นางสาวปวัชญา (อาย) นักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน


วันแรก เดินทางจากประเทศไทยไทยไปประเทศไทยมาเลเซียที่รัฐเปรัก ใช้เวลา 7 ชั่วโมง พอไปถึงมีการแนะนำเกี่ยวกับหัวข้อในงาน IESC 2018 และ Sustainable Development Goals หลังจากนั้นได้มีกิจกรรมถ่ายรูปคู่กับพาร์เนอร์แล้วโพสลงโซเชี่ยลมีเดียพร้อมตอบคำถามและติดแฮชแท็ก (อ่านได้ที่นี่)

วันที่สอง เช้ามาก็เดินไปออกกำลังกายกลางสนามบอลแล้วก็กินข้าวเช้า ต่อด้วยพิธีเปิดและการนำเสนอกิจกรรมของแต่ละโรงเรียนและเราคือหนึ่งในนั้น  ทุกคนตื่นเต้นมาก ต่อด้วยการเวิร์คช็อปเกี่ยวกับน้ำ พอตกเย็นเราก็ได้เขียนรีเฟล็คชั่นสรุปกิจกรรมที่ได้เรียนมา และการประชุมต่อจนค่ำ  กิจกรรมช่วงค่ำคือการให้ความรู้เกี่ยวกับ Eco-Schools training และ water footprint จบการประชุมวันที่สอง ก่อนนอนเราคุยกับเพื่อนต่างชาติเล่าเรื่องให้กันและกันฟัง สนุกมาก ๆ

วันที่สาม  เริ่มด้วยกิจกรรม Water Management ในยามเช้าและเข้าเวิร์คช็อป จนถึงเวลาใกล้เที่ยงก็เดินทางไปนอกสถานที่ โดยมีพี่ๆ Green Mentor (GM) จะคอยพูดคอยบอกให้เราระวังเสมอ  
เราจะไปเยี่ยมชมโรงเรียน SK Bandar Behrang 2020 ซึ่งเป็นโรงเรียนของรัฐเปรักแห่งแรกที่ได้รับรางวัล Green Flag โดยเข้าร่วมโครงการมาเพียง 5 ปีเท่านั้น พอถึงเราก็ได้เดินเยี่ยมชมชุมชนใกล้ๆ กับโรงเรียน บริเวณเกาะริมถนนเขามีการตกแต่งสวนดอกไม้ให้สวยงามโดยการนำสิ่งของกลับมาใช้ใหม่ (reuse) ทำให้เราเห็นว่าทางชุมชนได้ร่วมทำกิจกรรมกับโรงเรียนอย่างเต็มที่จริง ๆ แล้วก็พักทานข้าวในโรงเรียน ต่อด้วยการเข้าฐานเริ่มจากฐานแรก การประดิษฐ์สิ่งของใช้เอง คือนำกระดาษสีเหลือใช้มาตกแต่งเป็นรูปต่าง ๆ และตัดแปะลงบนที่หนีบ

ECO-SCHOOLS PROGRAM

© WWF-Thailand

ECO-SCHOOLS PROGRAM

© WWF-Thailand

ต่อด้วยฐานที่สองคือการเยี่ยมชมโรงเรียน และลงไปดูสถานที่และสิ่งต่าง ๆ ที่เขาทำกันจริง ซึ่งจะมีการจัดสวนเล็ก ๆ มี PSS SQUARE-PONIC SYSTEM เป็นการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในท่อพีวีซีเป็นคล้าย ๆ รางน้ำวนเป็นชั้น ๆ นำเสนอโดยนักเรียนของโรงเรียน ซึ่งมีความน่าสนใจมากเพราะเป็นการแก้ปัญหาเรื่องพื้นที่ เจ้าตัวนี้สามารถไว้ในพื้นที่ที่จำกัดได้เพราะมีความสูงและใช้พื้นที่ด้านข้างไม่มาก และฐานสุดท้ายนั่นก็คือการทำหลอดจากกระดาษ ต่อด้วยการทำ Mud ball (EM ball) เป็นครั้งแรกเลยที่ได้ทำ มัดบอลนี้ใช้บำบัดน้ำเสียโดยการโยนลงไปในน้ำเลยจ่ะ วิธีการทำก็ไม่ยากมากคือนำส่วนผสมต่าง ๆ มาคลุกกันจนเป็นก้อนจับกันแล้วน้ำมาปั้นให้เป็นรูปกลม ๆ คล้ายกับการเอาดินเหนียวมาปั้น  
พอจบกิจกรรมเราก็กลับโรงเรียน SMK Sungkai
ก่อนจะถึงเวลานอนเรามี Eco-Schools Action plan ที่ต้องทำ กลุ่มเราเลือกหัวข้อ quality education ในชั่วโมงนั้นทุกคนจริงจังกันมาก มีแต่คนไอเดียดี ๆ ประทับใจทั้งบรรยากาศการระดมความคิดและไอเดียของพวกเขามาก ๆ ค่ะ ทุกคนช่วยกันคิดและปรับปรุงไอเดียกันจนเราแทบพูดไม่ทันเลย ที่ชอบที่สุดน่าจะเป็นชื่อกิจกรรมเพราะอ่านแล้วเข้าใจเลยคือ unchain education  

วันที่สี่ วันนี้มีการสอน Citizen Science ที่สอนให้เราเข้าใจเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและการช่วยนักวิทยาศาสตร์เก็บข้อมูลต่าง ๆ เพื่องานวิจัย ต่อด้วยการพรีเซ้นต์ Eco-Schools Action plan ที่เราเขียนกันเมื่อคืน ได้เห็นไอเดียมากมายในหลาย ๆ หัวข้อ แล้วเราก็ได้เล่น Board Game  เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยได้ออกแบบบอร์ดเกมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กประถม
คืนนี้มีงาน Culture Night  ตอนที่พวกเราซ้อมมีเพื่อน ๆ ต่างชาติมารำกับพวกเราด้วย เขาบอกว่าพวกคุณรำกันได้ยังไง น่ารักดีค่ะ ก่อนการแสดงมีกิจกรรมหาเสียงเพื่อเลือก Student Green Council เป็นคณะกรรมการนักเรียนที่ต้องช่วยสร้างกิจกรรมในเครือข่าย Eco-Schools ของมาเลเซีย ทุกคนเตรียมตัวมาดีมาก นโยบายของแต่ละคนน่าสนใจทั้งนั้น  
       
วันที่ห้า ตอนเช้ามีกิจกรรมเลือก Student Green Council ต่อด้วย Eco-Schools Award Ceremony มีโรงเรียนต่าง ๆ ได้รับรางวัลมากเลยค่ะ แล้วก็มีการแจกรางวัลให้กับเด็ก ๆ ด้วย เราได้รับรางวัล best participant ด้วย และที่ขาดไม่ได้เลยในตอนสุดท้ายคือการถ่ายรูปรวม เราได้มีการแลกโซเชี่ยลมีเดียกับเพื่อนเพื่อจะติดต่อกันหลังการจบงานนี้ ทุกคนน่ารักมากจริง ๆ

สำหรับ 5 วันนี้ยกให้เป็นประสบการณ์ที่ดีมากเพราะหาไม่ได้จากที่ไหนอีกแล้ว ขอบคุณทาง Eco-Schools ที่เลือกพวกเราให้ได้ไปเปิดประสบณ์การณ์ดี ๆ แบบนี้นะคะ

ECO-SCHOOLS PROGRAM

© WWF-Thailand