The WWF is run at a local level by the following offices...
- WWF Global
- Adria
- Argentina
- Armenia
- AsiaPacific
- Australia
- Austria
- Azerbaijan
- Belgium
- Bhutan
- Bolivia
- Borneo
- Brazil
- Bulgaria
- Cambodia
- Cameroon
- Canada
- Caucasus
- Central African Republic
- Central America
- Chile
- China
- Colombia
- Croatia
- Democratic Republic of the Congo
- Denmark
- Ecuador
- European Policy Office
- Finland
Our News
WWF ขอชาวโลกเร่งฟื้นธรรมชาติ เตือนขจัด 3 ปัจจัยเสี่ยงก่อนเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่อีกครั้ง
WWF ขอชาวโลกเร่งฟื้นธรรมชาติ เตือนขจัด 3 ปัจจัยเสี่ยงก่อนเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่อีกครั้ง
ในรายงานฉบับล่าสุด “โควิด-19: ประกาศฉุกเฉินเพื่อมวลมนุษย์และธรรมชาติ” WWF กล่าวว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรคระบาดจากคนสู่สัตว์ ได้แก่ การค้าและการบริโภคสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงสูง กิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land use) ที่นำไปสู่การตัดไม้ทำลายป่าและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน การขยายตัวของเกษตรกรรมและการเพิ่มขึ้นของการทำกสิกรรมที่ไม่ยั่งยืน รวมถึงการทำปศุสัตว์ มีคำเตือนมากมายจากนักวิทยาศาสตร์และองค์กรผู้นำทางความคิด อย่าง World Economic Forum (WEF) ที่ได้พูดถึงเรื่องความเสี่ยงของโรคระบาดทั่วโลกนี้ โดย WEF ได้จัดให้ โรคระบาด และ โรคติดต่อ เป็นหนึ่งในเรื่องเสี่ยงอันดับต้นๆของโลกมามากกว่าสิบปี เป็นภัยอันตรายต่อชีวิตมนุษยชาติ
นายมาร์โค แลมเบอร์ทินี ผู้อำนวยการใหญ่ของ WWF-International ระบุว่า “พวกเราต้องรู้ให้เท่าทันและทำความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างการทำลายธรรมชาติ กับสุขภาพของมนุษย์ ไม่เช่นนั้นเราจะได้เห็นการระบาดระดับโลกครั้งต่อไปเร็วๆนี้ พวกเราจะต้องควบคุมการค้าที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และการบริโภคสัตว์ป่า หยุดการทำลายป่าและการเปลี่ยนแปลงประโยชน์ที่ดิน และจัดการการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน การกระทำทั้งหมดนี้จะช่วยป้องกันแพร่กระจายของเชื้อโรค และยังช่วยจัดการกับความเสี่ยงอื่นๆที่มีผลต่อโลก เช่น การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ก็แสดงให้เห็นว่ามนุษย์นั้นต้องทำงานกับธรรมชาติ ไม่ใช่เอาเปรียบธรรมชาติ การใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างไม่ยั่งยืนจะกลายเป็นความเสี่ยงอันใหญ่หลวงต่อมวลมนุษยชาติ”
ปัจจุบันยังคงมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดที่แท้จริงของโรคระบาดโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ แต่จากหลักฐานที่มีทั้งหมดคาดว่าเป็นโรคที่ติดเชื้อจากสัตว์สู่คน รัฐบาลของประเทศจีนประกาศห้ามการบริโภคสัตว์ป่าตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ซึ่ง WWF สนับสนุนข้อห้ามนี้ และขณะนี้สภาประชาชนแห่งชาติจีน (National People’s Congress : NPC) ก็กำลังสนับสนุนการแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ในรื่องการคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งถ้าหากดำเนินการจริง ก็จะทำให้ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าที่แข็งเเกร่งและเข้มงวดที่สุดในโลก
อย่างไรก็ตามเพียงการจัดการกับการค้าสัตว์ป่า และการบริโภคสัตว์ป่านั้น อาจไม่เพียงพอต่อการป้องกันการกลับมาของโรคระบาดระลอกใหม่ ระบบการผลิตอาหารทั่วโลกเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่มีนัยยะสำคัญต่อการแปลงพื้นที่การเกษตรตามธรรมชาติ รุกรานระบบนิเวศธรรมชาติ สร้างการเปลี่ยนแปลงของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ป่า ปศุสัตว์ และมนุษย์ ข้อมูลวิจัยระบุว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 ป่าไม้กว่า 178 ล้านเฮคเตอร์ในโลกถูกทำลายไป ซึ่งเทียบเท่ากับขนาดของประเทศลิเบีย ที่ถือว่าเป็นประเทศมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 18 ของโลก และทุกๆ ปีมีรายงานว่าป่าถูกทำลายไปมากกว่า 10 ล้านเฮคเตอร์ของป่าไม้ จากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทำเกษตรกรรม และการใช้สอยอื่นๆ
และตัวอย่างโศกนาฏกรรมที่ทุกคนกำลังได้เห็นในปัจจุบันคือ ในประเทศบราซิล ที่กำลังเผชิญปัญหาตัดไม้ทำลายป่า จากการที่รัฐบาลลดการบังคับใช้ข้อกฎหมายต่างๆ ส่งผลให้ตัวเลขการทำลายป่าเพิ่มขึ้นอีก 64% ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาเมือเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
วิกฤตการณ์ Covid-19 แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงด้านระบบวิธีคิดของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นเพื่อจัดการกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การเกิดโรคระบาด WWF ได้สนับสนุนโครงการ ‘One Health’ ที่เชื่อมโยงสุขภาพของคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆใช้ร่วมกัน โดยมุ่งเน้นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย และวิธีคิดเช่นนี้ควรรวมอยู่ในการติดสินใจทางธุรกิจ และการจัดหาเงินทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรของโลก
“ท่ามกลางโศกนาฏกรรมครั้งนี้ ก็ยังมีโอกาสที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ของเรากับธรรมชาติ และช่วยบรรเทาความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาดในอนาคต แต่อนาคตที่ดีกว่าเริ่มต้นได้จากการตัดสินใจของรัฐบาล องค์กร และผู้คนบนโลกทุกวันนี้” แลมเบอร์ทินีกล่าว “ผู้นำระดับโลกจะต้องจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างโลกของเรากับโลกของธรรมชาติ พวกเราต้องการพันธะสัญญาใหม่ของธรรมชาติ (New Deal for Nature and People) ที่จะช่วยให้ธรรมชาติเดินทางสู่เส้นทางในการฟื้นฟูภายในปี พ.ศ.2573 เพื่อปกป้องสุขภาพมนุษย์ และการดำรงชีวิตในระยะยาว”
WWF เน้นย้ำถึงการประชุมความความหลากหลายทางชีวภาพของสหประชาชาติ (UN Biodiversity Summit) ที่กำลังจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับผู้นำระดับโลกที่จะระดมความคิดและวางแนวทางการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ก่อนจะนำไปสู่การเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2564 การตัดสินใจเหล่านี้เป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับผู้คนและโลกในวันนี้และในอนาคต
© WWF International