1. การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคการวิจัยสัตว์ป่าเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน ณ สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ
มีเป้าหมายเพื่อ
  1. เพิ่มความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์เสือโคร่งและสัตว์ป่า
  2. เรียนรู้เทคนิคการจำแนกร่องรอยและทำเครื่องหมายของเสือโคร่งและเหยื่อ
  3. เรียนรู้เทคนิคการวิจัยสัตว์ป่า
    1. การประเมินความหนาแน่นของประชากรเสือโคร่งโดยกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ
    2. การสำรวจประชากรของเสือโคร่งและเหยื่อโดยวิธี Line transect 
    3. การสำรวจการกระจายและการใช้พื้นที่ของเสือโคร่งและเหยื่อ (Patch Occupancy)
    4. การสำรวจแบบ Distance Sampling
    5. การสำรวจเก็บข้อมูลประชากรเหยื่อของเสือโคร่งโดยวิธีนับกองมูล
  4. การใช้เครื่องมือสำรวจและวิจัยสัตว์ป่า
ขุนลาน เสือจากกล้องดักถ่ายอัตโนมัติผืนป่าแม่วงก์-คลองลาน หนึ่งในผลงานของโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของ WWF-ประเทศไทยที่ร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

© DNP & WWF-Thailand

2. การสำรวจการกระจายและการใช้พื้นที่ของเสือโคร่งและเหยื่อในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน (Occupancy Survey)
เป็นวิธีการติดตามการกระจายและการใช้พื้นที่ของเสือโคร่งและเหยื่อ โดยใช้กริดสำรวจจากการปรากฏ-ไม่ปรากฏของสัตว์ป่า กริดสำรวจในอช.แม่วงก์และอช.คลองลานครอบคลุมจำนวน 9 กริด จากทั้งหมด 97 กริด ในผืนป่าตะวันตก ทำการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2554
เจ้าหน้าที่โครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งของ WWF-ประเทศไทยร่วมมือปฎิบัติงานในพื้นที่กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

© DNP & WWF-Thailand

3. การสำรวจประชากรเสือโคร่งโดยใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera trap survey)
เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ยาก เนื่องจากลวดลายและสีสันที่กลมกลืนกับธรรมชาติ การศึกษาประชากรเสือโคร่งโดยใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (camera trap) เป็นวิธีที่มีความเหมาะสมและถูกต้อง แม่นยำ เนื่องจากเสือโคร่งสามารถจำแนกตัวได้จากลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์คล้ายกับลายนิ้วมือคน
ภาพหายาก: เสือโคร่งตามธรรมชาติจากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หนึ่งในหลักฐานสำคัญยิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์

© DNP & WWF-Thailand

4. การศึกษาดูงานด้านนิเวศวิทยา พฤติกรรม และลักษณะทางกายภาพของสัตว์ป่า และเสือโคร่ง
เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการวิจัยเสือโคร่ง โดยได้ทำการศึกษาเสือโคร่งโดยตรงรวมทั้งสัตว์ป่านิดอื่นๆ ในสภาพที่ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด รวมทั้งได้ศึกษาพฤติกรรมในฟาร์มเลี้ยงของเสือโคร่งเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปเปรียบเทียบและนำไปประยุกต์ในกาวิจัยเสือโคร่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน โดยมีเจ้าหน้าเข้าร่วม จำนวน 19 คน ระหว่างวันที่ 20-22 พฤษภาคม 2557 ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนเสือศรีราชา และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง จังหวัดชลบุรี

หัวข้อสำคัญในการศึกษาดูงาน
  1. การจัดการสัตว์ป่าในระบบนิเวศที่มีความหลากหลายของชนิดสัตว์ป่า
  2. พฤติกรรมนิเวศวิทยาของสัตว์ป่า โดยเฉพาะเสือโคร่ง
  3. พฤติกรรมนิเวศวิทยา ลักษณะทางกายภาพของเสือโคร่งในฟาร์มเลี้ยง
  4. การประยุกต์ความรู้ที่ได้รับเพื่อเพิ่มทักษะในการวิจัยสัตว์ป่า โดยเฉพาะเสือโคร่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน
เสือโคร่งแม่วงศ์

© DNP & WWF-Thailand