ขั้นตอนที่ 1 : จัดตั้งคณะทำงาน

คณะทำงาน Eco-Schools เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนโครงการ Eco-Schools และเป็นตัวแทนของทุกคนในโรงเรียน 
  • เน้นนักเรียนเป็นแกนนำในการดำเนินโครงการฯ
  • คณะทำงานจะต้องประชาสัมพันธ์และแจ้งความคืบหน้าการดำเนินโครงการฯ ให้ทุกคนในโรงเรียนรับทราบอย่างสม่ำเสมอ
  • สมาชิกอาจประกอบด้วย: นักเรียน ครู บุคคลากรในโรงเรียน ผู้แทนคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและชุมชน
  • มีการประชุมคณะกรรมการอยู่เสมอเพื่อวางแผนและติดตามความคืบหน้าในการดำเนินโครงการฯ
     

ขั้นตอนที่ 2 : การทบทวนสถานการ์สิ่งแวดล้อม

การทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรียน จะช่วยให้เราสามารถระบุจุดเด่นและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบ รวมไปถึงประเมินความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาได้
  • มีการทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อมครอบคลุมทุกหัวข้อสิ่งแวดล้อม
  • ให้นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
  • ผลสรุปการทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อมควรนำมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงาน
     

ขั้นตอนที่ 3 : การวางแผนดำเนินงาน

การวางแผนการดำเนินงานถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะเป็นแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยควรสัมพันธ์กับผลการทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
  • ควรเลือกหัวข้อสิ่งแวดล้อมจากความเร่งด่วนของปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ซึ่งได้มาจากผลการทบทวนสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
  • แผนการดำเนินงานควรช่วยส่งเสริมการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พบ และมีเนื้อหาที่ระบุถึงที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ และเป้าหมาย
  • การตั้งเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมควรมีความชัดเจนและสามารถวัดผลได้
  • นักเรียนควรเป็นผู้การวางแผนการดำเนินงาน โดยมีคุณครูช่วยให้คำปรึกษาและชี้แนะแนวทาง
     

ขั้นตอนที่ 4 : การติดตามและประเมินผล

เป็นการติดตามผลว่าได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร
  • นักเรียนควรเป็นผู้บันทึกและติดตามผลการดำเนินงานด้วยตนเอง
  • ผลการติดตามควรมีการเผยแพร่บนพื้นที่ประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน
  • วิธีการเก็บข้อมูลควรขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่ตั้งไว้ วัยและความสามารถในการบันทึกข้อมูลของนักเรียน
  • มีการนำผลการประเมินมาเปรียบเทียบกับแผนการดำเนินงานเพื่อนำมาปรับปรุงให้แผนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
     

ขั้นตอนที่ 5 : การบูรณาหลักสูตรการเรียนการสอน

การบูรณาการโครงการ Eco-Schools กับหลักสูตรการเรียนการสอนจะช่วยเสริมสร้างความเข้าในด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของทุกคนในโรงเรียน และส่งเสริมให้เกิดการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยื
  • นักเรียนทุกคนควรเข้าใจถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันผ่านการบูรณาการในหลายกลุ่มสาระ
  • กิจกรรมภายใต้โครงการ Eco-Schools บางกิจกรรมสามารถนำมาบูรณาการกับกลุ่มสาระวิชาได้ เช่น วิทยาศาสตร์ สังคม หรือการงานพื้นฐานอาชีพ
     

ขั้นตอนที่ 6 : การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วม

สร้างการมีส่วนร่วมกับทุกคน เพราะทุกๆ คนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้
  • ทุกๆคนในโรงเรียน ควรรับทราบและตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการ Eco-Schools รวมไปถึงผู้ปกครองและชุมชนใกล้เคียงด้วย
  • การเผยแพร่ข้อมูลสามารถทำได้ในหลายช่องทาง เช่น บอร์ดประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน เว็บไซต์โรงเรียน Facebook ฯลฯ
     

ขั้นตอนที่ 7 : การสร้าง ECO-CODE

คือข้อความที่สื่อถึงเป้าหมายและสิ่งที่ตั้งใจดำเนินการเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
  • เป็นข้อความที่ทุกคนในโรงเรียนสามารถจดจำได้ง่าย
  • ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว อาจตั้งเป็น คำขวัญ สัญลักษณ์ กลอน หรือเพลงได้
  • มีความเชื่อมโยงกับแผนการดำเนินงาน
  • ทุกคนในโรงเรียนสามารถช่วยออกแบบหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมได้
  • ควรมีการเผยแพร่ทั่วพื้นที่ประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน
Planning

© WWF-Thailand

Evaluation

© WWF-Thailand