What would you like to search for?

Our News

เมื่อยาจีนเข้าสู่ตลาดโลก การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายก็เริ่มเบ่งบาน

หยุดล่า! ฆ่า เพื่อต่อชีวิต!

การเติบโตเชิงพาณิชย์ของยาจีนแผนโบราณเป็นหนึ่งในเป้าหมายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนภายใต้นโยบายริเริ่มถนนสายไหม แต่ในขณะเดียวกันบรรดานักอนุรักษ์ให้ความเห็นว่า ความต้องการยารักษาโรคที่ทำจากชิ้นส่วนของสัตว์มากขึ้นนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายเติบโตขึ้น
.
.
โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้เอง เจ้าหน้าที่ในฮ่องกงเริ่มเก็บข้อมูลของสัตว์ที่กำลังตกอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งได้พบเกล็ดตัวนิ่มน้ำหนักกว่า 8.3 ตัน ที่มาจากตัวนิ่มกว่า 14,000 ชีวิต รวมทั้งยังตรวจพบนอแรดขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ . . ฮ่องกง กลายเป็นแดนสวรรค์ของการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น หูฉลาม ชิ้นส่วนเสือโคร่ง นอแรด โดยเส้นทางของผลิตภัณฑ์เหล่านี้มาไกลจากเอเชียและถูกส่งต่อไปยังประเทศจีน
.
.
“สัญญาณอันตรายที่จะนำไปสู่การลักลอบฆ่าสัตว์ คือการเติบโตของดีมานด์สัตว์หายาก หรือสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เพื่อนำมาใช้ในตลาดยาจีน” รายงานจากกลุ่มนักอนุรักษ์ของ ADM Capital Foundation กล่าวเช่นนั้น . . รายงานชิ้นนี้ยังระบุว่าอุตสาหกรรมยาจีนในฮ่องกงใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของชิ้นส่วนสัตว์ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์มากกว่า 3 ใน 4 ของทั้งหมด และสภาพนี้คงอยู่มามากกว่า 5 ปีแล้ว รัฐบาลจีนออกข้อกำหนดและแผนการปฏิบัติงานในระยะยาว เพื่อรณรงค์ต่อด้านการซื้อและขายยาแผนโบราณ ในโรงพยาบาล พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์เพื่อการพาณิชยกรรม และ สวนรุกขชาติหลายแห่ง รวมถึงในประเทศที่เป็นหนึ่งในเป้าหมายยุทธศาสตร์เส้นทางสายใหม่ของเศรษฐกิจใหม่ที่จะมีการลงทุนด้านสาธารณูปโภคที่เจริญรุดหน้า คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ธุรกิจยาจีนเชิงพาณิชย์กำลังเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง
.
.
วารสารจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ธุรกิจนี้มีมูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านดอลล่าสหรัฐต่อ และยังคงเติบโตถึง 11% ต่อปี และจากรายงานของ IBIS World กล่าวว่าวิธีการรักษาตามตำราแพทย์แผนโบราณอย่างการฝังเข็มและการใช้ยาสมุนไพรนั้น กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก เช่นเดียวกับองค์กรอนามัยโลกที่กล่าวว่า ศาสตร์การแพทย์แผนโบราณเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมากว่า 2,500 ปี ซึ่งที่จริงแล้วผู้ปฏิบัตินั้นมักจะเลี่ยงที่จะใช้ชิ้นส่วนของสัตว์ที่กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แม้กระนั้น กลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยังคงยืนยันข้อมูลที่ย้อนแย้งว่า ยาแแผนโบราณที่มีส่วนประกอบของสัตว์หายาก นั้นยังเป็นที่นิยมในเวียดนามและจีนแผ่นดินใหญ่ โดยจะใช้เพื่อรักษาโรคตั้งแต่มะเร็ง โรคผิวหนัง และแก้อาการเมาค้าง
.
.ในขณะที่ข้อมูลจากองค์การการค้าสัตว์ป่า ระบุว่า ตัวนิ่ม แรด กุยหรือไซกา ม้าน้ำ หมีควาย และเสือโคร่ง ต่างเป็นสัตว์ที่กำลังตกอยู่ในสถานะอันตรายอย่างสาหัส นอกจากนั้น นายโจว จินเฝิง เลขาธิการทั่วไป สมาคมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า องค์กรอนามัยโลกควรที่จะใช้มาตรฐานของความยั่งยืน และมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นเงื่อนไขในการทำงานของการแพทย์แผนโบราณ
.
“การรักษาทางการแพทย์นั้น ควรจะต้องตั้งอยู่บนหลัก “การไม่ทำอันตราย” แก่ผู้ใช้ หรือสายพันธุ์ใดๆที่เกี่ยวข้อง และโดยทั่วไปแล้วไม่ควรนำสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตยาจีนแผนโบราณ โจวกล่าว ขณะที่ฮ่องกงซึ่งโดยปกติแล้วไม่ได้เป็นผู้ผลิตยาเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าจากจีนแผ่นดินใหญ่ ทั้งเกล็ดตัวนิ่ม เขาไซกา และหูฉลาม ซึ่งวางขายในแถบตะวันตกของเกาะ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฮ่องกง Elizabeth Quat กล่าวว่าการเลี่ยงการใช้สัตว์ป่าหายากในยาจีนนั้นจะต้องเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในจีนแผ่นดินใหญ่
.
มีรายงานว่า บริษัทผู้ผลิตยาในฮ่องกง อาทิ Kangmei Pharmaceutical และ Tong Ren Tang ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลท้องถิ่นในการผลิตยาแผนโบราณจากเกล็ดตัวนิ่มและเขาไซก้า รวมถึง เว็บไซต์ Gui Zhen Tang ระบุว่า บริษัทแห่งนี้เป็นเจ้าของศูนย์เลี้ยงหมีควายที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยบริษัทได้อนุญาตให้ขายดีหมีอย่างถูกกฏหมาย นอกจากนี้บริษัทในกลุ่มผู้ค้ายาจีนแผนโบราณ เช่น Beijing Huamiao นั้นได้มีการถือใบอนุญาตในการดำเนินการผลิตสินค้าจากสัตว์ป่าที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย และสัตว์ป่าคุ้มครอง . กระทรวงสาธารณสุขของฮ่องกงกล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐยังคงจับตา และดูแลเรื่องยาแพทย์แผนจีนโบราณ โดยตระหนักถึงความสมดุลระหว่างการปกป้องสายพันธุ์ที่กำลังตกอยู่ในอันตราย กับการถูกนำใช้ยาแผนจีนโบราณมาตลอด และจะดำเนินการสังเกตการณ์แนวโน้มของการบังคับใช้กฏหมายในระดับนานาชาติ รวมถึงจะติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิด
.
.
ในขณะเดียวกัน หน่วยงานด้านป่าไม้ของประเทศจีน ก็เฝ้าระวังกลุ่มธุรกิจการทำฟาร์มสัตว์ที่จะนำผลผลิตมาใช้ในการแพทย์แผนโบราณ ทั้งนี้ กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์เอง ก็กำลังดำเนินวิธีการใช้สัตว์ที่กำลังตกอยู่ในสถานะสุ่มเสี่ยง และอันตรายเหล่านี้ ในแนวทางที่ยั่งยืนมากขึ้น . เช่นเดียวกัน การรักษาในหลาย ๆ รูปแบบเริ่มใช้สมุนไพรแทนชิ้นส่วนของสัตว์ โดยเหล่าแพทย์แผนโบราณนั้นกล่าวว่า สมุนไพรเป็นเพียงตัวเลือกที่ให้ผลการรักษาที่เท่ากันเท่านั้น ไม่ได้มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแต่อย่างใด
.
.
Lixing Lao ผู้อำนวยการโรงเรียนแพทย์แผนจีน แห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง ได้กล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องใช้ชิ้นส่วนของสัตว์ที่กำลังตกอยู่ในอันตราย เพื่อนำมาทำยารักษาโรค
.
.
“การแพทย์แผนจีนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโลก” เขากล่าว “เรากำลังดูแลสุขภาพของมนุษย์อยู่ รวมถึงสัตว์ด้วย แต่ถ้าเราใช้ชิ้นส่วนของสัตว์ที่กำลังตกอยู่ในอันตราย มันก็เท่ากับว่ามันจะส่งผลต่อมนุษย์เราสักวัน”

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.japantimes.co.jp/

© WWF-TH
WWF

 

สนับสนุน
สนับสนุน