โครงการปรับปรุงการจัดการระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง น้ำเมา แม่น้ำสงคราม แม่น้ำโขง จังหวัดบึงกาฬและจังหวัดนครพนม (พ.ศ.2555-2560)
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น หรือ HSBC UK ร่วมกับ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย หรือ WWF Thailand

© WWF-Thailand
พื้นที่ดำเนินงาน และหมู่บ้านเป้าหมาย
ดำเนินการในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง พื้นที่น้ำเมา พื้นที่แม่น้ำสงครามตอนล่าง มีหมู่บ้านเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 42 หมู่บ้าน ดังนี้
- ตำบลโสกก่าม และตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ
- ตำบลบึงโขงหลง และตำบลโพธิ์หมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ
- ตำบลนาทม ตำบลหนองซน ตำบลดอนเตย อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
- ตำบลสามผง และตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
- ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ระยะเวลาดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 5 ปี เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม พ. ศ. 2555 - วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ภัยคุกคาม ในพื้นที่ มี 3 ประเด็น หลัก ๆ คือ
- การทำการเกษตรไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สารเคมี ยาปราบวัชพืช และยาปราบศัตรูพืช เป็นต้น
- การทำการประมงด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย และไม่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ฤดูแล้ง เช่น การช็อตปลา และการเบื่อปลา ในแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น
- การออกแบบระบบชลประทานไม่เอื้ออำนวยต่อการอพยพโยกย้ายการทำรัง วางไข่ ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของชุมชน และความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
วัตถุประสงค์
- เพื่อปรับปรุง และติดตามผลการจับปลาของชุมชน ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการอพยพของสัตว์น้ำระหว่างพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง น้ำเมา แม่น้ำสงคราม และแม่น้ำโขง
- เพื่อเสริมสร้างองค์กรชุมชนในด้านการตรวจลาดตระเวน ควบคุมเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติของชุมชน
- เพื่อพัฒนาแผนการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง
- เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับการพัฒนาพลังงานน้ำอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงกิจกรรมที่ส่งผลต่อการเชื่อมโยงของระบบนิเวศ
กิจกรรมหลัก
ปีที่ 1 พ.ศ.2556 :
- สนับสนุนให้มีการจัดทำงานวิจัยไทบ้านเกี่ยวกับการจับปลา ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ปลา และการอพยพของปลา
- สนับสนุนให้มีการจัดทำฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคมในหมู่บ้านเป้าหมายในพื้นที่น้ำเมารวม 26 หมู่บ้าน
- สนับสนุนให้มีการเริ่มต้นการใช้เครื่องมือ RSAT
ปีที่ 2 พ.ศ. 2557 :
- สนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือ RSAT อย่างต่อเนื่อง
- สนับสนุนให้มีการศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งวางไข่ที่สำคัญ
- สนับสนุนให้มีการกำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และกำหนดกฎระเบียบในพื้นที่น้ำเมา และแม่น้ำสงคราม
ปีที่ 3 พ.ศ. 2558 :
- ทำงานร่วมกับกรมชลประทาน และชุมชนเพื่อร่วมกันประเมินปริมาณและความจุของน้ำในบึงโขงหลง รวมทั้งสำรวจจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการสูบน้ำจากบึงโขงหลงไปใช้
- อำนวยความสะดวกจัดตั้งคณะกรรมการจัดการน้ำในบึงโขงหลง และจัดทำแผนการจัดสรรน้ำอย่างยั่งยืน
- สำรวจปรับปรุงข้อมูลด้านการจับปลา ความหลากหลายทางชีวภาพ และการอพยพของปลา
ปีที่ 4 พ.ศ. 2559 :
- จัดให้มีการประเมินการอพยพของปลา และกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับการไหลเวียนของธรรมชาติใน ระหว่าง ๔ ฝายทดน้ำ
- นำเสนอผลลัพธ์และประสบการณ์การศึกษาการอพยพของปลาที่ได้จากพื้นที่ให้แพร่หลายยิ่งขึ้นภายในลุ่มน้ำสงคราม และแม่น้ำโขง
- จัดให้มีการพัฒนาแผนการติดตามการจับปลาร่วมกับกรมประมง และชุมชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง
ปีที่ 5 พ.ศ. 2560 :
- จัดให้มีการดำเนินงานตามแผนการจัดการน้ำ ระยะ ๕ ปี ในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง
- ขยายผลลัพธ์ และประสบการณ์ที่ได้ในช่วง ๔ ปี สู่พื้นที่แหล่งน้ำที่มีความสำคัญ อื่นๆ
- จัดให้มีการศึกษาและติดตามการจับปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง

© Chaiya Peng-un/WWF-Thailand

© Naksit Sangjun/WWF-Thailand

© WWF Thailand

© WWF Thailand

© Chaiya Peng-un/WWF-Thailand

© Naksit Sangjun/WWF-Thailand

© Chaiya Peng-un/WWF-Thailand
สรุปย่อโครงการ
แผ่นพับโครงการ
ชนิดพันธุ์ปลาในห้วยน้ำเมา
Mekong Giant Catfish eDNA