนวนที่ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 2 ในทุกๆ ปี และแนวโน้มนี้ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นแต่อย่างใด

© WWF-Thailand

ในช่วงระหว่างปี 1970 ถึงปี 2012 ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพของโลกแสดงให้เห็น จำนวนประชากรสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ลดลงถึงร้อยละ 58

ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพของโลกแสดงให้เห็นการลดลงถึงร้อยละ 58 (พิสัย: ร้อยละ -48 ถึง -66) rel= © WWF-Thailand

การเฝ้าดูจำนวนประชากรชนิดพันธุ์ต่างๆ

ตามรายงานของ Living Planet Report ที่มีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องพบว่า ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยล่าสุด ประชากรสัตว์จำนวน 3,772 กลุ่ม จำนวน 668 ชนิดพันธุ์ ได้รับการบรรจุเพิ่มเข้ามาในฐานข้อมูลดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพ (ภาพประกอบ 2) แม้ว่าข้อมูลปัจจุบันจะจำกัดอยู่เพียงแค่ประชากรสัตว์มีกระดูกสันหลัง แต่ในอนาคตจะมีการพัฒนาวิธีเก็บข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและพืชด้วยแต่ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการพัฒนาวิธีเก็บข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและพืชด้วย
ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพ

© WWF-Thailand