โครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้และคุณภาพชีวิตชุมชนลุ่มน้ำชี อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น (พ.ศ.2550-2554)

แม่น้ำชีเป็นสายน้ำสำคัญสายหนึ่งของแม่น้ำโขง ซึ่งไหลผ่านพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แต่ในระยะ 15 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ที่แม่น้ำชีไหลผ่านมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าใจหาย ปัจจุบันน้ำในแม่น้ำชีมีปริมาณที่ลดลงอย่างมากจนเป็นเพียงธารน้ำเล็กๆ ที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำโขงในฤดูแล้งเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆของผู้คนในลุ่มน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อนเหนือลุ่มน้ำ การควบคุมน้ำ โครงการต่างๆเพื่อตอบสนองโครงการชลประทาน รวมถึงการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ ตลอดจนการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรอันส่งผลกระทบไปถึงคุณภาพของน้ำทำให้ระดับภาวะมลพิษสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ WWF-Thailand จึงได้ดำเนินโครงการฯ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพื่อผสมผสานการพัฒนาความเป็นอยู่ท้องถิ่นให้เหมาะสมกับการฟื้นฟูระบบภูมินิเวศลุ่มน้ำ และการรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำชีเพื่อให้เกื้อหนุนต่อวิถีชุมชนใน
การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน


© Naksit Sangjun/WWF-Thailand

เอกสารแนะนำโครงการ

วัตถุประสงค์

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารและจัดการทรัพยากรโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมและยั่งยืน
  2. ส่งเสริมการจัดการพื้นที่ป่าธรรมชาติ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ส่วนบุคคล และพื้นที่สาธารณะของชุมชนในเขตเกษตรกรรม โดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้รับการฟื้นฟู มีพื้นที่ปลูกป่า และปริมาณต้นไม้เพิ่มขึ้นโดยการจัดการอย่างยั่งยืนระดับท้องถิ่น
  3. เพื่อสร้างและสาธิตการใช้ประโยชน์ที่ดินและการฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการจัดการแหล่งน้ำและเทคโนโลยีที่เหมาะสมอันจะนำไปสู่แนวทางและมาตราการท้องถิ่นในการจัดการระบบการเกษตร และฟื้นฟูแหล่งน้ำให้มีประสิทธิภาพและความยั่งยืน
  4. เพื่อสนับสนุนคณะกรรมการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัด คณะทำงานระดับลุ่มน้ำในการวางแผนและอำนวยการในการสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และติดตามตรวจสอบคุณภาพของน้ำในลุ่มน้ำชี โดยกลไกท้องถิ่นร่วมกับชุมชน
  5. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเชิงนโยบาย ในหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งในระดับชุมชน ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค
รายงานการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้และคุณภาพชีวิตชุมชน
บทเรียนการฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าไม้และคุณภาพชีวิตชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

แผนที่ดำเนินงานโครงการ rel= © Naksit Sangjun/WWF-Thailand

พื้นที่เป้าหมายดำเนินโครงการ

ดำเนินการในพื้นที่ 20 หมู่บ้าน ใน 4 ตำบล คือ ตำบลคำแคน ตำบลโพนเพ็ก ตำบลท่าศาลา และตำบลหนองแปน ของอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
 

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 ถึงเดือนธันวาคม 2554 รวมระยะเวลา 4 ปี
 

แหล่งงบประมาณดำเนินโครงการ

งบประมาณจากมูลนิธิโคคา โคลา ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Coca Cola Foudation USA) และมูลนิธิโคคา โคลา ประเทศไทย (The Coca Cola Foudation Thailand)
 

กิจกรรม

  • การฝึกอบรมการประเมินค่าสำหรับการบริหารทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน
  • จัดตั้งคณะกรรมการทรัพยากรธรรมชาติจังหวัด
  • จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดเป้าหมายในระดับพื้นที่ ระบุและเพิ่มกลุ่มผู้มีส่วนร่วมในชุมชน
  • ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่โครงการและผู้มีส่วนร่วมหลัก ในด้านการประเมินอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน (Participatory Rural Appraisal: PRA) และการประเมินชุมชนอย่างเร่งด่วน (Rapid Rural Appraisal: RRA) สนับสนุนทักษะและเทคนิคที่เกี่ยวข้อง
  • สำรวจข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนในหมู่บ้านและลุ่มน้ำในพื้นที่เป้าหมาย
  • จัดทำเอกสารข้อมูลพื้นฐานในชุมชน และทำแผนที่ภูมิประเทศลุ่มน้ำเพื่อเป็นส่วนประกอบทางนิเวศ และพัฒนาฐานข้อมูลภูมิประเทศของระบบข่าวสารทางภูมิศาสตร์
  • ส่งเสริมกิจกรรมเรือนเพาะชำกล้าไม้ชุมชน
  • กิจกรรมปลูกป่าและการบำรุงรักษาแปลงปลูกป่า
  • จัดทำระบบการตรวจสอบและการประเมินผลในด้านเทคนิคและการมีส่วนร่วมในพื้นที่เป้าหมายและพื้นที่ควบคุม
  • ประชุมเชิงปฏิบัติการระดับท้องถิ่นในการบริหารจัดการพื้นที่โดยชุมชนในจังหวัดขอนแก่น
  • จัดกิจกรรมการอภิปรายระดับชาติในด้านการบริหารจัดการชุมชนและการฟื้นฟูป่าไม้
  • จัดทำเอกสารเพื่อเป็นแนวนโยบายสำหรับชาวบ้านในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  • จัดทำเอกสารโครงการสำหรับนำเสนอต่อสื่อท้องถิ่นและสื่อระดับชาติ
 

ผลการดำเนินงาน

  • ดำเนินการจัดการและฟื้นฟูทรัพยากร และมีแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายจำนวน 20 หมู่บ้าน
  • จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการเพื่อเป็นกลไกอำนวยการและขับเคลื่อนโครงการ
  • ส่งเสริมและจัดตั้งป่าชุมชนจำนวน 8 แห่ง พื้นที่รวม 3,229 ไร่
  • ส่งเสริมและจัดตั้งเรือนเพาะชำชุมชน จำนวน 8 แห่ง และเรือนเพาะชำครอบครัว จำนวน 155 ครัวเรือน ใน 20 หมู่บ้าน มีอัตราการผลิตกล้าไม้จำนวน 143,000 ต้น กล้าไม้ 50 ชนิด
  • กิจกรรมปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำ จำนวน 2,114 ไร่
  • ส่งเสริมและจัดตั้งแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ (ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย) ในพื้นที่ 550 ไร่
  • ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมัก (กลุ่มปุ๋ยหมัก หมูหลุม) จำนวน 5 หมู่บ้าน
  • บทเรียนการดำเนินโครงการฯ นำเข้าสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในแผนยุทธศาสตร์การปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจังหวัดขอนแก่น
  • ชุดข้อมูลทรัพยากรชุมชนผ่านกระบวนการ “งานวิจัยไทบ้าน”
  • ส่งเสริมและจัดตั้งเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาและสัตว์น้ำ จำนวน 8 แห่ง

© Naksit Sangjun/WWF-Thailand


© Naksit Sangjun/WWF-Thailand


© Naksit Sangjun/WWF-Thailand


© Naksit Sangjun/WWF-Thailand


© Naksit Sangjun/WWF-Thailand

สรุปผลการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูลุ่มน้ำชี WWF ประเทศไทย
รายงานการศึกษาชีพลักษณ์แม่ไม้ลุ่มน้ำชีตอนบน
ชีพลักษณ์พันธุ์ไม้ลุ่มน้ำชี
หนังสือป่าชุมชน..เรื่องของคนกับป่า